ปัจจัยด้านคุณลักษณะตราสินค้ากาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคกาแฟของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาการรับรู้คุณลักษณะตราสินค้ากาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทยของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาคุณลักษณะตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคกาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทย และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะตราสินค้ากาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคกาแฟของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณในประเภทของแบบสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีแบบการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่บริโภคกาแฟ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ และสหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้คุณลักษณะตราสินค้าจากกาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทยของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ลำดับแรก คือ การสร้างอัตลักษณ์ในตราสินค้า การรับรู้อยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคกาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทย ลำดับแรก คือ การสร้างบุคลิกภาพในตราสินค้า การตัดสินใจบริโภคอยู่ในระดับมาก และ 3) การรับรู้คุณลักษณะตราสินค้ากาแฟท้องถิ่นภาคเหนือไทย กับการตัดสินใจบริโภคกาแฟของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สามารถพยากรณ์ได้ตามสมการ คือ y = 1.825 + .205X1" + .118X2" + .114X3 ซึ่งตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันปานกลาง (R = 0.48) พบว่า การสร้างการวางตำแหน่งในตราสินค้า การสร้างบุคลิกภาพในตราสินค้า และการสร้างภาพลักษณ์ในตราสินค้า มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคกาแฟของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2564, 6 ธันวาคม). "ดีพร้อม" ชูอัตลักษณ์กาแฟดอย ปั้นภาคเหนือ“แลนด์มาร์คอาราบิก้า”. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/business/975826
กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป General psychology (พิมพ์ครั้งที่ 5). รวมสาร์น.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กุณฑลี รื่นรมย์. (2556). Corporate brand success valuation: แบรนด์องค์กรการประเมิณค่าแบรนด์องค์กร. ไซเบอร์พริ้นท์ จำกัด.
ฉกาชาต สุขโพธิ์เพ็ชร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสนใจเลือกใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ออล สตาร์ กอล์ฟ คอมเพล็กซ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/375
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2561). Digital branding: กลยุทธ์แจ้งเกิดแบรนด์เล็ก ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน. ไอดีซี พรีเมียร์.
ปิยชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0 from human spirit to your spirit (พิมพ์ครั้งที่ 5). อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.
ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร. (2547). การสร้างแบรนด์ และการสื่อสารการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 8). กลุ่มแอดวานซ์ รีเสิร์ช.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563ก, 10 มีนาคม). ภาพลักษณ์ของแบรนด์ (brandimage). Popticles. https://www.popticles.com/branding/brand-image
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563ข, 29 กันยายน). รู้จักความเชื่อมโยงจากบุคลิกภาพของแบรนด์ (brand personality). Popticles. https://www.popticles.com/branding/brand-personality-and-association
ภัทรบุตร เขียนนุกูล. (2560). การสื่อสารบุคลิกภาพตราสินค้าโดยใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของ Quiksilver Thailand. [การศึกษารายบุคคลนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. DPU e-Theses. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Pattarabut.Kie.pdf
รวิศ หาญอุตสาหะ. (2565, 9 มิถุนายน). The columnist สร้างแบรนด์ให้โดดเด่นและนำหน้าคู่แข่งด้วย “Brand Positioning”. Marketeer. https://marketeeronline.co/archives/266572
ไทยรัฐออนไลน์. (2561, 20 สิงหาคม). ดื่ม 7 กาแฟอาราบิก้าคุณภาพดีจากดอยสูง คอกาแฟห้ามพลาด!. https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/1355790
วริทธิ์นันท์ ชุมประเสริฐ, นุชนารถ คูประเสริฐ, อาทร เจียมเด่นงาม, และ อภิชญา ศรีรัตน์ (2563, 5 กรกฎาคม). กาแฟคุณภาพ ทางออกของเกษตรกรไทย. ThaiPublica. https://thaipublica.org/2020/07/bot-article-thai-coffee
วารุณี สุนทรเจริญนนท์. (2551, 23 มกราคม). การสร้างแบรนด์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ต้องทำ. MGRonline. https://mgronline.com/business/detail/9510000009025
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร. (2562). เครื่องดื่มกาแฟในประเทศไทย. https://fic.nfi.or.th/market-intelligence-detail.php?smid=260
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ธุรกิจร้านกาแฟ บริหารอย่างไรให้รุ่ง. https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/ksmeknowledge/article/ksmeanalysis/documents/coffee-shop-management.pdf
สุกัญญา สุจาคำ. (2559). กลยุทธ์การตลาดเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะลานำโชค ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 260-268.
ฮัมเดีย มูดอ และ สากีเราะ แยนา เบ็ญฮารูน. (2566). การวิเคราะห์วัฒนธรรมมลายูผ่านอัตลักษณ์ตราสินค้าของร้าน Bagus Chicken ปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(2), 112-121.
Aaker, A. D. (1996). The Aaker Model: A comprehensive guide to building brand identity. Oxford Reference. https://www.oxfordreference.com/display/10.1093/oi/authority.20110803095524498
Francisco, T. M. (2021, January 2). Brand personality: Understanding Aaker’s 5 dimension model. Live innovation. https://liveinnovation.org/brand-personality-
Fayossy. (2015, February 16). [How to] 7 วิธี สร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ให้ดูดีในสายตาผู้บริโภค. Marketingoops. https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/how-to-7-ways-improve-brand-image
Gartlan, D. (2023, June 6). 4 Essential brand components. Stevens & Tate Attraction Marketing. https://stevens-tate.com/articles/4-essential-brand-components
JSM Team. (2022, March 1). The six elements of a brand. J.Scott Marketing. https://jscottmarketing.com/the-six-elements-of-a-brand