ความมั่นคงด้านอาหารของไทยภายใต้อนุสัญญา UPOV 1991

ผู้แต่ง

  • วันเฉลิม จันทรากุล นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศและการพัฒนา) มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ยูปอฟ1991, ความมั่นคงด้านอาหาร, สิทธิเกษตรกร, ปรับปรุงพันธุ์, เกษตรกร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการ เรื่อง  ความมั่นคงด้านอาหารของไทยภายใต้อนุสัญญา UPOV 1991  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1.ศึกษาถึงที่มาของอนุสัญญา  UPOV 1991  2.ศึกษาผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร และ 3.) ทางออกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม  ซึ่งจากการศึกษาพบว่า  1.ที่มาของ UPOV 1991   เป็นความตกลงเพื่อให้สิทธิผูกขาดพันธุ์พืชใหม่แก่บริษัทและนักปรับปรุงพันธุ์  ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันใน "ปัจจัยการผลิต" ให้แก่ทุนเพื่อการขูดรีด และกอบโกยมูลค่าส่วนเกินจากเกษตรกร    2.จะกระทบต่อประเทศไทย คือ  1.)กระทบต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และการแลกเปลี่ยนพันธุ์ของของเกษตรกรรายย่อย 2.)กระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกร   3.) เพิ่มระยะเวลาการผูกขาดพันธุ์พืชเพิ่มขึ้น 4.) จะทําให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงพันธุ์พืชใหม่ได้ยากขึ้น 5.) จะทําให้เมล็ดพันธุ์พืชใหม่มีราคาแพงขึ้น และ 6.)บริษัทขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพโดยไม่ต้อง แบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งทําให้ประเทศสูญเสียความมั่นคงด้านอาหารและการเกษตร องค์ความรู้และขีดความสามารถด้านการปรับปรุงพันธุ์ของประเทศ  3.ทางออกในการแก้ปัญหาคือภาคประชาชนควรต่อสู้ผ่านเวทีสาธารณะในประเด็นสิทธิเกษตรกร การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงด้านอาหาร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29