การสร้างและประยุกต์ใช้สื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

สิริวิวัฒน์ ละตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาอินโฟกราฟิกแนะแนวทางในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 2 โรงเรียน คือโรงเรียนผดุงนารีและโรงเรียนมหาสารคามพิทยาคม รวมจำนวน 120 คน ได้มาด้วยวิธีการการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ใช้ประกอบไปด้วยสื่ออินโฟกราฟิกแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามและแบบประเมินประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิกที่พัฒนาขึ้น โดยมีสถิติที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีขนาดที่ใช้คือ A2 และผ่านคุณภาพการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน  3 ท่านซึ่งได้ผลการประเมินคุณภาพเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก(= 4.77)  2) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 120 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 18 ปี และมีเขตพื้นที่ของโรงเรียนที่ศึกษาอยู่ในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม เรียนแผนการเรียนวิทย์-คณิต รองลงมาคือ ศิลป์-ภาษา เกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.01-3.50 และมากกว่า 3.50 โดยส่วนใหญ่ใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางในการรับสื่อทางการศึกษา 3) การประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.69 - 4.23


            นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนที่เรียนในแผนการเรียนที่แตกต่างกัน มีการประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรวม และการประเมินว่าสัญลักษณ์ในสื่ออินโฟกราฟิกสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นนั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มแผนการเรียนศิลป์-ภาษาให้ระดับการประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยรวมโดยเฉลี่ยมากกว่า กลุ่มแผนการเรียนอื่น ๆ และกลุ่มแผนการเรียนวิทย์-คณิตให้ระดับการประเมินว่าสัญลักษณ์ในสื่ออินโฟกราฟิกสามารถทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นโดยเฉลี่ย มากกว่ากลุ่มแผนการเรียนศิลป์-ภาษา


            และยังพบว่า ช่องทางในการรับสื่อทางการศึกษาแตกต่างกันมีการประเมินประสิทธิภาพสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อแนะแนวการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รายด้าน ได้แก่ สื่ออินโฟกราฟิกมีความสวยงาม การจัดเรียงเนื้อหาและภาพกราฟิกในสื่ออินโฟกราฟิกมีความเหมาะสม เนื้อหาที่นำเสนอและภาพกราฟิกในอินโฟกราฟิกมีความสมดุลกันและสีสันของอินโฟกราฟิกสามารถดึงดูดความสนใจให้เข้ามาอ่านเนื้อหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กนกรัตน์ บุยไชโย. (ม.ป.ป.). โปรแกรม Adobe photoshop. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.http://webquest.kanokrat
.info/?page_id=1245
กฤษดา ผ่องเกตุ และคณะ. (2556). โปรแกรมสำหรับสร้างงานกราฟิก. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.
http:// pycknokmiu.blogspot.com/2013/09/adobe_illustrator.html.
กิติวัฒน์ ติจินดา. (2560). การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก. 28 มิถุนายน 2560. http://www.northbkk.ac.th
/research/themes/downloads/abstract/1506312170_abstract.pdf
คณิศร์ จับจิตต์. (2559). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน).
จงรัก เทศนา. (2557). อินโฟกราฟิก (Infographics). แปล สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561. http://www.thinkttt.com/wp-content/uploads/2014/04/how_to_infographics-2.pdf
ชเนศ รัตนอุบล . (2553). การประชาสัมพันธ์ตลาดบางหลวงด้วยสื่อสิ่งพิมพ์กราฟิก. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา.
ชฎาลักษณ์ ปาลี. (2551). ความต้องการบริการแนะแนวในโรงเรียนของผู้บริหารคณะกรรมการสถานศึกษา ครู
ผู้ปกครอง และนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนบ้านปงตา อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าแบบอิสระ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เธียรทศ ประพฤติชอบ. (2557). Infographic นวัตกรรมสายพันธุ์ใหม่. วารสาร TPA NEWS. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
นภัสวัณจ์ ศักดิ์ชัชวาล. (2553). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยว
ภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤมล ถิ่นวิรัตน์. (2555). อิทธิพลของอินโฟกราฟิกต่อการสื่อสารข้อมูลเชิงซ้อน กรณีศึกษาโครงการ “รู้สู้ flood”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นัจภัค มีอุสาห์. (2556). อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพอินโฟกราฟิก. สืบค้นเมื่อ 30
มิถุนายน 2561. http://www.research.rmutt.ac.th/wpcontenr/uploads/2014/12/139323
ปริชญา ภูวศิน. (2549). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารด้านเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พัชรา วาณิชวศิน. (2556). ศักยภาพของอินโฟกราฟิก (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้. วารสารปัญญาภิวัฒน์,
7(พิเศษ) , 227-240.
โพธิพันธ์ พานิช. (2558). แนวคิดเกี่ยวกับหลักและระบบงานแนะแนว. ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(บรรณาธิการ), เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบงานแนะแนวในสถานศึกษาหน่วยที่1-7.
(หน้า 1-37). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มาลี ศรีสมปอง. (2555). สภาพจริงและความต้องการบริการแนะแนวของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2555), หน้า 11-21
โรส. (2552). ประเภทของอินโฟกราฟิก. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561. http://archmis.arch.nu.ac.th/arch_ajnu/
journal/article_file/article_2014_87.pdf
ลิขิต ชูกิตติกุล. (2549). การวิเคราะห์เนื้อหาสาระกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับช่วงชั้นที่ 3 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2546. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา/พระนครศรีอยุธยา.
วิไลพร จิตต์จุฬานนท์. (2543). การเปิดรับทัศนคติการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากเว็บไซต์ การศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School NET) ในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิพัชร์ บุญเรืองศักดิ์. (2554). พฤติกรรมการรับรู้และทัศนะคติทีมีต่อการสื่อสาร กรณีศึกษา โครงการไอเดียประเทศ.
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมร ทองดี และปราณี รามสูตร. (2545). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). พัฒนาการสื่อใหม่ (New Media): อิทธิพลภาษาดิจิตอลต่อรูปแบบการ สื่อสารของมนุษยชาติและผลกระทบต่อจริยธรรมสื่อ. สืบค้นจาก http://utcc2.utcc.ac.th/localuser/amsar/PDF/New%20Media.pdf.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 - 2564).
อาศิรา พนาราม. (2556). อินโฟกราฟิก. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561. http://www.learningstudio.info/ infographicsdesigin
อินโฟกราฟิกไทยแลนด์. (2557). เบื้องหลัง ! กว่าจะเป็น Infographic 1 ชิ้น. 21 ตุลาคม 2558. http://infographic.in.th/infographic/ เบื้องหลัง-กว่าจะเป็น-infographic-1
โอเค เนชั่น. (
ภาษาอังกฤษ
Nafees, M., Farooq, G., Tahirkheli, S. A. & Malik, P. (2012). An Investigation into Missing Component of
Guidance Service in Government High Schools. International Journal of Humanities and Social Science, 2(4). 126-132.
Singh, Y. K. (2007). Guidance and Career Counseling, New Delhi: APH Publishingcorporation, Darya Ganj. Sharma, R. N. (2004). R.,Guidance and Counseling in India. New Dehli: Atlantic, 33