การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชนาพร พัฒนเลิศรัตนไชย
วีรพงษ์ พวงเล็ก

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาความสามารถของการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ความรู้และทัศนคติในการร่วมกันทำนายแนวโน้มพฤติกรรมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างที่ศึกษาเป็นกลุ่มบุคคลทั้งเพศชาย เพศหญิง และ LGBTQ+
ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไปจนถึง 60 ปีขึ้นไป ที่รู้จักการดูแลสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และเพื่อให้งานวิจัยมีความสามารถในการอ้างอิงไปยังประชากรเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดตัวอย่างเพิ่มโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ Yamane (1976) โดยกำหนดระดับความน่าเชื่อมั่น 95% และขนาดความคลาดเคลื่อนที่ 5%ดังนั้นตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย จึงมีจำนวน 400 คน และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยมีขั้นตอนได้แก่ การเลือกตัวอย่างแบบชั้น (Stratified Random Sampling) และการเลือกตัวอย่างแบบจับสลาก
               ผลการวิจัย พบว่า การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและทัศนคติที่เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมกันทำนายแนวโน้มพฤติกรรมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครได้ โดยสร้างเป็นสมการทำนายคือ Y (พฤติกรรมที่มีต่อการดูแลสิ่งแวดล้อม) = .108 + .52 (ทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อม) + .17 (การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อม) ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเปิดรับสื่อได้ร้อยละ 32.8 และมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .573 และการที่ตัวอย่างมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่ไม่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมได้อาจเป็นเพราะงานวิจัยนี้เก็บข้อมูลในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ตัวอย่างมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรในครั้งเดียวทิ้งเพื่อปกป้องตนเองจากโรคโควิด-19

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤดา ศรีสมวงศ์ และ ลีลา เตี้ยงสูงเนิน. (2560). ทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ อัจฉริยะประเภท Smartphone ในต่างประเทศของผู้ใช้บริการชาวไทย[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2562). Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ทุกคนควรรู้. ปทุมธานี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-2020-05-15_06-33-35_034969.pdf

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม. (2563). เกาะติดปัญหาขยะพลาสติก หลังโควิด-19 ระลอกใหม่. https://infotrash.deqp.go.th/knowledge/62

กัลยา วานิชย์บัชชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐกานต์ มูลประเสริฐ. (2562). การเปิดรับสื่อความรู้และทัศนคติต่อ ไมโครพลาสติกปนเปื้อนและพฤติกรรมการซื้ออาหารทะเลของผู้บริโภคชาวไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐพล ม่วงทำ. (2565). สรุป 52 Insight สำคัญจาก Thailand Digital Stat 2022 ของ We Are Social. https://www.everydaymarketing.co/trend-

insight/insight

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2565). สถิติใช้ดิจิทัลทั่วโลก คนไทยเป็นอันดับต้นหลายด้าน.https://www.bangkokbiznews.com/columnist/988063

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). (2561, 15 มกราคม). สิ่งแวดล้อมน่ารู้. สืบค้นจาก http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/

detail/9373

ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางการป้องกันแก้ไขที่ดี. (2561, 15 มกราคม). สิ่งแวดล้อมน่ารู้. http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/

detail/9373

ปิยภา เชาว์ประสิทธิ์ และ ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์. (2561). ทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางโซเชียลมีเดียของผู้บริโภคเพศหญิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. http://commartsreview.siam.edu/2017/images/review/year17-vol22/year17-vol22-15.pdf

พิจิตรา มงคลศรีพิพัฒน์. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์โครงการเที่ยวไทยเท่ กับพฤติกรรมการตัดสินใจท่อง

เที่ยวไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรลดา ลีลาสุนทรวัฒนา (2552) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความรู้ของผู้บริโภคด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้ารักษาสิ่งแวดล้อม

