แนวทางการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในอำเภอพระนครศรีอยุธยาเพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • นภัสนันท์ ทองอินทร์ สาขาวิชาการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, พื้นที่ท่องเที่ยว, ความต้องการ, นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น               2) เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของดับเบิลยู จี คอชแรน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน ใช้วิธีสุ่มตามความเหมาะสมของเหตุการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัย คือ แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่          เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.5 มีอายุอยู่ในช่วง 21 – 30 ปี ร้อยละ 32.3 มีสถานภาพโสดร้อยละ 50.5 มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีร้อยละ 33.6 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 51.6 และมีรายได้มากกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 67.4 ผลการวิจัยพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น พบว่า เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก ร้อยละ 79.2 รู้จักพื้นที่ท่องเที่ยวในอำเภอพระนครศรีอยุธยาผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 31.0 เดินทางมากับเพื่อน/คนรู้จัก ร้อยละ 38.8 เดินทางมามากกว่า 3 วัน ร้อยละ 41.1 เลือกที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยามากที่สุดช่วงเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 25.0 เดินทางมาพักโรงแรม/            รีสอร์ท ร้อยละ 65.1 เดินทางท่องเที่ยวโดยรถบัสนำเที่ยว/รถตู้นำเที่ยว ร้อยละ 49.5 เลือกเดินทางมาเนื่องจาก          เป็นสถานที่ท่องเที่ยวมรดกโลกที่มีชื่อเสียง ร้อยละ 82.0 กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เลือกทำอันดับแรกคือท่องเที่ยวบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ ร้อยละ 62.5 และนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยากเดินทางกลับมาท่องเที่ยวอีก ร้อยละ 89.6 ความพึงพอใจต่อภาพรวมของการให้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86, S.D. = 0.65) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ความพึงพอใจโดยรวมในแหล่งท่องเที่ยว ( = 4.07, S.D. = 0.74) รองลงมาความพึงพอใจโดยรวมต่อผู้คนในท้องที่ ( = 3.99, S.D. = 0.77) และความพึงพอใจโดยรวมด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ( = 3.97, S.D. = 0.78) ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28