ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ศิริเพ็ญ กิจกระจ่าง สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สุภัทรา คงเรือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้, กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม และ  2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่ม  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามคู่มือ การจัดการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้โรงเรียนบ้านหนองตายอด จำนวน 20 คน กับโรงเรียนบ้านนาใหม่ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามคู่มือการจัดการศึกษาปฐมวัย แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ใช้แผนแบบการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05

            ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ      ที่ระดับ .05 และ 2) เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม สูงกว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามคู่มือการจัดการศึกษาปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27