พุทธวิธีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในวัดเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบองค์รวม

ผู้แต่ง

  • พระเจริญ บุญทศ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุวารีย์ ศรีปูณะ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผมหอม เชิดโกดา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

พุทธวิธี, การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม, อิทัปปัจจยตา

บทคัดย่อ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงขึ้นทุกด้าน กลุ่มคนและองค์กรต่างๆต้องหาวิธีการช่วยกันแก้ไข พระสงฆ์เป็นผู้นำสังคมทางจิตวิญญาณ มีหน้าที่หลักคือสืบทอดพระพุทธศาสนา แต่ธรรมะกับธรรมชาติคือสิ่งเดียวกัน พระสงฆ์ส่วนหนึ่งจึงมุ่งมั่นรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและมลภาวะจากสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ได้สำเร็จ บทความนี้จึงมุ่งเสนอพุทธวิธีในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในวัดเพื่อส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจแบบองค์รวมตามหลัก BCG Model ซึ่งพุทธวิธีที่พระสงฆ์ใช้ดำเนินการ แตกต่างกันตามปัญหาและภูมินิเวศของวัดและภูมิสังคมรอบวัดแต่โดยรวมพระสงฆ์ที่ได้รับยกย่องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ ใช้หลักอิทัปปัจจยตาที่ชี้ให้เห็นกฎธรรมชาติเป็นหลักการ และยึดพุทธวิธีตามแบบของท่านพุทธทาสภิกขุในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 3 วิธี คือใช้การถ่ายทอดหลักธรรมใช้การทำให้ดูและร่วมกันทำและการให้ได้รับประโยชน์ร่วมกันเป็นพุทธวิธีที่ใช้ได้เป็นรูปธรรมจากการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี โดยพระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ โดยใช้พุทธวิธี 3 ขั้นตอน คือ 1) การเทศน์อบรมสั่งสอนด้วยหลักธรรมตามกฎธรรมชาติของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมว่าต้องอยู่ร่วมกัน ไม่แบ่งแยก ไม่เอาชนะ ละอัตตา ใช้กฎแห่งกรรมและมีความเมตตากรุณาต่อกัน 2) การลงมือปฏิบัติให้ดูและร่วมกันทำด้วยจิตอาสาด้วยสโลแกน“ดวงตาเห็นทำ” ตั้งมูลนิธิสวนแก้วโดยใช้เครือข่ายผู้มีจิตศรัทธาพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติดิน น้ำ ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในวัดและพื้นที่วัดสาขาทั่วประเทศอีก 11 แห่ง ฟื้นฟูดินโดยบำรุงดินด้วยนำเศษพืชผักผลไม้มาถมผิวดินในพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นและผลไม้ ใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยคอกจากโค-กระบือที่ไถ่ชีวิตให้ย่อยสลายโดยพลิกกลับผิวดินทุก 6 เดือนจนได้ผิวดินสูงขึ้นจัดการน้ำให้เพียงพอและสะอาดโดยทำแอ่งเก็บน้ำและคลองไส้ไก่ ทำน้ำตกและรหัสวิดน้ำเติมอากาศแบบพื้นบ้าน ปลูกพืชพื้นถิ่นเพิ่มความหลากหลายทั้งสายพันธุ์และประโยชน์จัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3R คือการนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้ซ้ำและแปรรูปเพิ่มมูลค่าและ 3) การให้รับประโยชน์ร่วมกันโดยจัดแหล่งจำหน่ายสินค้าในวัดและรอบวัดเพื่อขายผลผลิตจากในวัด จากสาขาและเครือข่ายในราคาถูกและแจกฟรี ทั้งผักผลไม้และพันธุ์ไม้ สร้างงานสร้างรายได้ให้แก่คนยากไร้ คนรอบวัด ส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวม โดยที่เชื่อมโยงจากผลิตผลทางชีวภาพ (Biology) การแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า (Circular) เกิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green) จากวัดสู่ครัวเรือนและชุมชนสอดคล้องตามหลัก BCG Model ที่มุ่งสร้างสมดุลให้เศรษฐกิจให้เติบโตไปควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมป่าไม้. (2561). สำนักจัดการป่าชุมชน. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http//new.forest.go.th./community-forest-bill/

คุณไม่ใช้...เราขอ” ทน.ระยองกำจัดขยะ. (2563). ไทยรัฐออนไลน์. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/east/1631421.

จิณธกาญจน์ ธัมมะรักขิตา. (2561). การบูรณาการหลักธรรมในพระไตรปิฎกตามหลักพุทธวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด, 8(1), 179-187

ประวรดา โภชนจันทร์, สุวารีย์ ศรีปูณะและปัณณ์รภัส ถกลภักดี. (2562). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยประเภทบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนตัวในครัวเรือนของชุมชนนิเวศชานเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสาร วิทยาศาสตร์ตชสาส์น, 41 (1), 114-129

พระครูสิทธิธรรมาภรณ์. (2559). บทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสังคมอาเซียน. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 1(1), 1-12

พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2559). พุทธวิธีการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 100-116

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี 2561-2563. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, https://www.onab.go.th//ebook/category/detail/id/1/iid/2

สุวารีย์ ศรีปูณะ. (2549). การอนุรักษ์และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน. (เอกสารประกอบการสอน). เลย:

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. (2562). สิ่งแวดล้อมศึกษากับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวิทย์ เมสินทรีย์. (2562). BCG Model. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก www.nstda.or.th

Schultz, P.W. (2000). New environmental theories: empathizing with nature: the effects of perspective taking on concern for environmental Issues. Journal of Social Issues, 56(3), 391-406. from https://doi.org/10.1111/0022-4537.00174

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30