ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ของประชากร ในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นรภัทร สถานสถิตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • จรรยา วังนิยม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สุพาพร ลอยวัฒนากุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, อาหารเพื่อสุขภาพ, พฤติกรรมการซื้อ, พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณเขตพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่เคยบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ จำนวน 400 คน ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานใช้ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติการทดสอบไค-สแควร์ (Chi-square)

             ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 265 คน มีอายุระหว่าง 18-39 ปี ส่วนสูงระหว่าง 161-170 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 51-60 กิโลกรัม อาชีพพนักงานหรือลูกจ้างบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001 - 30,000 บาท ระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด  ส่วนใหญ่เคยซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) เลือกซื้อมาเพื่อรับประทานเอง และเลือกซื้อแบบสำเร็จรูป ซื้อบ่อยมากที่สุด คือ 1-4 ครั้ง/เดือน และซื้อจำนวนมื้อเดียวมากที่สุด เฉลี่ยที่ซื้อต่อครั้งมากกว่า 100 บาท ส่วนใหญ่ซื้อจากตลาดสด/ตลาดนัด สาเหตุหลักที่ซื้อคือต้องการลดน้ำหนัก และการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ ตนเอง และในอนาคตจะซื้อต่อไป ในด้านส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีระดับความสำคัญมากที่สุด  ด้านราคา ราคาเหมาะสม มีระดับความสำคัญมากที่สุด  ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เลือกซื้อได้สะดวกง่ายมีระดับความสำคัญมากที่สุดและด้านส่งเสริมการตลาด มีส่วนลด ระดับความสำคัญมากที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และด้านพฤติกรรมผู้บริโภคส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29