การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของข้อสอบโอเนต วิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้อสอบโอเนต (O-NET) (การทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติขั้นพื้นฐาน) สำหรับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 6 มีบทบาทสำคัญในการสะท้อนความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการศึกษาและเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่โอกาสทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กล่าวคือ ผลสอบโอเนตถูกใช้เพื่อเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของโรงเรียนและใช้เพื่อเป็นตัวกำหนดผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา ผลการสอบโอเนตจึงมีผลกระทบอย่างมากต่อผู้เกี่ยวข้องกับการสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่ออนาคตของนักเรียนไทย ดังนั้น ข้อสอบโอเนตจึงต้องมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อสอบโอเนตมีความตรงสูง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับความตรงของข้อสอบโอเนตนั้นมีน้อยมาก ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความตรงเชิงเนื้อหาของข้อสอบโอเนตวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการหาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับหลักสูตร ตัวอย่างข้อสอบที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นข้อสอบโอเนตปี 2553 และ ปี 2554 อาสาสมัครจำนวน 5 คน ได้รับการคัดเลือกอย่างเจาะจงเพื่อที่จะจับคู่ข้อสอบโอเนตกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าข้อสอบโอเนตมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางเพียงบางส่วน อีกทั้งผลจากการวิจัยแสดงผลการกระจายตัวของคำถามในข้อสอบที่สอดคล้องกับประเด็นต่าง ๆ ในหลักสูตรแกนกลาง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วรรณกวินท์ อริยฤทธิ์วิกุล, ชาติ แจ่มนุช, ไพเราะมี บางยาง, นฤเทพ ใจสุทธิ และอิทธิฤทธิ์ พงษ์ปิยะรัตน์. (2557). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอิงมาตรฐานหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลและแนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวปฏิบัติ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.พิมพ์ครั้งที่ 3. กร ุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัยและภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
Adair‐Hauck, B., Glisan, E. W., Koda, K., Swender, E. B., & Sandrock, P. (2006). The Integrated Performance Assessment (IPA): Connecting assessment to instruction and learning. Foreign Language Annals, 39(3), 359-382.
Adunyarittigun, D. (2001). Trends in EFL Reading Assessment. Journal of Language and Linguistics, 19(2), 69-75.
Bhola, D. S., Impara, J. C., & Buckendahl, C. W. (2003). Aligning tests with states' content standards: Methods and issues. Educational Measurement: Issues and Practice, 22(3), 21-29.
Brown, H. D., & Abeywickrama, P. (2010). Language Assessment, Principles and Classroom Practices (2nd ed.). NY: Pearson Education.
Brown, J. D. (2005). Testing In Language Programs: A Comprehensive Guide To English Language Assessment. NY: McGraw-Hill College.
Case, B. J., Jorgensen, M. A., & Zucker, S. (2004). Alignment in educational assessment. Retrieved June, 5, 2005, from www.pearsonassessments.com.
D'Agostino, J. V., Welsh, M. E., Cimetta, A. D., Falco, L. D., Smith, S., Van Winkle, W. H., & Powers, S. J. (2008). The rating and matching item-objective alignment methods. Applied Measurement in Education, 21(1), 1-21.
Foley, J. A. (2005). English in...Thailand. Regional Language Centre Journal, 36(2). 223-234.
Gronlund, N. E. (1998). Assessment of student achievement (6th ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Hughes, A. (2012). Testing for language teachers (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Li, S., & Sireci, S. G. (2004). Evaluating the fit between test content, instruction, and curriculum frameworks: A review of methods for evaluating test alignment (Center for Educational Assessment Research Report No. 558). Amherst, MA: University of Massachusetts, Center for Educational Assessment.
Lopez, Alexis A. (2013). Alignment between standardized assessments and academic standards: The case of the Saber Mathematics Test in Colombia. RELIEVE, 19(2). DOI: 10.7203/relieve.19.1.3026
Martone, A., & Sireci, S. G. (2009). Evaluating alignment between curriculum, assessment, and instruction. Review of Educational Research, 79(4), 1332-1361. Messick, S. (1989).
Validity. In R. L. Linn (Ed.), Educational measurement (3rd ed., pp. 13-103).NY: Macmillan.
______. (1993). Foundations of validity: Meaning and consequences in psychological assessment. ETS Research Report Series, 1993(2).
______. (1994). Alternative modes of assessment, uniform standards of validity. ETS Research Report Series, 1994(2).
______. (1996). Validity and washback in language testing. ETS Research Report Series, 1996(1), i-18.
______. (1998). Test validity: A matter of consequence. Social Indicators Research, 45(1),35-44.
O'Malley, J. M., & Pierce, L. V. (1996). Authentic assessment for English language learners: Practical approaches for teachers. Boston, MA: Addison-Wesley Publishing Company.
Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in Nursing & Health, 30(4), 459-467.
Sireci, S., & Faulkner-Bond, M. (2014). Validity evidence based on test content. Psicothema, 26(1), 100-107.
Smith, M. L., & Fey, P. (2000). Validity and accountability in high-stakes testing. Journal of Teacher Education, 51(5), 334-344.
Wall, D. (2000). The impact of high-stakes testing on teaching on teaching and learning: can this be predicted or controlled? System, 28, 499-509.
Webb, N. L. (1997). Criteria for Alignment of Expectations and Assessments in Mathematics and Science Education. (Research Monograph No. 6). Council of Chief State School Officers: Washington, DC.