แนวคิดและรูปแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ: กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทย ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ในช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวคิดและรูปแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ: กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ในช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2563” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ สาขาเทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม (best makeup effects) ในช่วง พ.ศ. 2553 - 2563 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ภาพตัวละครหลักที่มีการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษและการสัมภาษณ์นักออกแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษจากภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัล ซึ่งภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภทภาพยนตร์สยองขวัญเป็นหลัก ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดหลักในการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ เกิดจากการศึกษาบทภาพยนตร์ และวิเคราะห์ตัวละครที่มีการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ โดยมักนำเสนอตัวละครที่ถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตและกลายเป็นวิญญาณที่มีความอาฆาตแค้น แสดงตนในรูปลักษณ์ที่ดูน่ากลัว อีกทั้งแนวคิดในการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ ยังเกิดจากการประชุมร่วมกับผู้กำกับภาพยนตร์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ การหาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงร่วมกับจินตนาการและประสบการณ์ของนักออกแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ ในส่วนรูปแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ พบว่า ประเภทการแต่งหน้าเพื่อเปลี่ยนรูปลักษณ์ตัวละครให้กลายเป็นผีที่มีบาดแผลตามร่างกายเป็นประเภทที่พบได้มากที่สุด ในด้านกระบวนการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษ มีการนำหลักองค์ประกอบทางศิลป์มาประยุกต์ใช้ในลักษณะที่ต่างกัน มีการใช้เทคนิคพิเศษในการแต่งหน้าตัวละคร 2 เทคนิคหลัก ได้แก่ เทคนิคที่สามารถตกแต่งลงบนผิวของนักแสดงได้ทันที และเทคนิคที่มีการทำชิ้นเนื้อเทียมรวมทั้ง ยังค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้านงบประมาณที่จำกัดของนักออกแบบการแต่งหน้าเทคนิคพิเศษกับการแต่งหน้าในงานภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กฤษดา เกิดดี. (2547). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิมพ์คำ.
กฤษณ์ คำนนท์. (2552). การสร้างภาพตัวแทนด้วยการแต่งหน้าเพื่อสื่อความหมายลักษณะตัวละครของละครโทรทัศน์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19654
ปดิวลดา บวรศักดิ์. (2566, 7 เมษายน). ผี นานาสาระความเชื่อในวัฒนธรรมไทย. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/on-view/article_105818
ปรวัน แพทยานนท์. (2556). ตัวละครและสไตล์การแสดงในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย : กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์สุพรรณหงส์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2), 6-9.
ปิลันลน์ ปุณญประภา. (2555). การศึกษาองค์ประกอบและลักษณะเฉพาะของหนังผีไทยในช่วงปี พ.ศ. 2548-2552 (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2543). แต่งหน้าเพื่อการแสดง. เศรษฐศิลป.
พัชนี แสนไชย. (2560, 5 มีนาคม). การแต่งหน้าด้วยเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. https://shorturl.at/Juocs
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2546). นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. โครงการตำราคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาธิดา เตชะภัทรพร. (2541). บทบาทของการแต่งหน้าในฐานะเป็นส่วนขยายความรู้สึกทางด้านจิตใจในสื่อวิทยุโทรทัศน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Burton, G. (2002). More than meets the eyes: An introduction to media studies (3rd ed.). Hodder Education Publishers.
Key, M. (2017). World Wide Weekend. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=RD6I2MVJE1