ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อมรา ดอกไม้ อาจารย์หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจ, กรมเจ้าท่า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อยุธยา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อยุธยา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อยุธยา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อยุธยา จำนวน 400 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One Way Analysis of Variance : ANOVA)

              ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 52.00 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.00 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 56.30 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 34.75 อาชีพผู้ประกอบการเดินเรือ คิดเป็นร้อยละ 32.25 รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.75 ระดับระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.30 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความน่าเชื่อถือมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า, ด้านการตอบสนองลูกค้า และด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ

              ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ, สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อยุธยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29