การพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สมปอง สุวรรณภูมา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ศิริพร พึ่งเพชร์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ่ชัยภูมิ
  • ลักขณา สุกใส สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและการพัฒนาสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการสวัสดิการที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ  ใช้วิธีวิจัยแบบผสม กล่าวคือ การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ วิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ จำนวน 115 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย

              ผลการวิจับพบว่า

              ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.47.S.D=69) โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้  ด้านสุขภาพอนามัย (Health) (=3.51.S>D.87) ด้านนันทนาการ (Recreation)(=3.50.S.D.=.86) ด้านความมั่นคงทางสังคม (Social Security) (=3.45.S>D.=.92) ด้านการทำงานและการมีรายได้ (Employment and Income Maintenance) (=3.45.S.D.=77) ด้านบริการสังคม (Social Services) (=3.45.S.D.=.69) และด้านที่อยู่อาศัย (Housing) (=3.44.S.D.=71) ตามลำดับ

              ระดับปัจจัยการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.90.S.D.=.44) โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านร่างกาย ( =3.90.S.D.=.35) ด้านจิตใจ ( =3.86.S.D.=.43) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ( =3.86.S.D.=.43) ด้านสภาพแวดล้อม ( =3.86.S.D.=.43) ตามลำดับ

              ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยแต่ละด้านที่ส่งผลของปัจจัยแต่ละด้านที่ส่งผลต่อปัจจัยการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมX4 มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .286 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (β) .362 ตามลำดับ

              ควรให้หมอตรวจสุขภาพร่างกายทุกสัปดาห์ออกกำลังกายร่วมกันอย่างสม่ำเสมอจัดบริการรถฉุกเฉินให้กับทุกหมู่บ้าจัดเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับบริการ เพิ่มเบี้ยยังชีพและรถรับส่งไปหาหมอจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายให้จัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อคลายเส้น จัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันอาทิตย์ โดยมีเจ้าหน้าที่ร่วมสังเกตการณ์และฝึกปฏิบัติ มอบสวัสดิการค่าครองชีพให้ผู้สูงอายุ ฝึกอบรมให้กับผู้สูงอายุด้านจิตใจให้มีส่วนในการสนทนาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิด เพิ่มการพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้สูงอายุจัดสัมมนานันทนาการร่วมพบปะสังสรรค์ตรวจเยี่ยมพักผ่อนให้วิทยากรมาอบรมจัดทำบัญชีเงินผู้สูงอายุเพื่อการดูแลทางสภาพจิตใจอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมในการเที่ยวชมเชิงธรรมชาติร่วมกัน รวมกลุ่มที่สร้างรายได้ที่เป็นประโยชน์ในชุมชนร่วมกันจัดอบรมผู้สูงอายุ นัดพบปะพูดคุยสังสรรค์กันตามเวลาหากิจกรรมร่วมกันทำโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการจัดหาที่อยู่อาศัยจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และจัดหางานที่เป็นประโยชน์ในหมู่คณะชุมชนเพิ่มงานเพิ่มรายได้ กำจัดขยะสุขาภิบาลให้ได้มาตรฐานจัดอาชีพจักสานในการรวมกลุ่มกันทำช่วยรักษาดูแลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

_______. (2562). ชุดข้อมูลกลางเรื่องผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://chaiyaphum.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=271:23032017older&catid=105&Itemid=510

กุศล สุนทรธาดา และกมลชนก ขำสุวรรณ. (2553). ระดับและแนวโน้มความมีพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย (Thai Active Ageing). ในเอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2553 วันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2553 ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ ปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร.

ยุวณี เกษมสินธ์. (2553). สภาพและปัญหาการจัดสวัสดิการสังคมสําหรับผู้สูงอายุขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอําเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เรวดี สุวรรณนพเก้า และ รศรินทร์ เกรย์. (2553). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่เฝ้าระวังทำประชากรกาญจนบุรี.วารสารประชากร. 2(2), 33-54.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชาญ ชูรัตน์ (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารประชากร, 3(2), 87-109.

สำนักงานสถิติจังหวัดชัยภูมิ . (2559).ชุดข้อมูลกลางเรื่องผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://chaiyaphum.old.nso. go.th/nso/project/search/result_by_department.jsp

Guralnik, D. B. (1976). Webster’s New World Dictionary of American Language. Ohio: Willam Collins and World Publishing Company.

Mc Colgan. (2000). Managing and Coordinating Nursing Care (3rd ed.) Philadelphia: J. B. Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30