กลยุทธ์การสร้างสรรค์และการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่องานโฆษณา และประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์เพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัล” มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากลยุทธ์การสร้างสรรค์และเทคนิคการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และเพื่อระบุปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลเพื่องานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) คือ นักสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลมืออาชีพ จำนวน 15 คน มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลอย่างน้อย 5 ปี
ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ 1) กลยุทธ์การนำเสนอจุดแข็งของสินค้าโดยตรง 2) กลยุทธ์การสร้างความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 3) กลยุทธ์การสร้างจุดเด่นเชื่อมโยงกับตัวสินค้า 4) กลยุทธ์การอิงกับคู่แข่งขัน 5) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และ 6) กลยุทธ์การเล่นกับกระแส ในส่วนของเทคนิคการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ เทคนิคก่อนการผลิตสื่อ และ เทคนิคระหว่างการผลิตสื่อ โดยเทคนิคก่อนการผลิตชิ้นงานนั้นมีอยู่ 3 เทคนิค ประกอบด้วย 1) ทักษะการวิเคราะห์ (Analysis Skill) 2) ความเข้าใจในงานออกแบบ (Design Understanding) และ 3) ศึกษาศิลปะเพื่อสุนทรียภาพ (Art for Aesthetics) ส่วนเทคนิคระหว่างการออกแบบ มี 6 เทคนิค ประกอบด้วย 1) การใช้สัญลักษณ์ (Symbolism) 2) ความเรียบง่าย (Simplicity) 3) การผสมผสาน (Integration) 4) หลักความแตกต่าง (Contrast) 5) เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริง (3D) และ 6) สมัยนิยม (Trends)
สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างสรรค์และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ได้แก่ 1) การพัฒนาความรู้ ความสามารถ (Knowledge and Competence Development) 2) การสร้างตัวตน (Identity) 3) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี (Connection) 4) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) และ 5) รสนิยมที่ดี (Taste)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธ์ที่ผู้เขียนบทความต้องยอมรับ
References
โกสุม สายใจ. (2537). การออกแบบนิเทศศิลป์ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
จุฑารัตน์ บันดาลสิน. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 9-17.
ชาตรี บัวคลี่. (2557). แนวคิดการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลหลังสมัยใหม่. วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์Veridian, 7(3), 247-258.
ณัตพร วรคุณพิเศษ. (2556). การพัฒนาสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไตรสิทธิ์ อารีย์วงศ์. (2552). ความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาไทย [ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทักษิณา สุขพัทธี. (2559). แนวคิดกราฟิกเพื่อการสื่อสาร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 6(2), 163-180.
ไทยรัฐออนไลน์. (2556, 29 เมษายน). การพัฒนาสุนทรียภาพ (Aesthetics).https://www.thairath.co.th/content/341567.
ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน. (2558). Marketing is King. วารสารราชดำเนิน, 29, 7-11.
ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2562). 7 ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ. Marketeeronline. https://marketeeronline.co/archives/91062
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2562). คุณลักษณะนักออกแบบสื่อในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(3), 1-10.
ปรีชา บิณมานันท์. (2562). กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล. ข่าวเด่นวันนี้. http://www.todayhighlightnews.com/2019/02/pr-communication.html
พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์. (2558). จากมติชน เดลินิวส์ ถึง เนชั่น ทุนรุกคืบ บนความเปราะบางของธุรกิจสื่อ. วารสารราชดำเนิน, 29, 26-27.
พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). ทฤษฎีการออกแบบ. กรุงเทพฯ: อินทนิล
พิชญา นิวิตานนท์. (2557). แนวทางการคิดสร้างสรรค์โฆษณาในสื่อดิจิทัล [นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชากร บำรุงวงค์. (2559). การสร้างสรรค์แสงเพื่อการสื่อสารในบริบทของงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตรและการสื่อสาร, 11(1), 173-189.
วุฒิไกร พิมพขันธ์ และคณะ. (2564). การออกแบบและพัฒนาสื่อแอนิเมชั่น 3 มิติเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกการอนุรักษ์ช้างไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีวิทยาลัยเซาธอีสทบางกอก, 1(1), 53-64.
วิชนาถ ทิวะสิงห์ และคณะ. (2554). ความแตกต่างด้านการรับรู้บรรจุภัณฑ์: กรณีศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของเล่นที่ดึงดูดใจเด็กและการตัดสินใจซื้อ
ของผู้ปกครอง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1(1), 83-98.
วิทวัส รุ่งเรืองผล (2558, 13 พฤศจิกายน). กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง : ต้องแตกต่างแค่ไหนจึงจะเพียงพอ. https://www.sbdc.co.th/knowledge/article/81/
วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตพันธ์ และ ศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2559). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภายใต้สื่อสังคมออนไลน์.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทริน์เอเชีย, 6(1), 21-31.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21, 29- 40.
ศิโรช แท่นรัตนกุล. (2564). กลยุทธ์การสร้างสรรค์งานโฆษณาของนักโฆษณามืออาชีพ. วารสารการสื่อสารมวลชน, 9(2), 162-185.
สุภาพร สุขเกษม. (2558). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับหอเฉลิมพระเกียรติฯ ออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรับรู้ศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ [ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
โสรชัย นันทวัชวิบูลย์. (2545). BE GRAPHIC สู่เส้นทางกราฟิกดีไชเนอร์. บริษัทพิมพ์ดี จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการ
วุฒิสภา.
อริสรา ไวยเจริญ. (2558). การโฆษณากับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 9(1), 11-35.
แอนนา จุมพลเสถียร. (2559). พัฒนาการและแนวโน้มของอุตสาหกรรมการโฆษณาในประเทศไทย. วารสารศาสตร์, 9(3), 149-192.
Amabile, T.M. (1999). How to kill creativity. In Harvard Business Review on BreakthroughThinking. Boston, MA: Harvard Business School
Press, pp.1-28.
Belch, G. E. and Belch, M.A. (1995). Introduction to Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. Boston, Mass: Richard D. Irwin, Inc.
Edittrick. (2563, July 22). ทฤษฎีการออกแบบกราฟิก Contrast หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญ สำหรับนักออกแบบและนักวาดภาพประกอบ. https://edittrick.com/ทฤษฎีการออกแบบกราฟิก-contrast/
Frazer, C. F. (1983). Creative strategy: A Management Perspective. Journal of Advertising, 12(4), 36-41.
Smith., R. (2013). What is digital media? The Center for Digital Media.[The Master of Digital Media program]. http://thecdm.ca/news/faculty-news/2013/10/15/what-is-digital-media.