การศึกษาปัจจัยการให้บริการเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ กรณีศึกษา สำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ประภาพร สิงห์ทอง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
  • ทัตษภร ศรีสุข หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยการให้บริการ, คุณภาพสู่ความเป็นเลิศ, สำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูล       ส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการสำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อปัจจัยการให้บริการ ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย  การให้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ที่สามารถตอบสนองตรงความต้องการของผู้ใช้บริการเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้มาติดต่องาน จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติหาค่าแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ร่วมกับผลการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ 10 ราย

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 25 – 34 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษามัธยมศึกษา อาชีพเกษตรกร/รับจ้าง รายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ผลการศึกษาปัจจัยการให้บริการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่สำคัญมากที่สุดคือความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ รองลงมาคือ รู้จักและเข้าใจผู้รับบริการซึ่งค่าเท่ากันกับการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ความเชื่อถือไว้วางใจ และความเป็นรูปธรรมของการบริการ ตามลำดับ   ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยการให้บริการทั้ง 5 ด้าน มีผลต่อคุณภาพการให้บริการที่เป็นเลิศ  ด้านที่มีผลมากที่สุดคือรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ด้านที่รองลงมาคือ ความเชื่อถือไว้วางใจ การตอบสนองต่อผู้รับบริการ ซึ่งมีค่าเท่ากับ     การให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ และความเป็นรูปธรรมของการบริการ ตามลำดับ สรุปผลการวิจัยได้ว่าแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการสู่ความเป็นเลิศคือผู้ให้บริการควรรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการด้วยจิตบริการ ไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้ผู้ใช้บริการเชื่อถือไว้วางใจโดยให้บริการภายในเวลาที่กำหนดไว้ สามารถตอบสนองผู้รับบริการโดยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการโดยผู้ให้บริการต้องมีความรู้ที่เชื่อถือได้ รวมถึง การอำนวยความสะดวกด้านที่ตั้งสถานบริการที่ใกล้กับส่วนราชการอื่น ๆ ด้วย

References

กุลธน ธนาพงศธร. (2528). การบริหารงานบุคคล. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เกษตรพันธ์ ชอบทำกิจ. (2546). ประสิทธิภาพในการบริหารงานบริการภาครัฐ : ศึกษากรณี สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.

คู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562.

จีรวรรณ บุญพิทักษ์ และกาญณ์ระวี อนันตอัครกุล. (2562, พฤษภาคม - สิงหาคม). ความคาดหวัง การรับรู้ และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2), 101-119.

ชลธิชา ศรีบำรุง. (2557). คุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ สาขาดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536, กรกฎาคม). การให้บริการแบบครบวงจรแนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครอง. วารสารเทศาภิบาล, ‎88, 11 -14.

ณัฐฐา เสวกวิหารี. (2560). ปัจจัยทีส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรยุทธ ปัตตาเทสัง. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการรับฝากไปรษณีย์ด่วนพิเศษ กรณีศึกษา ที่ทำการไปรษณีย์นครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

นิติพล ภูตะโชติ. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกพักโรงแรมที่จังหวัด หนองคาย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

_______. (2561, มกราคม-เมษายน). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 85-96.

บุศยมาศ แสงเงิน. (2559). ข้าราชการยุคใหม่กับการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/408020

ปฐม มณีโรจน์. (2538). ความพึงพอใจ‎ของประชาชนต่อระบบและกระบวนการให้บริการของ กรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณี‎สำนักงานเขต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2523). องค์การกับลูกจ้าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนครสวรรค์ ตามการรับรู้ของประชาชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พัชรินทร์ สาตราคม. (2557, กรกฎาคม – ธันวาคม). คุณภาพการให้บริการและความคาดหวังของผู้ประกันตนที่มีต่อสำนักงานประกันสังคม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 68-80พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุล. (2553). บริการที่เป็นเลิศ: วัฒนธรรมบริการ. กรุงเทพฯ. ดิอิมเพรสชั่น คอนซัลแทนท์.

ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557. ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชราภรณ์ จันทร์สุวรรณ. (2555). ความพึงพอใจในการให้บริการของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาพูลผล จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิโรจน์ ก่อสกุล และคณะ. (2562, ตุลาคม-ธันวาคม). การบริการสาธารณะแนวใหม่ : ศึกษาเฉพาะกรณีกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชติภาคย์, 13 (31), 58-68.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2563). หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์. (2563). ข้อมูลหน่วยงาน. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://nakhonsawan.mol.go.th/

สำนักงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์. (2562). ข้อมูลสถิติ.ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://nksawan.nso.go.th/.

สุวัฒน์ บุญเรือง. (2545). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลสุนทรภู่: ศึกษาเฉพาะด้านการจัดเก็บรายได้. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสรี วรพงษ์. (2558, มกราคม–มิถุนายน). การพัฒนาแนวทางบริการสู่ความเป็นเลิศ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 23(1), 55-73.

โสรัจจะราช เตระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อมรารัตน์ บุญภา. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service: The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implication for future research. Journal of Marketing, 49(4).

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A and Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions. New York : The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30