ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มรุต กลัดเจริญ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สุกัญญา ยอดยิ่ง นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

กองทุนรวมตราสารทุน, มูลค่าหน่วยลงทุน, ตลาดหลักทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนที่มีขนาดใหญ่ 3 ลำดับแรก ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่บริหารงานโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2553 ถึง ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2562 จำนวนทั้งหมด 40 ไตรมาส และประมาณค่าแบบจำลองด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ (Multiple Linear Regression)

            ผลการศึกษา พบว่ามีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุนทั้ง 3 กองทุนรวม              ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พบว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อมูลค่าหน่วยลงทุน เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคนั้นสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ซึ่งถ้าราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้รายได้และกำไรของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) พบว่ามีผลกระทบเชิงลบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนนั้นสะท้อนถึงภาพรวมของการลงทุนในอุตสาหกรรมและบริการภายในประเทศ ซึ่งในช่วงระยะเวลาในการศึกษานั้นบริษัทจดทะเบียนมีผลการดำเนินงานที่เติบโตในระดับที่ต่ำกว่าภาพรวมของการลงทุนทั้งประเทศ และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (MPC) พบว่ามีผลกระทบเชิงลบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลต่อการบริโภคสินค้าและบริการของภาพรวมภายในประเทศ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำจะส่งผลทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยของภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือนลดลง จึงทำให้มีการใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้น

References

กรกช ตั้งกิตติเวช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน Small-Mid Cap. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กระทรวงการคลัง. (2563). ส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.mof.go.th/th/home

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). นโยบายการเงิน. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy

นพพล ฉั่วโรจนพงศ์. (2560). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อราคามูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนของกองทุนเซ็ท50. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด. (2563). กองทุนรวม. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก www.kasikornasset.com/th

พงษ์พัฒน์ ไหลวัฒนชัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของ กองทุนLarge cap. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พนิดา สมหมาย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย ของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วาสนา ตุ่นนวล. (2553). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ(NAV) ต่อหน่วยของกองทุนรวมหุ้นระยาว (LTF) ที่บริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนธนชาต จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สุนิสา ชูชื่น. (2554). ความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2563, จาก www.nesdc.go.th/main.php

สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2563). ฐานข้อมูลเศรษฐกิจการค้า. ค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.price.moc.go.th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30