การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันทางการตลาด บ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ ใจซื่อตรง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, การแข่งขันทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแข่งขันทางการตลาด บ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สินค้าในชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพการผลิตชุมชนบ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ของชุมชนบ้านสมใจ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสินค้าแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยรูปแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานราชการ และผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 10 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณคือ ลูกค้าผู้เลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ผลิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถแยก 8 ประเด็น คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ขาดความเป็นเอกลักษณ์ 2) ด้านราคา มีกำไรต่ำ และไม่สามารถจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ขาดความหลากหลาย 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด ขาดการส่งเสริมทางด้านการตลาด 5) ด้านกระบวนการ ขาดการควบคุมการผลิต การวางแผนในด้านต่าง ๆ 6) ด้านบุคคล ขาดทักษะในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ 7) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชุมชนอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองหรือแหล่งเศรษฐกิจ 8) ด้านผลผลิตและคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ของชุมชนไม่สามารถนำไปต่อยอดการเพิ่มมูลค่าได้
  2. ปัจจัยตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) พบว่าภาพรวม มีระดับทัศนคติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีทัศนคติด้านราคาสูงที่สุด รองมาคือ ด้านองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านบุคคล ตามลำดับ
  3. แนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ 1) การรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ 2) ด้านการจัดการ จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้มากขึ้น 3) ด้านการตลาด ให้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลาย 4) ด้านการผลิต ต้องการพัฒนาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวผลิตภัณฑ์ 5) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ เกิดการปัญหาการสนับสนุนที่ซ้ำซ้อนจากหลายหน่วยงานของภาครัฐ ขาดการสื่อสารที่ดีระหว่างหน่วยงาน ทำให้ผู้ประกอบการบางรายขาดซึ่งโอกาส และไม่เป็นไปตามจุดหมายของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29