การศึกษาการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของนักบัญชีกรณีศึกษาบริษัทใน กลุ่ม SET 100
คำสำคัญ:
มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9, การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานรายงานทางการเงิน, การปฏิบัติงานของนักบัญชี, TFRS 9บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของนักบัญชี (2) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการปฏิบัติงานของนักบัญชีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษางานวิจัย คือ นักบัญชีของบริษัทในกลุ่ม SET 100 จำนวน 100 บริษัท บริษัทละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามโดยแบ่งเป็น 3 ตอน โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ของการทดสอบ แบบสอบถามทั้งชุดเป็นค่าแอลฟ่า 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า นักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.84) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน และนักบัญชีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบในการปฏิบัติงานของนักบัญชีโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ( =3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ พบว่า การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (TFRS 9) ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการจัดทางบการเงิน ด้านการจัดเตรียมข้อมูลมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการปฏิบัติงานของนักบัญชีโดยรวม ผู้บริหารและนักบัญชีควรให้ ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในข้อกำหนดของ TFRS 9 ให้เข้าใจการคำนวณมูลค่ายุติธรรมของบางรายการที่มี ความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย รวมถึงจัดทำเอกสารตาม TFRS 9 และเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีเพิ่มเติม เพื่อเตรียมรับมือกับ TFRS 9 เนื่องจากจะช่วยในการป้องกันการตื่นตระหนกใน การปฏิบัติงานของนักบัญชีก่อนที่ มาตรฐานการบัญชีจะมีผลบังคับใช้