การเผยแพร่ (Distribution) ภาพยนตร์ไทยในภาพยนตร์สตรีมมิ่ง ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรณีศึกษา Netflix
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การเผยแพร่ (Distribution) ภาพยนตร์ไทยในภาพยนตร์สตรีมมิ่ง ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) กรณีศึกษา Netflix มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทัศนะของผู้ผลิตภาพยนตร์ไทย ต่อสภาพแวดล้อมและศักยภาพของภาพยนตร์ไทยที่ใช้การเผยแพร่ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix เป็นช่องทางแรก (First Window) และศึกษาวิเคราะห์ทัศนะกลยุทธ์ทางการตลาดของ Netflix ต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019-(โควิด-19) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่เผยแพร่ภาพยนตร์ไทยจำนวนทั้งหมด 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ประการแรก ด้านสภาพแวดล้อมและศักยภาพของของภาพยนตร์ไทย ผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยได้รับผลกระทบจากการปิดโรงภาพยนตร์ชั่วคราว ทำให้ช่องทางการเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยสื่อออนไลน์และสตรีมมิ่งภาพยนตร์ไทยมากขึ้น โดยเฉพาะทาง Netflix และบุคลากรส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ดีเมื่อเทียบกันในภูมิภาคเอเชียนับเป็นจุดแข็ง ส่วนจุดอ่อนเป็นบทภาพยนตร์ที่สะท้อนเพียงบริบทความเป็นไทยเท่านั้น ผลงานภาพยนตร์ไทยส่วนหนึ่งก็ยังได้รับโอกาสในการเผยแพร่ภาพยนตร์สตรีมมิ่ง Netflix สู่ตลาดโลก การพิจารณาภาพยนตร์ไทยของหน่วยงานภาครัฐยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาพยนตร์ไทยในระดับสากล ประการที่สอง ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด พบว่า Netflix ใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์เป็นกลยุทธ์หลัก โดยพิจารณาจากบทภาพยนตร์เป็นลำดับแรก และปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางด้านราคาและการลงทุนร่วมด้วย มีการซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ไทยไปเผยแพร่ในสตรีมมิ่ง Netflix เป็นช่องทางแรก (First Window) ตลอดจนมีการลงทุนผลิตภาพยนตร์ไทยและเผยแพร่เป็น Netflix Original กลยุทธ์การโฆษณาและการตลาด ส่วนมาก Netflix เป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2557). ทฤษฎีการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ. ใน 15711 ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฏีการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กมัยธร ริ้วพันกุล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Netflix ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. iThesis Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/538/1/gs601130319.pdf
กรมประชาสัมพันธ์. (2565, 21 กันยายน). กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง. https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/122110
กสทช. (2563). บทสรุปผู้บริหาร. ใน ศึกษาผลกระทบของ OTT ต่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และแนวทางการส่งเสริมและกำกับดูแล (12-16). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. ภาพพิมพ์.
ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2564). การปรับตัวของภาพยนตร์นานาชาติในยุคโรคระบาดโควิด-19. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน, 25(1), 7-14.
ไทยรัฐออนไลน์. (2564, 1 กรกฎาคม). แย่หนักกว่าสงครามโลก โรงหนังรอตายช่วงโควิด สตรีมมิงรุ่งแรง จริงหรือไม่. https://www.thairath.co.th/entertain/movie/2111976
พิชญะ ฤทธิบุตรสกุล. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มผลประกอบการ ในธุรกิจจัดจาหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กรณีศึกษา บริษัท แคททาลิสท์ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จากัด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. UTCC Central Library. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Sarawut.Tho.pdf
ภาณุ อารี. (2563, 12 ธันวาคม). วิธีการปรับตัววงการหนังไทย หลัง “วอร์เนอร์ บราเธอร์ส” ออกนโยบายสตรีมภาพยนตร์ชนโรง. https://workpointtoday.com/thaimovies-warnerbros/
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2532). เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและทฤษฎีต้นทุน หน่วยที่ 1-8. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรทัย ราวินิจ. (2556). แบบจำลององค์ประกอบเชิงอารมณ์ของการสื่อสารในภาวะวิกฤต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย]. CUIR (The Chulalongkorn University Intellectual Repository). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42767
วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตรพันธ์, และ ศิริจันทรา ผลกนิษฐ. (2560). การจัดการภาวะวิกฤต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(1), 45-51. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/77021/67353
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, ปริญ ลักษิตานนท์, และ ศุภร เสรีรัตน์. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
สราวุฒิ ทองศรีคำ. (2564). ประสบการณ์ความบันเทิงของภาพยนตร์สตรีมมิ่งและการปรับตัวของธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย [ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. DPU e-Researchs. http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Sarawut.Tho.pdf
สิทธิชัย ชูบุญสังข์, มาโนช ชุ่มเมืองปัก, และ ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2663). ประสบการณ์ความบันเทิงของภาพยนตร์สตรีมมิ่งและการปรับตัวของธุรกิจภาพยนตร์ในประเทศไทย. Walailak Abode of Culture journal, 20(2), 74-88.
สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์. (2021, 18 มิถุนายน). Netflix ปล่อยตัวอย่างแรก DEEP หนังระทึกขวัญเรื่องใหม่ ดูแลงานสร้างโดย ‘อังเคิล’ และ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เตรียมเข้าฉาย 16 ก.ค. นี้. https://thestandard.co/deep-netflix/
อภิเกียรติ เตชะจารุพันธ์. (2560, 6 กันยายน). Digital Disruption คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำธุรกิจ. https://blog.ourgreenfish.com/th/digital-disruption-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-business#gsc.tab=0
อํานาจ สุคนเขตร์. (2549). วีดิทัศน์ตามประสงค์ ( VDO on Demand) สื่อการเรียนการสอนยุค E-Learning. วารสารวิทยบริการ, 17(1), 43-45.
BrandInside. (2021, 24 มกราคม). [บทความวิเคราะห์] โรงหนัง กับ สตรีมมิ่ง ใครจะเป็นผู้ชนะในศึกแห่งภาพยนตร์. https://brandinside.asia/cinema-vs-streaming/
Catie Keck. (2021, 17 november). Netflix launches new website for reporting its Top 10 titles. https://www.theverge.com/2021/11/16/22785623/netflix-launches-top-10-titles-website
Fink, S. (1986). Crisis Management: Planning for the Inevitable. American Management Association.
Majorcineplex. (2022, 28 มีนาคม). สรุปผลรางวัลออสการ์ ประจำปี 2022 ทุกสาขารางวัล คลิกเดียวจบ!! https://www.majorcineplex.com/news/oscar-2022-result
Pearson, C. M., & Clair, J. A. (1998). Reframing Crisis Management. Academy of Management. The Academy of Management Review, 23(1), 59-76.
Statista Research Department. (2021, August). Most popular subscription video-on-demand (SVoD) services in Thailand as of May 2021. https://www.statista.com/statistics/1261066/thailand-leading-subscription-video-on-demand-services/
Stocker, K. (1997). A strategic approach to crisis management. The handbook of strategic public relations and integrated marketing communications.
Tangsiri. (2021a, 15 กรกฎาคม). ส่องรายได้ Major Cineplex ในวันที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดบริการอีกครั้ง (1). https://brandinside.asia/major-cineplex-2021/-1
Tangsiri. (2021b, 15 กรกฎาคม). ส่องรายได้ Major Cineplex ในวันที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดบริการอีกครั้ง (2). https://brandinside.asia/major-cineplex-2021/-2