“โสดเป็นเรื่องน่าเศร้า” : กลวิธีทางภาษาและนัยแฝงจากมุกตลกออนไลน์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาและนัยแฝงจากมุกตลกออนไลน์ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับคนโสด เก็บข้อมูลจากเฟซบุ๊กอารมณ์ขัน โดยจากตัวบทอารมณ์ขัน 100 เรื่อง พบมุกตลกเกี่ยวกับคนโสดจำนวนถึง 30 เรื่อง แสดงให้เห็นว่าคนโสดกลายเป็นเป้าหลักของอารมณ์ขัน ผลการวิจัยพบกลวิธีทางภาษา 8 กลวิธี ได้แก่ (1) การเย้ยหยัน (2) การเล่นคำโดยการละเมิดกฎความคู่ขนาน (3) การใช้สหบท (4) การหักมุม (5) การกล่าวถ้อยคำนัยผกผัน (6) การใช้มูลบททางวัจนปฏิบัติศาสตร์ (7) การล้อเลียน และ (8) การเสียดสี นอกจากนี้ยังพบนัยแฝง 6 ประเด็น ได้แก่ (1) คนโสดคือคนที่ไม่เป็นที่ต้องการ (2) คนโสดคือคนน่าสงสาร (3) คนโสดคือคนขี้อิจฉาหรือคนพาล (4) คนโสดคือคนเหงา (5) คนโสดคือคนหน้าตาไม่ดี และ (6) คนโสดคือคนที่ผิดหวังในความรัก นัยแฝงเหล่านี้สร้างชุดความคิดในลักษณะการตีตราประทับเหมารวมที่แสดงให้เห็นว่า “โสดเป็นเรื่องน่าเศร้า” นำไปสู่การตอกย้ำค่านิยมในสังคมไทยด้านการกดดันให้มีคู่ครอง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx
กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2544-2545). แนวคิดในการศึกษาอารมณ์ขันทางภาษาในมุมมองทางวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 21-22(2), 72-99.
กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6697
เกริกเกียรติ กุลวิสุทธิ์ และ วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2567). อารมณ์ขันในเฟซบุ๊กแฟนเพจนัดเป็ด: กลวิธีทางภาษาและหน้าที่ของอารมณ์ขัน. วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา, 46(1), 1-18.
คนโสด 2567 ในประเทศไทย ทำไมถึงมีมากขึ้น. (28 พฤษภาคม 2567). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2788944
จันทิมา หวังสมโชค. (2549). กลวิธีสื่ออารมณ์ขันในละครตลกสถานการณ์ของไทยจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารศิลปศาสตร์, 6(12), 100-127.
จินตนา เหลือล้น. (2565). พัฒนาการความโสดในนวนิยายไทย ช่วง พ.ศ.2516-พ.ศ.2560. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Intellectual Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5895
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะจิตวิทยา. (2566). Stereotype – ภาพในความคิด. https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/stereotype
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.
ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.
เถกิง พันธุ์เถกิงอมร. (2559). อารมณ์ขันในงานเขียนสารคดี: การวิเคราะห์วิจารณ์เชิงสร้างสรรค์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวรรณ ทองเตี่ยง. (2563). นัยแฝงในอารมณ์ขันผ่านนิตยสารขายหัวเราะ ปี พ.ศ. 2559. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 7(2563), 79-93.
ภาวดี สายสุวรรณ. (2553). ค่านิยมที่สะท้อนในมุขตลกในการ์ตูนช่องของไทย. ดำรงวิชาการ, 9(2), 135-163.
สมาชิกพันทิปหมายเลข 7066278. (4 มิถุนายน 2565). พวกที่ไม่มีแฟนไปรับไปส่ง เค้าเดินทางกันยังไงคะ [กระดานสนทนา]. พันทิป. https://pantip.com/topic/41467108
สมาชิกพันทิปหมายเลข 6923986. (6 มิถุนายน 2565). พวกที่ไม่มีแฟนไปรับไปส่ง เค้าเดินทางกันยังไงคะ [กระดานสนทนา]. พันทิป. https://pantip.com/topic/41467108
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. ราชบัณฑิตยสภา.
วิยะดา ศิริชนะทรัพย์ และ วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข. (2559). เฟซบุ๊กแฟนเพจ กูจะฮาก็ตรงคอมเม้นต์นี่แหละ: การวิเคราะห์กลวิธีการสร้างความขบขัน โดยใช้แนวคิดหลักความร่วมมือในการสนทนาและแนวคิดทางวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารสมาคมไทยศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี, 22(2), 57-90.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). ข่าวสภาพัฒน์เรื่องภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5491
สิริญญา สุขสวัสดิ์. (2558). ลักษณะภาษาและกลวิธีการใช้ภาษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ในหน้าแฟนเพจข้อความโดนๆ ในเฟซบุ๊ก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:122652
อันธิยา หล่อเรืองศิลป์. (2549). การวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาเพื่อสร้างอารมณ์ขันในละครตลกสถานการณ์เรื่องบางรักซอย 9 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. CMU Intellectual Repository. http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/12174
Attardo, S. (1993). Violation of conversational maxims and cooperation: The case of jokes. Journal of Pragmatics, 19(6), 537-558.
Attardo, S. (1994). Linguistic theories of humor. Walter De Gruyter Inc.
Cambridge Dictionary. (n.d.). Dictionary.cambridge.org. Retrieved May 10, 2024, from https://dictionary.cambridge.org
Chen, R. (2001). Self-politeness; A proposal. Journal of Pragmatics, 33(1), 87-106.
Chiaro, D. (1992). The language of jokes analysing verbal play. Routledge.
Fairclough, N. (1992a). Discourse and social change. Polity.
Fairclough, N. (1992b). Intertextuality in critical discourse analysis. Linguistics and. Education, 4(3-4), 269-293.
Grice, P. H. (1975). Logic and conversation. In P. Cole & J. Morgan. (Eds.), Syntax and Semantics. (Volume 3, pp. 41-58). Academic Press.
Hutcheon, L. (1995). Irony’s edge: The theory and politics of irony. Routledge.
Machin, D., & Mayr, A. (2012). How to do critical discourse analysis. Sage.
Panpothong, N. (1996). A pragmatic study of verbal irony in Thai. [Doctoral dissertation]. University of Hawai’i.
Raskin, V. (1985). Semantic Mechanisms of Humor. Riedel.
Stankić, P. D. (2023). Multimodal humour at play: A cultural linguistics perspective. Novi Sad, Faculty of Philosophy.
Wangsomchok, C. (2016). A linguistic strategies to express humor in Thai context. International Journal of Social Science and Humanity, 6(6), 462-465.
Weiner, E. J. (1996). The incongruity of jokes and humorous situations. In G. R. Guy, C. Feagin, D. Schiffrin, & J. Baugh. (Eds.), Towards a social science of language: Papers in honor of William Labov. (Volume 2, pp. 139-151). John Benjamins.
Ziv, A. (1984). Personality and sense of humor. Spinger.