สื่อเพื่อเปลี่ยน : เนื้อหาและกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจในคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกของประเทศไทย

Main Article Content

ดำรงค์ นันทผาสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางเนื้อหาและกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจในคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2566 จำนวน 36 คำขวัญ โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ https://ashthailand.or.th/content/lists/94/10 พบว่ากลวิธีทางเนื้อหาของคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำประเทศไทยที่พบมากที่สุด คือ 1. การบอกวิธีการปฏิบัติ 2. การอ้างผลที่เกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติในเรื่องที่รณรงค์ 3. การอ้างความเป็นพวกพ้อง และ4. การอ้างบุคคล ส่วนกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจของคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกประจำประเทศไทยที่พบมากที่สุด คือ 1.กลยุทธ์ของสารด้วยการสร้างอารมณ์ 2.กลยุทธ์ของสารด้วยการสร้างความกลัว 3.กลยุทธ์ของสารด้วยการสร้างเอกลักษณ์  และ4.กลยุทธ์ของสารด้วยการเปรียบเทียบไม่พบกลยุทธ์ของสารด้วยอารมณ์ขัน  นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่ากลวิธีทางเนื้อหาสัมพันธ์กับกลยุทธ์ของสารเพื่อโน้มน้าวใจบางประการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิมา อังคพฺณิชกิจ (2557). การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณัฐนรี ดำรงเลาหพันธ์และกรวรรณ กฤตวรกาญจน์. (2565). ปัจจัยด้านการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจของตัวแทนขายประกันที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารมวลชน. 10(2), 151-171. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/masscomm/article/view/255909

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (ม.ป.ป.). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ : หลักการและหลักปฏิบัติพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัชรีภรณ์ ยุทธนาพงศ์กิตติ สุทธิดาจุลวิเชียร และกนกวรรณ วารีเขตต์ (2563). การศึกษากลวิธีการโน้มน้าวใจจากข้อความบนป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดจันทบุรี พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี (ออนไลน์). 1(1), 61-75.https://so05.tci-thaijo.org/index.php/husorbrujournal/article/view/244496

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. ลำดับเหตุการณ์สำคัญของการควบคุมการสูบบุหรี่ของประเทศไทย. https://www.ashthailand.or.th/about/detail/111/14

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. Theme วันงดสูบบุหรี่โลก. https://www.ashthailand.or.th/content/lists/94/10

ศูนย์ข้อมูลแห่งศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2563). รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล

ศรวนีย์ สวรรคบุรานุรักษ์. (2550). คำขวัญ: กลวิธีการรณรงค์บนพื้นฐานความต้องการของมนุษย์. วรรณนิทัศน์. 7, 168-192. doi.org/10.14456/vannavidas.2007.7

ศรีรัฐ ภักดีรณชิต, ญาณวุฒิ เศวตธิติกุล และอภิรพี เศรษฐรักษ์ ตันเจริญวงศ์. (2560). การวิเคราะห์เนื้อหาสื่อโฆษณารณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ ในโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(2), 102-113. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/111530

David Mothersbaugh and Delbert Hawkins and Susan Bardi Kleiser. (2020). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy. 14th Ed. McGraw-Hill Higher Education.