อิทธิพลของแรงจูงใจ พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจต่อ แอปพลิเคชัน Viu ที่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อรจิรา เจริญพานิช
วีรพงษ์ พวงเล็ก

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน Viu ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับชมแอปพลิเคชัน Viu ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชัน Viu ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาแรงจูงใจ พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน Viu ที่ร่วมทำนายความตั้งใจท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม G*Power ในการคำนวณเพื่อกำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple linear regression) คำนวณได้ตัวอย่างที่เหมาะสมจำนวน 119 คน แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลกับขนาดตัวอย่าง จำนวน 210 คน เพื่อให้มีความคลาดเคลื่อนที่น้อยลง
ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน Viu ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านที่มากที่สุดคือ แรงจูงใจด้านการผ่อนคลาย 2) พฤติกรรมการเปิดรับชมแอปพลิเคชัน Viu ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างส่วนใหญ่ความถี่ในการใช้งานโดยเฉลี่ย 2-3 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้งานต่อครั้ง 120 นาทีหรือ 2 ชั่วโมง และส่วนใหญ่ใช้งานช่วงเวลา 20:01-24:00 น. โดยเปิดรับชมประเภทซีรีส์แฟนตาซี/สยองขวัญ ละครย้อนเวลา สูงที่สุด 3) ด้านความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชัน Viu ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ความพึงพอใจด้านความบันเทิงสูงที่สุด 4) จาก           


               ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการเปิดรับแอปพลิเคชัน Viu สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ได้ร้อยละ 9.4 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .307 ซึ่งตัวแปรพฤติกรรมการเปิดรับแอปพลิเคชัน Viu และตัวแปรความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน Viu ไม่ส่งผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ โดยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ ได้แก่ แรงจูงใจด้านความอยากรู้อยากเห็นและแรงจูงใจด้านประโยชน์ในการใช้สอย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ยศนันท์. (2564). อิทธิพลของแรงจูงใจ พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อแฟนเพจ “ติดโปร” ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่อง

ใช้ไฟฟ้าในบ้านผ่านช่องทางอี-คอมเมิร์ซของสมาชิกแฟนเพจ “ติดโปร” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กมัยธร ริ้วพันกุล. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Netflix ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. บริษัท ธรรมสารจำกัด.

ความหมายและประเภทของแอพพลิเคชั่น. (ม.ป.ป.). https://sites.google.com/site/psupattar475/khwam-hmay-laea-prapheth-khxng-xaeph-

phli-khechan

ณัฐพล ม่วงทำ. (2565, 16 กุมภาพันธ์). สรุป 52 Insight สำคัญจาก Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/insight-thailand-digital-stat-2022-we-are-social/

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2554). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียร์สโตร์.

ลงทุนแมน. (2563, 26 เมษายน). VIU อาจเป็นคู่แข่งของ Netflix ในไทย. https://www.longtunman.com/22735

วรรณศิริ สิทธินิสัยสุข. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล. (2565, 21 กุมภาพันธ์). ถอดรหัสความสำเร็จของ Soft power จากเกาหลีใต้. https://www.

ditp.go.th/contents_attach/762578/762578.pdf

อาภาภัทร บุญรอด. (2563, 10 มิถุนายน). พฤติกรรมการใช้สื่อของคนไทยหลังโควิด –19. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/125307

สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2565, 16 มิถุนายน). KTC เผยพฤติกรรมนักท่องเที่ยวหลังโควิคเน้นเที่ยวนอกเมือง-กลุ่มเล็กลง. https://www.

infoquest.co.th/2020/208820.

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences (Rev. ed). Academic.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. Harper & Row.

Griffin, R. W. (1999). Management. Houghton Miffin.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson.

Howard, J. A. (1994). Buyer behavior in marketing strategy. Prentice Hall.

Klapper, J. T. (1960). The Effects of Communication. Free Press.

Mcleod, J. M. & O’Keefe, G. J., jr. (1972). The socialization perspective and communication behavior. In F. Gerald Kline and Phillip J.

Tichenor (ed.), Sage annual reviews of communication research: Vol. 1. Current perspective in mass communication research, (pp.121-168). Sage.

McQuail, D. (1987). Mass communication theory: An introduction (2nd ed.). Sage.

Munro, B. H. (1997). Statistical methods for health care research (3rd ed.). Raven.

OTT TV. (n.d.). การเติบโตของธุรกิจ OTT TV. https://www.infoquest.co.th/thailand-media-landscape-2021/ott-tv

Samuels, F. (1984). Human needs and behavior. Schnenkman.

Tharanya. (2559, 24 พฤศจิกายน). รู้จักกับ VIU Thailand บริการดูซีรีส์เกาหลี เปิดตัวในไทยตอนไหน ค่าบริการเท่าไหร่!?. mangozero. https://www.mangozero.com/what-you-should-know-about-viu-thailand/

Viu. (n.d.). About Viu. https://hq.viu.com/

Won, J., & Kim, B. (2020). The Effect of consumer motivations on purchase intention of online fashion - sharing platform. https://

doi.org/10.13106/jafeb.2020.vol7.no6.197.dw