วิทยุชุมชน ห้องเรียนการสื่อสารของคนในชุมชน

Main Article Content

พนิตา สุขโกศล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้สรุปย่อมาจากงานวิจัย เรื่อง แนวทางการสร้างความเข้มแข็งในงานวิทยุชุมชนภาคเหนือ บทเรียนจากวิทยุชุมชนตัวอย่างที่ผสมผสานจากแนวคิดทางด้านการสื่อสารมวลชน เสรีภาพของสื่อชุมชน สิทธิมนุษยชน และการจัดการความรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรูปแบบของวิทยุชุมชนที่ควรจะเป็นในบริบทของสังคมไทย อันเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนโดยอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า สถานีวิทยุ เป็นห้องเรียนของการจัดการความรู้ในชุมชน ผ่านชุมชนเสมือนทางอากาศ บทความชิ้นนี้ใช้กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจดบันทึก บันทึกวิดีโอ บันทึกเสียง ถ่ายภาพ และสังเกตุพฤติกรรมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนในชุมชนซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการบริหารจัดการวิทยุชุมชน ผู้ประสานงานในแต่ละพื้นที่ นักวิชาการในแต่ละภาค รวมทั้งหมด 19 จังหวัดทั่วประเทศไทย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า วิทยุชุมชนที่ควรจะเป็นต้นแบบในประเทศไทย เกิดจากกระบวนการเรียนรู้เช่นเดียวกับแนวคิดด้านการจัดการความรู้ แต่ยังคงนิยามความหมายของคำว่าวิทยุชุมชนในความหมายที่ดี คือ เป็นสื่อของคนในชุมชนที่สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้เป็นสถานที่ในการพบปะของผู้คนในชุมชน ผู้วิจัยพบว่าวิทยุชุมชนบ้านจำรุง จังหวัดระยอง วิทยุชุมชนคนรามัย จังหวัดนครศรีธรรมราช วิทยุชุมชนวิทยุชุมชนเกษไชโย จังหวัดอ่างทอง วิทยุชุมชนคนเมืองสิงห์ จังหวัดสิงห์บุรี และวิทยุชุมชนคนเมืองลี้ จังหวัดลำพูน ค้นพบศักยภาพและสร้างสถานีวิทยุตามความต้องการของชุมชนและเป็นแบบอย่างที่ดีหากรัฐบาลจะนำเอาไปเป็นต้นแบบในการสร้างนโยบายในการจัดทำสถานีวิทยุชุมชนที่เหมาะสมในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่า ประเภทของวิทยุชุมชนในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท คือ ประเภทอยู่ในตม ประเภทอ้อล้อ ประเภทขวานผ่าซากใช้วิทยุเป็นเครื่องมือ ประเภทประนีประนอม ประเภทต่อสู้เพื่อชุมชน ประเภทนักล่าโครงการ ประเภทธุรกิจขนาดเล็ก ลักษณะของวิทยุชุมชนที่ดี ควารจะมีอุดมการณ์ในการทำงานร่วมกัน มีเป้าหมายและความสนใจร่วมกัน แบ่งปันประสบการณ์ความรู้ด้วยกันได้และสามารถสร้างข้อตกลงที่ดีระหว่างกันอย่างเท่าเทียมกัน เน้นการทำงานเพื่อชุมชน และนำเอาเนื้อหาในชุมชนมาถ่ายทอด เพื่อจะได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการแบ่งปันความรู้และธำรงรักษาความรู้ในชุมชนให้อยู่กับชุมชน จนกลายเป็นอัตลักษณ์ของคนในชุมชน

คำสำคัญ: วิทยุชุมชน สิทธิมนุษยชน การจัดการความรู้ วิทยุชนเผ่า วิทยุชนพื้นเมือง และการปฏิรูปสื่อ

 

Abstract

This paper was conducted using a concept of integrative mass communication: community media freedom, human rights, and knowledge management. The objective find the superior prototypes on approaches and learning processes engaged through the use of radio. The collections are the notes and videotape records of local experts, academics and project collaborators from 19 locations throughout Thailand.

The results identified community radios as prototypes for implementing public radio broadcasting: KonMuangSingh in Singhaburi province, Kethchaiyo in Ang-thong province, KonRamai in NakonSiThammarat province and KonMuangLii in Lampoon province. Examination of the practices utilized in the selected sample, 7 types was recognized: the opportunity seeker, pleasing for survival, outspoken, compromise, idealist, the project hunter and radio SMEs. Further, the key characteristics of community radio should be having the same ideology and goals of its community, sharing similar background, and commitment towards assisting the community, and interest in providing local content. The recommendation of this study was that to become community radio the operator(s) should possess a process of transferring knowledge using the same pattern of conversation as regularly conducted among sender, receiver and technician within the community. The process should also include promoting communities to a position of readiness for self-learning and development.

Keywords: community radio, human right, knowledge management, native radio, indigenous radio, and media freedom.

Article Details

บท
New Section Title Here