บทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ พานสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การปกครองท้องถิ่น) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อดิสร ภู่สาระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาขาวิชาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

บทบาทผู้นำ, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องบทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์        1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการแสดงบทของผู้นำที่ปฏิบัติจริงในการพัฒนาชุมชน บ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง  2) วิเคราะห์บทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนตามความคาดหวังและที่ปฏิบัติจริงและ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed Methods Research) ทั้งเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ โดยงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 185 ชุด สถิตที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ (Check-List)   ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก                 (In-depth-Interview) ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 ท่าน ผลของการวิจัย พบว่า1) ปัญหาและอุปสรรคต่อการแสดงบทบาทของผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว จังหวัดอ่างทอง ได้แก่ผู้นำชุมชนยังขาดความรู้ด้านการบริหารงาน ขาดทักษะในการทำงาน ขาดแคลนบุคลากรและขาดงบประมาณ ขาดการประสานงานทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่มีเวลาในการร่วมทำกิจกรรมเนื่องจากต้องประกอบอาชีพ ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเอง 2) ประชาชนส่วนมากมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทองทั้ง7ด้าน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการจัดระเบียบชุมชน ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านเศรษฐกิจ ด้านการรักษา/อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการศึกษา ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน และระดับมาก       5 ด้าน และ 3) แนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้นำในการพัฒนาชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ด้วยการพัฒนาตัวผู้นำก่อนให้มีความรู้ทักษะการทำงาน ความเข้าใจกฎระเบียบ ความรู้ในชุมชน ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสามารถด้านการประสานงาน การจัดหาและบริหารงบประมาณ  การสร้างความร่วมมือในชุมชน การนำนวัตกรรมมาสร้างอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้กับคนในชุมชน

Downloads