คุณลักษณะของผู้ประกอบการ นวัตกรรมการส่งออก ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชลกนก โฆษิตคณิน หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วรเทพ ตรีวิจิตร สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

คุณลักษณะของผู้ประกอบการ, นวัตกรรมการส่งออก, ผลการดำเนินงานส่งออก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ด้านนวัตกรรมการส่งออก ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางในประเทศไทย จำนวน 338 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และ             การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลวิจัยดังนี้ 1) คุณลักษณะของผู้ประกอบการ อันประกอบด้วย ด้านการสร้างนวัตกรรม ด้านการเผชิญกับความเสี่ยง และด้านการทำงานเชิงรุกมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการส่งออกและผลการดำเนินการส่งออก                และ 2) นวัตกรรมการส่งออก ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ด้านนวัตกรรมกระบวนการ และด้านนวัตกรรมพฤติกรรม มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานส่งออก ผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางควรเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นใน           การสร้างนวัตกรรมการส่งออก เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ การถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงาน มีความกล้าได้กล้าเสีย                มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรในการทำตลาดส่งออกในต่างประเทศ

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

รติมา คชนันทน์. (2558). Academic Focus. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560, จาก http://www.sme.go.th/th/index.php/

วิฬารี สว่างพลกรัง. (2561). รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการส่งออกของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. ดุษฏีนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

วรเทร ตรีวิจิตร. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). กลยุทธ์ทางการตลาดและนวัตกรรมการส่งออกที่ส่งผลต่อผลการดำเนินการส่งออกธุรกิจอาหารทะเลขนาดเล็กในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2),

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์

Covey, S. R. (2004). Seven habits of highly effective People. Free Press.

Deshpande, R. and Webster, F.E. (1989). Organizational culture and marketing: Defining the research agenda. Journal of Marketing, 53,3-15.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (7 ed.).

New Jersey: Pearson.

Hult, G. T. M., Hurley, R.F. and Knight, G.A. (2004). Innovativeness: Its antecedents and impact on business performance. IndustrialMarketing Management, 33, 429-438.

Leonidou, L.C. (2004). An analysis of the barriers hindering small business export development. Journal of

Small Business Management, 42(3),279- 302.

Lin, C. Y. (2007). An examination of implementing customer relationship management by Chinese-Owned SMEs. Master’ thesis of Commerce & Management, Lincoln University.

Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. London: Macmillan.Rauch, A., Wiklund, J., Lumpkin, G. T. and Frese, M. (2009). Entrepreneurial Orientation and Business Performance: An Assessment of past

Research and Suggestions for the Future. Entrepreneurship Theory & Practice, 33(3), 761-787.

Slater, S. F. and Narver, J. C. (1995, July). Market Orientation and the learning Organization. Journal of Marketing, 59 (3), 63-74.

Stevenson, N. (1998). Disused shrimp ponds : Options for redevelopment of mangrove. Coastal Management, 4, 423-425.

Weerawardena, J. and Mort, G.S. (2006). Investigating social entrepreneurship: A multidimensional model.

Journal of World Business, 4(1), 21–35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30