ปัจจัยด้านการสื่อสารที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจวิ่งเพื่อออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยด้านการสื่อสารที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจวิ่งเพื่อออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาช่องทางสื่อที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจวิ่งออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการวิ่งออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการวิ่งออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มประชากรตัวอย่างเป็นนักวิ่งที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสำรวจ จำนวน 400 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน และใช้ทฤษฎีอิทธิพลอันจำกัดของสื่อ (Limited Effect Theory) เป็นแนวทางในการวิจัย


ผลวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง 210 คน คิดเป็นร้อยละ 52.50 และเพศชายจำนวน 190 คน ส่วนใหญ่มี อายุ 18-30 ปี จำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 51.7 ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 307 คน คิดเป็นร้อยละ 76.80 ระยะเวลาที่ออกกำลังกายด้วยการวิ่งส่วนมากคือ 2 – 3 ปี จำนวน 191 คน คิดเป็นร้อยละ 47.80 ส่วนมากวิ่งระยะทางเฉลี่ย 11-15 กม. จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 36.00 สถานที่ที่ใช้ในการวิ่งส่วนมากใช้สนามกีฬา จำนวน 241 คน คิดเป็นร้อยละ 60.30 ส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการเลือกรองเท้าวิ่งในระดับดีมาก จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 49.50 ความรู้เรื่องพัฒนาท่าวิ่งส่วนมากอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 205 คิดเป็นร้อยละ 51.20 ความรู้เรื่องการพัฒนากล้ามเนื้อและการบริหารร่างกายเพื่อการวิ่งส่วนมากอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 49.80


ปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกการวิ่งเป็นการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.95, S.D. = 1.05) โดย “เพื่อนหรือคนรู้จักชักชวนให้วิ่ง”  = 4.22, S.D. = 0.85 เป็นปัจจัยที่มีผลมากที่สุด สอดคล้องกับการสัมภาษณ์เจาะลึกที่พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมากคือคนใกล้ชิดทั้งทางกายภาพ หรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้านการสร้างแรงบันดาลใจให้ออกไปวิ่งมากที่สุด ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลักในการค้นหาข้อมูล ทั้งจากการใช้ search engine เฟซบุ๊ก และมักเลือกสื่อสารกับคนที่รู้จักกัน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจข้อมูลข่าวสารด้านการสร้างแรงบันดาลใจไปวิ่งในระดับมาก จำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 42.8


จากผลการวิจัยทำให้อภิปรายผลการวิจัยได้ว่า 1) คนใกล้ชิดมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการตัดสินใจเลือกการวิ่งเป็นการออกกำลังกาย ดังจะเห็นได้จากผลการวิจัยว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจวิ่งจากเพื่อหรือคนรู้จักชักชวนให้วิ่งมากที่สุด แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างไม่ได้ต้องการข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ แต่ต้องการข้อมูลจากคนที่เข้าถึงได้ง่าย 2)สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการเผยแพร่เรื่องการวิ่งมากกว่าสื่อมวลชน ดังจะเห็นได้จากทั้งสื่อที่ทำให้ตัดสินใจเลือกการวิ่ง ที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มตัวอย่างก็ยังเลือกที่จะรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าสื่อมวลชน 3) การใช้อารมณ์ความรู้สึกมีความสำคัญในการจูงใจให้คนเลือกการวิ่งเป็นการออกกำลังกายได้ ดังจะเห็นได้ว่า จุดที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างหลายคนตัดสินใจวิ่งนั้น เกิดขึ้นฉับพลันทันที จากความรู้สึก โดยไม่มีการเตรียมตัวก่อนวิ่งแต่อย่างใด และ 4) สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทเป็นสิ่งสนับสนุนการตัดสินใจ จากผลวิจัยที่ทำให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างหลายคนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคนในสื่อสังคมออนไลน์ สามารถเป็นแรงผลักดันให้เกิดการตัดสินใจได้ อย่างไรก็ตาม ก็นับว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนมากกว่าจะเป็นปัจจัยหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ ยังสนับสนุนกลุ่มตัวอย่างให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยง่าย จามความต้องการของตนเอง จึงทำให้สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทในการสนับสนุนการตัดสินใจวิ่งเป็นอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Patrunning, (2565, 18 เมษายน). ปฏิทินงานวิ่งรายเดือน. https://patrunning.com/ปฏิทินวิ่งรายเดือน

กานดา สังขวาร. (2556). พฤติกรรมการรับสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการเลือกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. [การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMUDC. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:118617

กานต์ เส้งซ้าย. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ภายในของพนักงานบริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน). [สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. DCMS. http://digital.lib.ru.ac.th/m/b12002598/KarnSengsai.pdf

กิตติศักดิ์ ทองฟุก. (2557). ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ของมนุษย์เงินเดือนในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา การรับรู้บริการ K-Expert. [การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]. UTCC Scholar. https://scholar.utcc.ac.th/entities/publication/34a4f1d0-f30f-45a1-8ad6-d8de26d9fffc

ขวัญชนก พันธุฟัก. (2557). การสื่อสารและการปรับตัวของแรงงานพม่าในสังคมไทย. [วิทยนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46289

จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารการใช้ความรุนแรงผ่านสื่อดิจิทัลของเด็กและวัยรุ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อแนวคิดการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/299259

บุษยมาศ ทองเลิศ. (2559). สื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการทำศัลยกรรมบนใบหน้าของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. [รายงานการค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้]. MDC. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2561/bussayamart_tonglert/fulltext.pdf

พจนีย์ บุญเจริญสุข. (2559). การเปิดรับสื่อ ความตระหนัก และทัศนคติที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2404

ยุทธนา อุดมพร, (2553, 9 พฤศจิกายน). วิ่ง...เพื่อสุขภาพ. สืบค้น มีนาคม 16, 2565, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=731

รสิกา จันทร์โชติเสถียร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่งมาราธอน Run for Life ของประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-7_1564997775.pdf

ลลิตา บงกชพรรณราย. (2560). ปัจจัยด้านการสื่อสารและทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราธอน. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5607030276_3073_6481.pdf

วิโรจน์ สุทธิสีมา. (2557). การสื่อสารกับวาทกรรมการวิ่งในสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46021

Baran, S. J. & Davis, D. K. (2012). Mass Communication Theory: Foundations, Ferment, and Future (6th ed). Wadsworth Cengage Learning.

Charles K. Atkin & Ronald E. Rice. (2013). Theory and Principles of Public Communication Campaigns (4th ed). Sage Publications.

Diggs-Brown, B. (2012). Strategic Public Relations: an Audience-Focused Approach. Wadworth Cengage Learning.

Hovland, C.I., A. A. Lumdaine and F. D. Sheffield. (1949). Experiments on Mass Communication. Princeton University Press.

Kim, C. M. (2016). Social Media Campaigns. Routledge.