อิทธิพลของความยุติธรรมในองค์การ และความไว้วางใจในองค์การ ที่มีต่อความผูกพันในองค์การ ขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิมลรัตน์ วงศ์ภูษาประกร สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความยุติธรรมในองค์การ, ความไว้วางใจในองค์การ, ความผูกพันในองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ของความยุติธรรมในองค์การ ความไว้วางใจในองค์การ และความผูกพันในองค์การขององค์การภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) อิทธิพลของความผูกพันในองค์การของบุคลากรองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความยุติธรรมในองค์การ                    ความไว้วางใจในองค์การ และความผูกพันในองค์การ ของบุคลากรในเขตกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างกัน                2. ความยุติธรรมในองค์การ และความไว้วางใจในองค์การ มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ

References

เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2552). ความไว้วางใจในองค์การของประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบองค์การภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์(1991).

ปรีดี อิทธิพงศ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พิเชษฐ์ ผุงเพิ่มตระกูล. (2554). ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา ความไว้วางใจในองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันในองค์การของบุคลากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พุทธชาติ เอี่ยมสอาด. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในหัวหน้าหอผู้ป่วย พฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์พยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวีวรรณ คงได้, พิมพ์ปวีณ์ วัฒนาทรงยศ และ อภิญญา อิงอาจ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 11(3).

วรินทร รองกลัด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในองค์การ การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องดื่มและอาหารแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรา เนียมหอม. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Global Employee Experience Trends. (2020). Qualtrics EmployeeXM. Retrieved September 15, 2020, from https://www.qualtrics.com/research-center/employee-experience-trends/?ut m_lp=resource-card.

Reynolds, L. (1997). The Trust Effect : Creating The high trust high performance organization. London: Nicholas Brealey.

Psychosis, P. (2017). If your employees aren’t engaged you’re losing profits. Retrieved February 25, 2019, from https://www.globalengagementsolutions.com/blog/if-your-employees-arent-engaged-youre-losing-profits

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30