การตลาดอัตโนมัติ : เครื่องมือสู่ความสำเร็จในธุรกิจสำหรับนักการตลาดยุคดิจิทัล

Authors

  • Chanattee Poompruk สาขาวิชาการจัดการธุรกิจชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • Nanthanit Erb-im สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Keywords:

การตลาดอัตโนมัติ, เครื่องมือสู่ความสำเร็จในธุรกิจ, นักการตลาดยุคดิจิทัล

Abstract

ยุคดิจิทัลสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาทางเทคโนโลยีส่งผลให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เวลาในการท่องโลกแห่งยุคดิจิทัลเพื่อ  การสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้คนบนโลกออนไลน์มากขึ้น กระบวนการทางการตลาดในยุคดิจิทัลมีบทบาทมากอย่างยิ่งในการสร้างการรับรู้ในสินค้าและบริการเพื่อก่อให้เกิดการเข้าถึงความรู้สึกแบบมีส่วนร่วมกับลูกค้า เสริมสร้างเพิ่มยอดขายโดยใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ผ่านสื่อดิจิทัล กระบวนการการทำงานต่าง ๆ อาศัยการวัดผลเชิงตัวเลข  ทำให้กระบวนการทางตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้พัฒนาจากการจำหรือการจด กลายมาเป็นการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยจัดการให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามภายใต้กระบวนการทางเทคโนโลยีก็ยังคงต้องอาศัยแรงงานคนเป็นหลักในแทบทุกขั้นตอน และด้วยการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ซึ่งก้าวไปพร้อมกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิดการตลาดอัตโนมัติ (Marketing Automation) ซึ่งส่งผลให้ระบบบริหารจัดการทางการตลาดจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ความซับซ้อนของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ในทุกมิติ อีกทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในยุคดิจิทัลเฉกเช่นปัจจุบัน  โดยการนำซอฟต์แวร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการกิจกรรมทาง การตลาดแบบอัตโนมัติ ช่วยทุ่นแรง ทุ่นเวลา เพิ่มกำไรให้แก่ธุรกิจได้มากขึ้น รวมไปถึงการสร้างช่องทางการตลาดรูปใหม่เพื่อลดความเสี่ยงในวิกฤตโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งหมดนี้นับเป็นการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง

References

ชเนตตี จาตุรนต์รัศมี. (2559). ทัศนคติที่มีต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยาครั้งที่ 7 “วิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ รับใช้สังคม” (หน้า 198-204). 7-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ และนฤมล อนุสนธิ์พัทธ์. (2563, มกราคม – มิถุนายน 2563). ศักยภาพและความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 133-144.

นเรศ เหล่าพรรณราย. (2560). แนวโน้ม Digital Marketing ปี 2017, ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.sanook.com/money/451083/

นันทสารี สุขโต และคณะ. (2558). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

พชร อารยะการกุล. (2562). ค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2019/

Chaffey, D. and Ellis-Chadwick, F. (2016). Digital Marketing: Strategy, Implementation and Practice (6th ed.). Pearson: United Kingdom.

Denis. (2020). Retrieved 2020, 9 September, from https:// www.iplandigital.co.th/ author/iplandigit2/

Digital Marketing. (2020). Retrieved October, 17 2020, from http://www.vtacecommerce.com/blog/business/

InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. (2019). Retrieved October, 21 2020, from https://inlps.com/2019/07/22/digital- marketing-tools/

Supattra Ammaranon. (2020). Digital Blog – Ourgreenfish. Retrieved October, 26 2020, from http://blog.ourgreenfish.com/

Thai Business Search. (2019). Marketing Automation. Retrieved September, 16 2020, from https://www.thaibusinesssearch.com/marketing/marketing-automation/

The growth master. (2020). Retrieved, September, 16 2020, from https://thegrowthmaster.com/blog/marketingautomation#C3

Downloads

Published

06/30/2021