การสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรคโดยใช้การเล่าเรื่องด้วยสื่ออินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

สิโรดม มณีแฮด
สรัญญา เชื้อทอง

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารสุขภาพโดยใช้การเล่าเรื่องด้วยสื่ออินโฟกราฟิก โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทในสื่ออินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19 จำนวน 31 เรื่องของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข     


            ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบของสื่ออินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ สัญรูป แผนภูมิภาพ การ์ตูน ภาพถ่าย สีวรรณะเย็น และสีวรรณะร้อน  ส่วนการเล่าเรื่องด้วยสื่ออินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19 นั้นประกอบไปด้วยโครงเรื่อง แก่นเรื่อง สัญลักษณ์ และตัวละคร     


            นอกจากนี้ การสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรคโดยใช้การเล่าเรื่องด้วยสื่ออินโฟกราฟิกในสถานการณ์โควิด-19 มีวาระทางสุขภาพที่ถูกนำมาเผยแพร่ ได้แก่ วาระสุขภาพด้านการให้ข้อมูลทั่วไป ด้านการส่งเสริมให้รับรู้ปัจจัยเสี่ยง ด้านการสร้างความตระหนัก ด้านส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และด้านการเปิดรับฟังความคิดเห็น      
           

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่องการสื่อสารชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
โคทม อารียา. (2552). แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ. ใน ปาจรีย์ ธนะสมบูรณ์กิจ (บก.). สื่อสารด้วยใจได้สุขภาพดี. (น. 63-70). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ทรงยศ พิลาสันต์, อินทิรา ยมาภัย, สุธาสินี คำหลวง, ชุติมา คำดี, ธนพร บุษบาวไล, พิศพรรณ วีระยิ่งยง, และคณะ. (2559). เติมเต็มช่องว่างทางความรู้เพื่อนำไปสู่ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์: ทางเลือกงานวิจัยด้านสุขภาพในอนาคต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 10(3), 215-229.
ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ. (2562). ระบบ หน้าที่และบทบาทสื่อมวลชน. ใน กรรพุม บุญทวี (บก.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน. (น. 53-104). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. (2560). บทบาทของการสื่อสารอินโฟกราฟิกต่อสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 11(2), 145-179.
ดรัลพร ดำยศ และธาตรี ใต้ฟ้า. (2559). การประชาสัมพันธ์เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นหลังเกิดภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9(1), 107-126.
บดินทร์ เดชาบูรณานนท์. (2560). การสื่อความหมายผ่านการเล่าเรื่องของโฆษณาผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับผู้ชายทางโทรทัศน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(48), 231-249.
ปาจรีย์ ธนะสมบูรณ์กิจ. (2552). บทนำ. ใน ปาจรีย์ ธนะสมบูรณ์กิจ (บก.). สื่อสารด้วยใจได้สุขภาพดี. (น. 4-7). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ปิยพงษ์ ราศรี และนฤมล เทพนวล. (2560). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกวิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(2), 284-290.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://ddccenter.ddc.moph.go.th/infoc/download/201902271551253282_52-DDC.pdf.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง โครงสร้างและการจัดหน่วยงาน อำนาจหน้าที่ และสถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของกรมควบคุมโรค. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://ddccenter.ddc.moph.go.th/infoc/download/201903251553484393_T_0002.PDF.
วิมล โรมา. (2561). การสื่อสารสุขภาพยุคใหม่: การสื่อสารสำคัญต่อสุขภาพอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/Health%20Communication.pdf.
สืบศิริ แซ่ลี้. (2559). การออกแบบสติกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงอัตลักษณ์ของภาคอีสานตอนเหนือ กรณีศึกษาสัญลักษณ์ประจำจังหวัด. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 108-118.
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพเทคนิคการนำเสนอด้วยรูปแบบ Infographic. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ภาษาอังกฤษ
Balint, K. E., & Bilandzic, H. (2017). Health Communication Through Media Narratives: Factors, Processes, and Effects. International Journal of Communication, 11(1), 4858–4864.
Fulton, H., Huisman, R., Murphet, J., & Dunn, A. (2005). Narrative and Media. New York: Cambridge University Press.
Lankow, J., Ritchie, J., & Crooks, R. (2013). Infographics: The Power of Visual Storytelling. New York: John Wiley & Sons.
Smiciklas, M. (2012). The Power of Infographics: Using Pictures to Communicate and Connect with Your Audience. Indiana: Que Publishing.
Tukachinsky, R., & Tokunaga, R. S. (2012). The effects of engagement with entertainment. Communication Yearbook, 37(1), 287–321.