การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุฑามาศ ยิ้มวัฒนา 0969928295
  • ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พิเชษฐ เนตรสว่าง สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อมรา ดอกไม้ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ทรรศิกา ธานีนพวงศ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า, กล้วยแปรรูป, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า กล้วยแปรรูปจากเอกลักษณ์ท้องถิ่น แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีต่อบรรจุภัณฑ์กล้วยแปรรูป แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลภาคสนามที่เกี่ยวข้อง ทั้งประวัติความเป็นมา และการก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์สมุนไพรไทยและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ และทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทางกลุ่มผลิตขึ้นรวมถึงตราสินค้าที่สื่อถึงท้องถิ่น จนได้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุด และประเมินความพึงพอใจในรูปแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ออกแบบ ใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคสินค้ากล้วยแปรรูปของทางกลุ่มจำนวน 400 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 69 อายุระหว่าง 20-30ปี คิดเป็นร้อยละ 67 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 88 อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 43 มีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 44 ระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าที่มีต่อบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและสถานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x.png=4.58) รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ( x.png= 4.50) ด้านผลิตภัณฑ์และการบรรจุ ( x.png =4.47) และด้านราคา ตามลำดับ

References

นงลักษณ์ จิ๋วจูและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มโอทอป (OTOP) และบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม. ใน บทความสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560 (หน้า 1-12). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2563). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560 – 2579. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2564). ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564, จาก http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/Herb57/5.pdf

วรรณิดา ชินบุตร และคณะ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค ต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยตาก กรณีศึกษา : กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านหาดผาขน. ใน การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2560 (หน้า 303-310). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่.

วัชรวุธ พุทธิรินโน. (2553). การศึกษาและการออกแบบบรรจุภัณฑ์หัตถกรรม เครื่องโลหะดุนลาย บ้านวัวลาย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 155-166.

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. New York: John Wiley and Sons.

Kotler, P. & Amstrong, G. (2014). Principle of marketing (15th ed). England: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30