การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ฤติมา มุ่งหมาย สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วรนุช กุอุทา สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบสารสนเทศทางการบัญชี, สนับสนุนการตัดสินใจ, กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานีและพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ข้อมูลตัวอย่างในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการสนับสนุนการตัดสินใจจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจของผู้ประกอบการ ด้านการจัดการข้อมูลบัญชี และด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานีอย่างมีนัยสำคัญ และทำการประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์การแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการสนับสนุนการตัดสินใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปใช้งานและเป็นข้อมูลในการสนับสนุนการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้

References

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 . (2560). ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2561, จาก www.ipc7.dip.go.th.

จารุพร คีรีวัฒนาพงศ์. (2560). ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการจัดซื้อโดยใช้ข้อมูลราคาจากการสำรวจ. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิรารัตน์ ดวงเต็มใจ. (2559). ปัญหาระบบสารสนเทศทางการบัญชีของข้าราชการฝ่ายการเงินในกองทัพเรือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนครและอุทิศ สังขรัตน์. (2557, มกราคม-มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 97-122.

ไพลิน ตรงเมธีรัตน์. (2564). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี หลักการเบื้องต้นและกระบวนการทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิชยภรณ์ พงศกรรังศิลป์. (2556). แนวทางการออกแบบแผงหน้าปัดธุรกิจอัจฉริยะสำหรับผู้บริหารระดับสูง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยิ่งลักษณ์ เขมโชติกูร. (2552). ผลกระทบของแนวทางการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อการดําเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์. (2560). สารสนเทศทางธุรกิจ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วัชระกร จันทร์รุ่งเรื่อง. (2554). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการรับสมัครงานภายในองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารทหารไทย จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุฒิพงษ์ ชินศรี และศิริวรรณ วาสุกรี. (2558). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(1), 1 – 17.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำมะโนครัวอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561, จาก http://www.nso.go.th.

สุทัศน์ กํามณี และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบ สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ชุมชน. (รายงานการวิจัย). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

Nunnally J. C. and Bernstein I. H. (1994). Psychometric theory. New York: McGraw- Hill.

Romney, M. B and Steinbart, P. J. (2006). Accounting information systems (10th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, T. (1967). Statistics, An introductory analysis (2nd Ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30