การผลิตซ้ำอุดมการณ์ชาตินิยมผ่านการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การผลิตซ้ำอุดมการณ์ชาตินิยมผ่านการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย และศึกษา การผลิตซ้ำอุดมการณ์ชาตินิยมของรัฐบาลรัสเซียผ่านแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในกรุงมอสโก ได้แก่ เคลมลิน และจัตุรัสแดง อารามหลักของศาสนาแห่งซากอสในเมืองเซร์กีเยฟ ปาสาด สำนักแม่ชีโนโวดิวิชี คอนแวนต์ และ โบสถ์แห่งการเสด็จสู่สวรรค์ของพระเยซู คาลาเมนส์โกเย โดยศึกษาจากคุณค่าทางประวัติศาสตร์และหลักเกณฑ์ การพิจารณาที่ระบุไว้โดยองค์การยูเนสโก จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันมรดกโลกทางวัฒนธรรมทั้ง 4 แห่ง กลายเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือรับใช้รัฐบาลที่พยายามผลักดันและใช้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสถานที่เหล่านี้ มาผลิตความหมายซ้ำและประกอบสร้างอำนาจรัฐเพื่อก่อให้เกิดอุดมการณ์ชาตินิยมทำให้ประชาชนมีความภาคภูมิใจ ในอารยธรรมของตนจากความหมายที่รัฐบาลเลือกสรรให้กับแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในกรุงมอสโกทั้ง 4 แห่ง ความสำเร็จของรัฐบาลที่สามารถประกาศเกียรติภูมิความยิ่งใหญ่ของประเทศผ่านการเป็นมรดกโลกทาง วัฒนธรรมย่อมสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลรัสเซียสามารถสร้างคุณค่าให้กับตัวเองที่นำเอารัฐบาลกับชาติไว้ร่วมกัน ได้จากการสร้างความชอบธรรมของตนผ่านกระบวนการเหล่านี้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัณฐัศศา พงษ์หิรัญ. การเมืองการปกครองประเทศรัสเซีย. ผู้อำนวยการโครงการรัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2559
ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.
ประทุมพร วัชรเสถียร. (2553). โลกร่วมสมัย 2 คำตอบที่คนรุ่นใหม่ใครรู้. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.
โรล็อง บาร์ตส์. (2551). มายาคติ [Mythologie] (พิมพ์ครั้งที่ 3). (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ. 1957)
อนุช อาภาภิรม. (2556). รัสเซียเสือใหม่ซ่อนเล็บ. กรุงเทพฯ: มติชน.
อนันต์ชัย เลาหะพันธุ. (2548). Eastern Question: ปัญหาตะวันออก. ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ ยุโรป 3. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตสถาน.
อนันต์ชัย เลาหะพันธุ และสัญชัย สุวังบุตร. (2548). รัสเซียสมัยซาร์และสังคมนิยม. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
อนิรุทธิ์ สมเสาร์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดทางศาสนาของเลฟตอลสตอย ที่ขัดแย้งกับหลักความเชื่อของพระศาสนจักรออร์โธดอกซ์แห่งรัสเซีย (ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Hephaestus Books. (2011). Article on world heritage site in Russia. Moscow: Russia.
ICOMOS UNESCO. (1990). Advisory body evaluation of Moscow Kremlin. Retrieved February 20, 2016 from http://whc.unesco.org/en/list/545
ICOMOS UNESCO. (1993). Advisory body evaluation of architectural ensemble of the Trinity Sergiusl Lavra in Sergiev Posad. Retrieved February 20, 2016 from http://whc.unesco.org/en/list/545
ICOMOS UNESCO. (1994). Advisory body evaluation of the church of the ascension, Kolomenskoye.
Retrieved February 20, 2016 from http://whc.unesco.org/archive/advisory_body_evaluation/634.pdf
ICOMOS UNESCO. (2004). Advisory body evaluation of Novodevichy (Russian Federation). Retrieved
February 20, 2016 from http://whc.unesco.org/archive/advisory_body_evaluation/ 1097.pdf
The Moscow time Reuters. (2011). God absent from church’s New Spiritual Guild. Retrieved May 8, 2016 from themoscowtimes.com/news/article/god-absent-from-churches-new- Spiritual-Guild/429892.html
Ko, Vincent Hon Chiu. (2010a). Ensemble of the Novodevichy Convent (Russian Federation). UNESCO World Heritage Centre. Retrieved May 8, 2016 from whc.unesco.org/en/documents/156257
Ko, Vincent Hon Chiu. (2010b). Church of the ascension, Kolomenskoye. UNESCO World Heritage Centre. Retrieved May 8, 2016 from whc.unesco.org/en/documents/156220
Ko, Vincent Hon Chiu. (2010c). The Trinity Sergius Lavra in Sergiev Posad. UNESCO World Heritage Centre. Retrieved May 8, 2016 from whc.unesco.org/en/documents/112077
Ko, Vincent Hon Chiu. (2016). Kremlin and Red Square, Moscow (Russian Federation). UNESCO World Heritage Centre. Retrieved December 7, 2016 from whc.unesco.org/fr/documents/155819