ลักษณะและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์

Main Article Content

พรชา จุลินทร
อภิเชฐ กำภู ณ อยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องลักษณะและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด กระบวนการสร้างและลักษณะของดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ระหว่างปีพุทธศักราช 2553-2565 จำนวน 11 เรื่อง ได้แก่ ซามูไร อโยธยา คนโขน เอคโค่ จิ๋วก้องโลก จันดารา ปัจฉิมบท คิดถึงวิทยา ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ พรจากฟ้า ฉลาดเกมส์โกง 9 ศาสตรา ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า ร่างทรง ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะของดนตรีประกอบและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ยังคงทำงานในแวดวงดนตรีและเป็นผู้ชนะรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ระหว่างปีพุทธศักราช 2553-2565 จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สามารถแบ่งผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือเพื่อศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ได้แก่ (1) ดนตรีประกอบภาพยนตร์เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องคอยสนับสนุนในจังหวะและเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ภาพยนตร์เกิดความสมบูรณ์โดยไม่โดดเด่นหรือล้นจนแย่งความสำคัญของภาพหรือความสนใจของผู้ชมภาพยนตร์ (2) บันไดเสียงไมเนอร์เป็นบันไดเสียงที่พบในดนตรีประกอบภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่เพราะมีลักษณะของเสียงที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกและเร้าอารมณ์ (3) ธีมดนตรีที่เป็นตัวแทนของเรื่องราวและตัวละครในภาพยนตร์มักปรากฏในหลายช่วงของภาพยนตร์โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งจนถึงช่วงท้ายที่ถูกบรรเลงแบบเต็มรูปแบบ (4) กระบวนการสร้าง ดนตรีประกอบภาพยนตร์เริ่มต้นจากการที่ผู้ประพันธ์ได้รับโจทย์ แล้วจึงใช้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับการสื่อสารกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ได้แก่ บทภาพยนตร์ การพูดคุย การได้รับดนตรีอ้างอิง การสร้างตัวอย่างดนตรี จากนั้นจึงใช้แนวคิดและเรียบเรียงดนตรีก่อนที่จะส่งผลงานให้ผู้กำกับภาพยนตร์ลงความเห็นเป็นระยะ ๆ เพื่อนำเข้าไปสู่กระบวนการตัดต่อและทดสอบเสียงร่วมกับภาพให้พร้อมสำหรับการฉายในโรงภาพยนตร์ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 คือเพื่อวิเคราะห์ลักษณะของดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ได้แก่ การผสมผสานดนตรีตะวันออกและดนตรีตะวันตก การใช้บันไดเสียงเพื่อสร้างธีมดนตรี การใช้องค์ประกอบทางด้านเสียงอื่น ๆ

Article Details

How to Cite
จุลินทร พ. ., & กำภู ณ อยุธยา อ. . (2023). ลักษณะและกระบวนการสร้างดนตรีประกอบในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์. วารสารการสื่อสารและสื่อบูรณาการ, 11(2), 32–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/271846
บท
บทความวิจัย

References

กองบรรณาธิการคัลเจอร์. (2562, 28 กุมภาพันธ์). 28 ปีรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติสุพรรณหงส์ กับบทบันทึก ‘ครั้งแรก’ ที่เคยเกิดขึ้นในความทรงจำ. The Standard. https://thestandard.co/28th-thailand-national-film-association-awards/

โกวิทย์ ขันธศิริ. (2558). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ ปรางค์เจริญ. (2565, 6 สิงหาคม). Chaotic Noises of Silence Rime. Thailand Phil. https://www.thailandphil.com/wp-content/uploads/2022/08/2022-program-TICF.pdf?fbclid=IwAR3ly-ggJaciUuivNOgJ1stqTbxqtXbfMD84LLqNeVtK1z1egttBYNZQR8

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2564). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดอะแบนด์มิวสิคสคูล. (2564, ม.ป.ป.). ดนตรีประกอบภาพยนตร์. https://thebandmusicschool.com/2021/03/21/ดนตรีประกอบภาพยนตร์/

โดม สุขวงศ์. (2555). สยามภาพยนตร์. ลินคอร์น โปรโมชั่น.

ไทย พีบีเอส. (2563, 15 ธันวาคม). เมื่อภาพยนตร์ขาดดนตรีไม่ได้. https://www.thaipbspodcast.com/article/radio/34/เมื่อภาพยนตร์ขาด+“ดนตรี”+ไม่ได้

ธีรเดช แพร่คุณธรรม. (2556). การวิเคราะห์ดนตรีประกอบภาพยนตร์: กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง "ปืนใหญ่ จอมสลัด" ประพันธ์โดยชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. http://ir.swu.ac.th/xmlui/handle/123456789/4065?show=full

ธีรพงศ์ เสรีสำราญ. (2563, 14 พฤษภาคม). 10 บทเพลงบันดาลใจจากภาพยนตร์สู่ดนตรี. beartai. https://www.beartai.com/lifestyle/433976

ปรีชา ปิ่นมาโนช (2562, 3 มีนาคม). สองดีเจคู่หูคู่ซี้สร้างสรรค์สังคมบาบาร่าวาวาร่วมงานออสการ์เมืองไทยสุดยิ่งใหญ่ที่ 1 ของคนไทย “สุพรรณหงส์” รางวัลเกียรติยศแห่งวงการภาพยนตร์ไทย. Todayhighlightnews. https://www.todayhighlightnews.com/2019/03/1_3.html?m=1

ปรวัน แพทยานนท์. (2556). ตัวละครและสไตล์การแสดงในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย : กรณีศึกษาภาพยนตร์ไทยที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์สุพรรณหงส์. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 78-86. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/15169/13911

พงศธร โปษยานนท์. (2560a, พฤศจิกายน). ขั้นตอนการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์โดยละเอียดที่คนทำหนังอย่างคุณควรรู้! (1). Pongsathorn Posayanonth. https://www.pongsathornpmusic.com/single-post/the-process-of-film-scoring-1

พงศธร โปษยานนท์. (2560b, พฤศจิกายน). ขั้นตอนการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์โดยละเอียดที่คนทำหนังอย่างคุณควรรู้! (2). Pongsathorn Posayanonth. https://www.pongsathornpmusic.com/single-post/the-process-of-film-scoring-2

ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. (2548). เสียงในภาพยนตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา วรมิตร. (2555). ดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยระหว่างปี พ.ศ. 2542-2552[ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิทวัส พลช่วย และ เอกราช เจริญนิตย์. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของดนตรีไทยในภาพยนตร์เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3368

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2558). ดนตรีศตวรรษที่ 20. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิระชัย ตั้งสกุล และ ภัทรวดี จันทรประภา. (2547). ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพันธ์ เจริญรัถ. (2561). การทำเพลงประกอบภาพยนตร์และละครโทรทัศน์.http://www.soundstagemag.com/main/index.php/magazinearticles/technology-av-media/1221-2018-10-04-09-14-20

สธน โรจนตระกูล. (2559). ดนตรีนิยม. โอเดียนสโตร์.

อุทัย นิรัติกุลชัย. (2547). ดนตรีประกอบภาพยนตร์ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Wierzbicki, J. (2009). Film music: A history. Routledge.

Kalinak, K. (2013). Film music: A very short introduction. Oxford University Press.

Evans, M. (1975). Soundtrack: The music of the movies. Hopkinson and Blake.

Paris, O. (2018, August 27). Know the score: The psychology of film music. Film Independent. https://www.filmindependent.org/blog/know-score-psychology-film-music/

Thomas, T. (1997). Music for the movies (2nd ed.). Silman-James Press.