บทบาทของเนื้อหาจากโทรทัศน์ไทยที่มีต่อสื่อโทรทัศน์และผู้รับสาร ในสปป.ลาว

Main Article Content

เจษฎา ศาลาทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องบทบาทของเนื้อหาจากโทรทัศน์ไทยที่มีต่อสื่อโทรทัศน์และผู้รับสารในสปป.ลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเนื้อหาจากโทรทัศน์ไทยที่มีต่อสถานีโทรทัศน์ในสปป.ลาว และศึกษาการเปิดรับและทัศนคติต่อเนื้อหาจากโทรทัศน์ไทยของผู้รับสารลาว ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยศึกษากลุ่มผู้ส่งสาร ได้แก่ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวของรัฐและสถานีโทรทัศน์ลาวสตาร์ของเอกชนผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับตัวแทนของสถานีรวม 3 คน และศึกษากลุ่มผู้รับสารซึ่งได้แก่ นักศึกษาภาคสื่อสารมวลชน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
ผ่านแบบสอบถาม (Questionnaire) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษาพบว่า โทรทัศน์ยังคงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลในสปป.ลาว ในส่วนของสถานีโทรทัศน์เนื้อหาจากไทยที่ไม่ใช่ข่าวสาร (Non-News) มีบทบาทและอิทธิพลต่อสถานีโทรทัศน์ลาวสตาร์ ซึ่งเป็นสถานีเอกชนในรูปแบบของการเป็นแหล่งอ่างอิง (Reference) และแรงบันดาลใจในการผลิตเนื้อหาของสถานี และการเปิดให้ผู้ผลิตจากไทยมาเช้าช่วงเวลาของสถานี โดยจะต้องไม่ขัดกับอัตลักษณ์ของลาวตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทั้ง 2 แนวทางได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ชมชาวลาว ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาในส่วนของผู้รับสารที่ระบุว่าชื่นชอบเนื้อหาจากโทรทัศน์ไทยจากการรับชมโดยตรงผ่านทางโทรทัศน์ดาวเทียมและสื่อออนไลน์ เนื่องจากเนื้อหาที่มีความหลากหลายและแตกต่างจากโทรทัศน์ของลาว ซึ่งถึงแม้ว่าผู้รับสารกลุ่มนี้จะมีความระมัดระวังในการบริโภคเนื้อหาบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของลาวแต่ก็ยอมรับถึงอิทธิพลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและค่านิยมที่ได้รับจากการบริโภคเนื้อหาจากสื่อโทรทัศน์ไทย ซึ่งนี่สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการขยายพลังอ่อน (Soft Power) ของไทยอย่างสร้างสรรค์ในสปป.ลาว โดยจะต้องคำนึงถึงอัตลักษณ์และบริบทของลาวเป็นสำคัญด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรชนก รักษาเสรี. (2559). กฎหมายดิจิทัล ความมั่นคงและสงบเรียบร้อย เหตุผลหลักควบคุมอินเทอร์เน็ตในประเทศอาเซียน.สืบค้นเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม 2560 จาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content
2. ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี. (2555). ส่องระบบสื่อมวลชนในลาว-เติบโตแต่ไม่ตูมตาม. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 จาก http://www.thairath.co.th/content/229824
3. ไทยรัฐออนไลน์. (2558). ส่องดัชนีสื่อไทย-เพื่อนบ้าน ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 จาก http://www.thairath.co.th/content/544970
4. ไทยรัฐออนไลน์. (2555). สำรวจสื่ออาเซียน เมื่อสื่อพลเมืองเริ่มรุกคืบ. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2560 จาก http://www.thairath.co.th/content/304538
5. ไทยรัฐออนไลน์. (2555). ส่องระบบสื่อมวลชนในลาว เติบโตแต่ไม่ตูมตาม. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560 จาก http://www.thairath.co.th/content/229824
6. วิภา อุตมฉันท์. (2544). ผลกระทบของสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนระหว่างไทย-ลาว ทัศนคติของผู้รับสารและผลกระทบที่เกิดจากสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ข้ามพรมแดนไทย-ลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์.
7. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2557). สื่อมวลชนยุคประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 จาก www.tja.or.th/index.php?option=com_rokdownloads&view=file...id...
8. สุภาพร คงศิริรัตน์. (2548). การศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ของลาวจากวรรณกรรมแบบเรียน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 จาก http://www.human.nu.ac.th/jhnu/file/journal/2011_02_01_11_35_26-02-02-07.pdf
9. สุรินทร์ ยิ่งนึก. (2554). เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ความเหมือนและความต่างที่ต้องใช้ให้ถูกต้อง. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 จาก https://www.gotoknow.org/posts/450615
10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาสื่อมวลชนอาเซียน. (2556). วางทิศทางสื่ออาเซียน แลกเปลี่ยนข้อมูลให้รูจักกัน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 จาก https https://www.เฟซบุ๊ก.com/aseanudon/posts/ 492841564156686
11. Havas River Orchid. (2559). สื่อยอดนิยมคน CLMV. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560 http://marketeer.co.th/archives/88935
12. Phatchampa, Boungneun. หัวหน้าแผนกข่าวสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว. สัมภาษณ์, 20 กุมภาพันธ์ 2560.
13. Scholte, J. A. (2005). Globalization: A Critical Introduction (2nd ed.). New York: MacMillan.