ภาพลักษณ์ด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ (New Normal) จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศิโรช แท่นรัตนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ (New Normal) และเพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อมาตรฐานด้านสุขลักษณะและความปลอดภัยของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ รวมถึงเพื่อทดสอบอิทธิพลของคุณลักษณะที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ยและสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ (New Normal) ในมุมมองผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง  โดยความคิดเห็นที่มีต่อมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการและความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ รวมถึงมาตรฐานการให้บริการของสถานประกอบการนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ทั้ง 3 คุณลักษณะ อยู่ในระดับปานกลาง


ส่วนผลการทดสอบอิทธิของคุณลักษณะที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยเพื่อสุขภาพในยุควิถีปกติใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มี 2 คุณลักษณะที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมนวดไทยในยุควิถีปกติใหม่ คือ มาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ และ มาตรฐานความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ  โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ คิดเป็นร้อยละ 20.30

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ พุ่มทอง. (2559). โรคเบาหวานและการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดด้วยการนวดไทย. วารสารหมอยา

ไทยวิจัย. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559).

กานดา ธีระนนท์. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย: สถานการณ์และศักยภาพทางการ

แข่งขันในภูมิภาคอาซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. ปีที่ 12 ฉบับ (Supplement). 22-34.

คมชัดลึกออนไลน์. (2562). “มรดกโลก” ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การการศึกษา

วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565, (https://www.komchadluek.net/scoop/405841)

จิตกร วิจารณรงค์, (2564). การจัดการท่องเที่ยวไทยในยุค NEW NORMAL. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์

ปริทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 10(4), 372-381

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). นวดแผนไทยกระอัก เจ๊ง 50% เคยเฟื่องฟู 3 หมื่นล้าน รัฐเข้มเมินช่วย.

สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2565, (https://www.thairath.co.th/scoop/1864659)

ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง และ จินตนา เลิศสกุล. (2564). ความต้องการของตลาดและศักยภาพการรองรับ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 6, หน้า 77-93.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ . (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:

สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธนพงษ์ ร่วมสุข และ พรธิภา องค์คุณารักษ. (2564). กรณีศึกษาการจัดการความเสี่ยงในธุรกิจสปาและนวด

เพื่อสุขภาพเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่. วารสาร

สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 , หน้า 34-51.

ธนิต จึงดำรงกิจและศรีดารา ติเพียร. (2564). เปิดโมเดลร้านนวด-สปา ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565,

(https://www.dpu.ac.th/research/8)

ผกากรอง เทพรักษ์. (2564). โควิดระลอก 3 ทำสปา นวดแผนไทย ร้านเหล้า โรงแรม ปิดกิจการมากที่สุด.

สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565, (https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6480621)

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2565). การจัดการแบบ New Normal ต่อการพัฒนาธุรกิจร้านนวดสปาไทยในจังหวัด

นนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม 2565), หน้า 476-494.

พลแก้ว วัชระชัยสุรพล และ อัญชญา ดุจจานุทัศน์. (2563). การพัฒนารูปแบบบริการนวดไทยในสถาน

ประกอบการเพื่อสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1. มกราคม - เมษายน 2563. หน้า 33-43.

ภักดี กลั่นภักดีและคณะ. (2563). การพัฒนาธุรกิจสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพระดับสากลในประเทศ

ไทยสู่ความยั่งยืน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 29 ฉบับที่ 6. พฤศจิกายน - ธันวาคม 2563.

รัชนี จันทร์เกษ. (2556). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และ

การแพทย์ทางเลือก ๒๕๕๔-๒๕๕๖. สำานักข้อมูลและประเมินผล กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ

การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.

ศิริวรรณ วรรณศิริ. (2564). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจสปาไทยและนวดเพื่อสุขภาพช่วงเวลาวิกฤต

โควิด. สารนิพนธ์. การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ศิโรช แท่นรัตนกุล. (2564). การบริหารงานสื่อสารเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของอุตสาหกรรมการ

ท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ(Wellness) ในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชาญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). อุตสาหกรรมสปาและนวดแผนไทย. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน

, (https://www.pier.or.th/forums/2020/12/spa-and-thai-massage/)

สุเนตรตรา จันทบุรี. (2559). โอกาสและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจสปาและนวดแผนไทย. วารสาร

เกษมบัณฑิต. 17(2), 49-63.

ห้องข่าววาไรตี้, 2564. รายงานพิเศษ : ธุรกิจนวดแผนไทยยังซบเซา จ.เชียงใหม่. สิบค้นวันที่ 30 สิงหาคม

, (https://news.ch7.com/detail/467898).

อมราวดี ไชยโยและเมทนี มหาพรหม. (2563). การจัดการภาวะวิกฤตของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย

ภายใต้วิกฤตการณ์ COVID-19. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 14 ฉบับที่ 3, หน้า 685-700.

Chen, C. F. and Tsai, D. (2007). How Destination Image and Evaluative Factors Affect Behavioral

Intentions? Tourism Management, 28(4): 115-1122.

George, D. &Mallery,P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and

reference. 11.0update.4th ed. Boston: Allyn & Bacon.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R. & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis.

th ed. New Jersey: Pearson Education.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2004). Principles of Marketing (10th ed). Upper saddle River, NJ:

Pearson Education.

Lakkana Choojai. (2564). ความหวังทางรอดของธุรกิจสปาในยุคโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565,

(https://spatown.shop/knowledge/spa-business-hope-covid19)

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. 2nd ed. New York : McGraw-Hill. Officeof the

Registrar ChiangMai Rajabhat University. (2019). Strategic Plan Chiang.

Oppermann, M. (2000). Tourism Destination Loyalty. Journal of Travel Research, 39: 78–84.

Rebecca Webb. (2018). 6 Ways to Manage Reputational Risk. RISK MANAGEMENT BLOG –

CLEARRISK, สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565, (https://www.clearrisk.com/risk-management-blog/manage-reputation-risk-0-0).

Vanichbuncha, K. (2011). Advanced Statistical Analysis with SPSS. 9th ed. Bangkok:

Dharmasarn Printing.

World Economic Forum. (2015). The travel & tourism competitiveness report. Geneva: World

Economic Form.