กลยุทธ์การชักจูงใจของคณะก้าวหน้าผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ

Main Article Content

ชมพูนุท วุฒิมา
กรวรรณ กฤตวรกาญจน์

บทคัดย่อ

การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง กลยุทธ์การชักจูงใจของคณะก้าวหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การชักจูงใจไปยังกลุ่มเป้าหมายของคณะก้าวหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก  โดยศึกษาแบบ Content analysis ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้แก่ ศึกษาข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นผลกระบวนการวางแผนจากวิธีการสื่อสารทางการเมือง เพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองของพรรคโดยมีการศึกษากระบวนการสื่อสารจากเฟซบุ๊ก แฟนเพจ (Facebook Fanpage) ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารทางการเมืองของคณะก้าวหน้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมผ่านแบบบันทึกข้อมูล มาวิเคราะห์เนื้อหาผ่านแนวคิดกลยุทธ์การชักจูงใจ 9 กลยุทธ์ การใช้กลยุทธ์การชักจูงใจของเพจคณะก้าวหน้า ทั้งหมดจำนวน 208 ครั้ง ซึ่งมีการใช้กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการสื่อสาร (Liking) มากที่สุด จำนวน 85 ครั้ง รองลงมาคือ กลยุทธ์การอธิบายรายละเอียดข้อมูล (Explanation) จำนวน 40 ครั้ง และกลยุทธ์ที่ใช้น้อยที่สุดคือ กลยุทธ์การทวงบุญคุณ (Debt) จำนวน 1 ครั้ง ตามลำดับ


นอกจากนี้มีการสื่อสารที่เป็นเอกลักษณะคือมีรายละเอียดที่เป็นเนื้อหาในการให้ความรู้ผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองให้ประชาชนหรือกลุ่มผู้ให้สมาชิกเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้าใจในเหตุการณ์โดยง่ายประกอบการใช้จุดเด่นของเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์คือ เครื่องหมาย #แฮ็ชแท็ก เช่น #คณะก้าวหน้า ในการสื่อสารเพื่อให้เกิดเป็นศูนย์กลางการสื่อสารของพรรคและการแสดงความคิดเห็นของเครือข่ายทางการเมืองบนเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์หวังให้เกิดเป็นกระแสความสนใจของสังคมจากเนื้อหาการสื่อสารทั้ง 2 ส่วน มีลักษณะการส่งสารที่เป็นกิจกรรมทางการเมืองของตัวเองและกิจกรรมของคณะก้าวหน้า โดยสารที่มีการส่งไปถึงกลุ่มประชาชนนั้นมีเนื้อหาที่ชักชวนหรือเชิญชวนการมาเป็นสมาชิกคณะก้าวหน้า ดังนั้นคณะก้าวหน้า จึงได้มีการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่เรียกว่าเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ที่มีประชาชนไทยนิยมใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ก่อนแล้วเพื่อสามารถที่จะลดระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

คณะก้าวหน้า. (2563). คณะก้าวหน้าร่วมสานต่อภารกิจจากอนาคตใหม่. https://progressivemovement.in.th

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ใน หลักและทฤษฎีการสื่อสารหน่วยที่ 9 – 15. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พรรคอนาคตใหม่. (2562). ข้อมูลประวัติพรรคอนาคตใหม่. https://futureforwardparty.org/about-future-forward-party

พฤทธิสาน ชุมพล. (2552). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัททดล เสวตวรรณ. (2564). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 377-388.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. โรงพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กช์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอทรอนิกส์. (2565). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. https://www.etda.or.th/th/Thailand-Internet-User-Behavior-1.aspx

Marwell, G. & Schmitt, D. R. (1967). Dimensions of compliance – Gaining Behavior: An empirical analysis. Sociometry, 30(4), 350-364.

Wiseman, R. L., & SchenckHamlin, W. (1981). A multidimensional scaling validation of an inductively derived set of compliance gaining strategies. Communication Monographs, 48(4), 251-270.