ภาคิน เนาวรัตโนภาส. (2561). การรู้ความเข้าใจ ความคาดหวัง ทัศนคติ และพฤติกรรมในการใช้สื่อโทรทัศน์และเฟซบุ๊คในกลุ่มเจเนอเรชันวาย.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภวรัญชน์รัตน์ ภู่วิจิตร์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน กับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมโลกร้อนของนิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทัตเทพ จันทรเมธีกุล และ สมัชชนันท์ เอกปัญญากุล. (2565). อิทธิพลของการเปิดรับและทัศนคติต่อแฮชแท็กซีรีส์บนทวิตเตอร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับชมซีรีส์ไทยของกลุ่ม Generation Y แล Z. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article%20/view/253690%20/171605

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณ. (2549). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์รัตนไตร

มาโนช พรหมปัญโญ และ ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2558). ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจและทัศนคติที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว วัดในอำเภอพระนครศรี อยุธยา. https://tourismtaat.siam.edu/images/magazine/m10b1/43-58.pdf

รักเกียรติ พันธุ์ชาติ. (2560). สื่อสังคมออนไลน์ : แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานรัฐ

วรรณรัชต์ แรงจริง. (2562). การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและทัศนคติ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีส่วนผสมแตกต่างกันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิวรรธน์ ทองงามขำ. (2562). การเปิดรับสื่อและทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสวมเครื่องแบบของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (มปป). สถานการณ์การปล่อยก๊าซ CO2. http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situation-co2/per-year?orders[publishUp]=publishUp&issearch=1

ศุภกาญจน์ วิชานาติ. (2561). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences,

(1),12-35

ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ และ บุณฑริก ศิริกิจจาขจร. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. BU Academy Review 9. ฉบับพิเศษ

อัจฉรา แซ่เฮ้ง. (2561). ความรู้ความสามารถในการถ่ายทอด การติดต่อสื่อสาร และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของพนักงาน บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อัจศรา ประเสริฐสิน, อุไร จักษ์ตรีมงคล, กาญจนา ตระกูลวรกุล, อมารา วิสูตรานุกูล และ ดวงเนตร ธรรมกุล. (2559). การพัฒนาและตรวจสอบโมเดลอิทธิพลของความรู้ที่มีต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุข ของนักเรียน โดยมีเจตคติเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นตัวแปร ส่งผ่าน. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/68808/56015

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Annika M.W., Daria K. and Sebastian, B. (2022). When and how pro-environmental attitudes turn into behavior: The role of costs, benefits, and self-control. From https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S0272494421002012

Becker, S. L. & Choi, H. C., (1987). Media Use Issue / Image Discriminations and Voting Communication Research. n.p.

Bill G. (2021). How to avoid a climate disaster. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

Chin-Chung, T. (2020). Empirical study of knowledge with holding in cyberspace: Integrating protection motivation theory and theory of reasoned behavior. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/ S0747563219304480

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences (Rev. ed). New York: Academic.

Eagly, A,. H., & Chaiken, S. (1993). The psychology of attitude. New York: Harcourt Brace Joranovich College Publishers.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.

Kelman, H.C. (1967). Attitude change in compliance, identification, and internalization: Three process of attitude change. New York.

NY: John Wiley & Sons.

McLeod, J. M., & O’ Keefe, G.J. (1972). Mass Communication Research. London. Sage Publication.

Rahul V. & Shreyas, S. (2014). Does Media Exposure Affect Voting Behaviour and Political Preferences in India?. https://www.jstor.org/ stable/24480739

Tobias Greitemeyer. (2016). Effects of Prosocial Media on Social Behavior:When and Why Does Media? Exposure Affect Helping and Aggression? https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0963721411415229

Triandis, H. C. (1971). Attitude and Change. New York: Wiley.

William Y., Sally V.R., Chery A.R. & Ralf B. (2017). Can social media be a tool for reducing consumers' food waste? A behaviour change experiment by a UK retailer.https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0921344916303160

Yamane T.D. (1976). Statistic: An introductory analysis (2nd ed.) New York: Harper and Row.