ภาพตัวแทนของศิลปินวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตบนสื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ภาพตัวแทนของศิลปินวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตบนสื่อสังคมออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพตัวแทนของกลุ่มศิลปินวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตที่ปรากฏผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) และทำการคัดเลือกแหล่งข้อมูลในรูปแบบเว็บไซต์ผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยทำการคัดเลือกเฉพาะเนื้อหาตามประเด็นเหล่านี้ ได้แก่ 1) ข่าวการได้รับรางวัล หรือการได้รับเลือก 2) ข่าวการเลือกตั้งทั่วไปเซ็มบัตสึ 3) ข่าวการจบการศึกษา และ 4) ประเด็นขัดแย้งต่าง ๆ ของศิลปิน ทั้งนี้การเก็บข้อมูลข่าวย้อนหลังจะเริ่มศึกษาและเก็บข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2561 – 2565 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มศิลปินถูกพูดถึงบนสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด จากแฟนเพจบนเฟซบุ๊ก (Facebook) https://www.facebook.com/bnk48official
ผลการวิจัยพบว่า ศิลปินบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ถูกทำให้ปรากฏในภาพตัวแทนของผู้หญิงที่เป็นลักษณะของไอดอลญี่ปุ่น-ไทย จากกรณีของข่าวการได้รับรางวัลที่มีลักษณะของบุคคลที่เป็นตัวแทนของเยาวชนที่มีความประพฤติตนดี เป็นภาพตัวแทนของไอดอลที่บุคคลทั่วไปและสังคมยอมรับ โดยส่งผลให้ศิลปินในฐานะไอดอลกลายเป็นผู้นำกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มแฟนคลับให้ปฏิบัติตามค่านิยมที่สะท้อนภาพตัวแทนของผู้หญิงในแบบที่สังคมยอมรับ รวมถึงภาพตัวแทนของผู้หญิงที่มีความพยายามในการแข่งขันจากกรณีของข่าวการเลือกตั้งทั่วไปเซ็มบัตสึ เป็นการแสดงให้เห็นถึงภาพตัวแทนของผู้หญิงหัวสมัยใหม่ในด้านของการก้าวเข้าสู่พื้นที่ของการทำงานที่แข่งขันเพื่อให้ประสบความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรมบันเทิง ในส่วนของข่าวการจบการศึกษา เป็นการสิ้นสุดของสถานะของความเป็นตัวแทนของผู้หญิงในฐานะของศิลปินกลุ่มบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ดังนั้น การจบการศึกษาของไอดอลจึงมีความหมายของการหมดอายุของผู้หญิงวัยสาวในฐานะของสินค้าทางวัฒนธรรม ส่วนประเด็นขัดแย้งต่าง ๆ ของศิลปิน แสดงให้เห็นถึงการควบคุมศิลปินในลักษณะของการแสดงออกในพื้นที่ส่วนตัว เพื่อไม่ให้มีคุณลักษณะหรือภาพลักษณ์ใดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจากต้นสังกัด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กันต์ธนัน ดำดี และ อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2564). มองไอดอล (Idol) ผ่าน BNK48. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 15(2), 293-321.
ขวัญฟ้า ศรีประพันธ์. (2551). ภาพตัวแทนคนจนในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์[วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จีญาพัชญ์ บุญราช, จิดาภา นภาพิพัฒน์, และ รภัส ศิลป์ศรีกุล. (2560). ความชื่นชอบในกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัย ภาพลักษณ์ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชาวไทยที่ชื่นชอบกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี (K-POP) กับชาวไทยที่ชื่นชอบกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น (J-POP). [Paper presentation], การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
เจษฎา ศาลาทอง. (2561, 14 พฤษภาคม). ลงโทษสมาชิก BNK48 กับภาพสะท้อนธุรกิจบันเทิง. รู้ลึกกับจุฬาฯ. Chulalongkorn University. https://www.chula.ac.th/cuinside/8644/
ณัชชา ตันตระกูล. (2562). จาก AKB48 สู่ BNK48: พัฒนาการของวัฒนธรรมไอดอลในญี่ปุ่นและความนิยมในประเทศไทย [บทความวิจัยปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นลินทิพย์ เนตรวงศ์. (2559). ภาพตัวแทน “ผู้ชายในฝัน” ในละครโทรทัศน์แนวโรมานซ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปฏิภาณ ชูขวัญ. (2561). วัฒนธรรมแฟนของวงไอดอลญี่ปุ่นในสังคมไทย กรณีศึกษา กลุ่มโอตะวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต [สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พันธกานต์ ทานนท์. (2559). การสื่อสารภาพตัวแทนของผู้หญิงชนบทในเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดย ตั๊กแตน ชลดา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2561, 26 กุมภาพันธ์). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องของ “BNK48”. PostToday. https://www.posttoday.com/social/think/541982
ฟ้องแม่แน่. (2563, 16 กรกฎาคม). เผยหลักฐานวงไอดอลชื่อดัง. Facebook. https://www.facebook.com/share/gyfvjjos1gBvLhvL/
ลงทุนศาสตร์. (2561, 8 มีนาคม). “ไอดอล” ต่างกับ “ดารา” อย่างไร. https://www.investerest.co/business /////////bnk48/
วรัญญา บูรณากาญจน์. (2561, 15 สิงหาคม). จาก “เด็กสาวข้างบ้าน” สู่ “ศาสดา” ของเหล่าแฟน. The101.World. https://www.the101.world/becoming-the-idol/
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
วิกิพีเดีย. (2566, 8 พฤศจิกายน). ไอดอลญี่ปุ่น. https://shorturl.at/kGGfG
เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ. (2562). ภาพตัวแทนความรักและความสัมพันธ์ของหญิงสาวในบทเพลงของกลุ่มศิลปินหญิง: จาก สาว สาว สาว ถึง BNK48. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(1), 80-129.
อิสริยา อ้นเงิน. (2560). ภาพตัวแทนของข้าราชการในละครโทรทัศน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
All about music. (2019, October 2). เกียรตินิยมอันดับ 2! เฌอปราง BNK48 บัณฑิตป้ายเเดง แฟนคลับร่วมยินดีสุดอบอุ่น (มีคลิป). TrueID. https://music.trueid.net/th-th/detail/nBL9W39noK6p
Celeste. (2020, February 11). ไอดอลคือใคร ทำไมถึงเรียกว่าไอดอล?. https://www.facebook.com/CelesteOfficialTH/posts/131584711715225/
CEOblog.co. (2018, January 28). เปิดตำนาน AKB48 จากวงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ป สู่โมเดลธุรกิจบันเทิงระดับโลก. https://www.ceochannels.com/akb48/
MGR Online. (2019, February 3). BNK48 นี่ต่างหาก “ไทยนิยม”. https://mgronline.com/daily/detail/9610000010806