โยคะบำบัดความเครียด โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • กอรวี ศิริโภคาภิรมย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ชาญณรงค์ สร้อยนาค สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • สจีวรรณ ปราชญ์ศรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

ความเครียด, เทคโนโลยีเสมือนจริง, โยคะบำบัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกโยคะบำบัดความเครียด โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง  2) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการฝึกโยคะบำบัดความเครียด โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ฝึกโยคะบำบัดความเครียด โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลที่สนใจฝึกโยคะ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินคุณภาพของระบบการฝึกโยคะบำบัดความเครียด โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการฝึกโยคะบำบัดความเครียด โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถช่วยฝึกทักษะการออกกำลังกายโยคะบำบัดความเครียดได้อย่างถูกต้อง ผลการประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( x=4.23, S.D.= 0.70 ) และผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างผู้สนใจฝึกโยคะอยู่ในระดับมาก ( x=4.15, S.D.= 0.76 )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29