การศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษา เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 และสามย่านสมาร์ทซิตี้
Main Article Content
บทคัดย่อ
เมืองอัจฉริยะเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน และปัญหาภายในเมือง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะจึงเป็นหนึ่งในแนวทางการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ความสำเร็จของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีปัจจัยสำคัญ คือ มุมมองและความร่วมมือของประชาชน ผู้วิจัยจึงเลือกเมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 และสามย่านสมาร์ทซิตี้เป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากเป็นโครงการนำร่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนจาก 2 พื้นที่ศึกษา โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ และประชาชนนอกพื้นที่ โดยแบ่งตามความถี่ในการใช้พื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีการรับรู้และมีความคาดหวังต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้สูงกว่าพื้นที่เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 โดยพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้ประชาชนในพื้นที่กับประชาชนนอกพื้นที่มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนในพื้นที่มีความคาดหวังต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสูงกว่าประชาชนนอกพื้นที่ ส่วนเมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 ประชาชนนอกพื้นที่มีการรับรู้และมีความคาดหวังสูงกว่าประชาชนในพื้นที่
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2552). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 17). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4. (2564). บทสรุปผู้บริหาร ข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ “เมืองอัจฉริยะย่านพระราม ๔”. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://www.depa.or.th/storage/app/media/SmartCity/Tab_SmartCity/7_Phra%20Ram%204%20Smart%20City.pdf
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักงานจัดการทรัพย์สิน. (2564). บทสรุปผู้บริหาร ข้อเสนอแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ “สามย่านสมาร์ทซิตี้”. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://www.depa.or.th/storage/app/media/SmartCity/Tab_SmartCity/6_Samyan%C2%A0Smart%20City.pdf
เฉลิมศักดิ์ สนิทผล, ศาตนันท์ ทรัพย์รวงทอง, และ ศิริชัย เพชรรักษ์. (2561). ความคาดหวังของประชาชนด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 27-36.
ทักษ์ อุดมรัตน์. (2562). การมีส่วนร่วมและการรับรู้ของชุมชนในการพัฒนาการศึกษาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 41-56.
เทิดทูน ศรีเชียงสา และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2563). การรับรู้ของชาวขอนแก่นต่อการเป็นเมืองอัจฉริยะ. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 13(2), 153-170.
ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ, ฤๅเดช เกิดวิชัย, พรกุล สุขสด, และ ดวงกมล จันทรรัตน์มณี. (2565). ปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญาภิวัฒน, 14(1), 188-202.
ภูริทัต สิงหเสม. (2556). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. นำศิลป์โฆษณา.
วิชนี คุปตะวาทิน, แมน วาสนาพงษ์, พรทิพย์ ขุนดี, และ รัชตา มิตรสมหวัง. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่ [ฉบับพิเศษ]. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4, 444-450.
ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์. (2563). ภูมิศาสตร์เมือง. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์.
สุภาวดี สุวรรณเทน, นิตยา กินบุญ, สุวิช ถิระโคตร, ชญา หิรัญเจริญเวช, และ ลฎาภา ศรีพสุดา. (2562). สภาพ ปัญหา การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตอําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(74), 235-245.
สำนักงานกรรมการกฤษฎีกา. (2562). เมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities). https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/Article_2_ASEANSmartcities(edited).pdf
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). depa Thailand - Digital Service. https://www.depa.or.th/th/digitalservice/smartcity
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (18 สิงหาคม 2564,). depa Thailand - Smart city Plan. https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (ม.ป.ป.). เมืองอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/existing-smart-city
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567, จาก https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-11-ทาให้เมือง/
อัจฉรียา ไชยนิล และ จุฑาทิพ คล้ายทับทิม. (2566). ความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกรุงเทพมหานคร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 6(3), 36-51.
อชิร มาละเงิน, สมยศ ปัญญามาก, นิยม ยากรณ์, กรนิษฐ์ ชายป่า, และ ศิวพร จติกุล. (2559). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 1(2), 89-104.
อุบลวรรณา ภวกานันท์, จิราภา เต็งไตรตรัตน์, นพมาศ อุ้งพระ ธีรเวคิน, รัจรี นพเกตุ, รัตนา ศิริพานิช, วารุณี ภูวสรกุล, ศรีเรื่อน แก้วกังวาน, ศัลสนีย์ ตันติวิ, และ สิริอร วิชชาวุธ. (2554). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Lo, A. Y. H., & Jim, C. Y. (2010). Differential community effects on perception and use of urban greenspaces. Cities: The International Journal of Urban Policy and Planning, 27(6), 430-442. https://doi.org/10.1016/j.cities.2010.07.001
Cohen, B. (2014, December 11). The smartest cities in the world 2015: Methodology. Fast Company. https://www.fastcompany.com/3038818/the-smartest-cities-in-the-world-2015-methodology
Dameri, R. (2013). Searching for smart city definition: A comprehensive proposal. International Journal of Computers & Technology, 11, 2544-2551. https://doi.org/10.24297/ijct.v11i5.1142
Eremia, M., Toma, L., & Sanduleac, M. (2017). The smart city concept in the 21st century. Procedia Engineering, 181, 12-19. https://doi.org/10.1016/j.proeng.2017.02.357
Georgiadis, A., Christodoulou, P., & Zinonos, Z. (2021). Citizens’ perception of smart cities: A case study. Applied Sciences, 11(6), Article 6. https://doi.org/10.3390/app11062517
Ji, T., Chen, J.-H., Wei, H.-H., & Su, Y.-C. (2021). Towards people-centric smart city development: Investigating the citizens’ preferences and perceptions about smart-city services in Taiwan. Sustainable Cities and Society, 67, 1-14.
Lefebvre, H. (1991). The production of space. Blackwell Publishing.
Ling, C. M., Pardthaisong, L., & Huyakorn, Y. C. (2018). The smart city - A city for all: Improving migrant workers’ perception of smart governance through inclusion. Political Science and Public Administration Journal, 9(2), 157-186.
Miltiadis D. Lytras, Anna Visvizi, & Akila Sarirete. (2019). Clustering smart city services: Perceptions, expectations, responses. Sustainability, 11(6), 1-19. https://doi.org/10.3390/su11061669
Srichiengsa, T., & Wongthanavasu, S. (2020). Public perception of the Khon Kaen smart city initiative. Local Administration Journal, 13(2), 153-170.
Tadili, J., & Fasly, H. (2019). Citizen participation in smart cities: A survey. In B. A. Mohamed, I. R. Karașo, R. Saadane, W. Mtalaa, & B. A. Abdelhakim (Eds.), SCA '19: Proceedings of the 4th International Conference on Smart City Applications, Article 10, 1-6. https://doi.org/10.1145/3368756.3368976
UNECE. (n.d.). Smart Sustainable Cities | UNECE. Retrieved May 18, 2023, from https://unece.org/housing/smart-sustainable-cities
United Nation. (2018). The world’s cities in 2018. https://www.un.org/development/desa/pd/sites/www.un.org.development.desa.pd/files/files/documents/2020/Jan/un_2018_worldcities_databooklet.pdf
Yin, C., Xiong, Z., Chen, H., Wang, J., Cooper, D., & David, B. (2015). A literature survey on smart cities. Science China Information Sciences, 58. https://doi.org/10.1007/s11432-015-5397-4
Zywiołek, J., & Schiavone, F. (2021). Perception of the quality of smart city solutions as a sense of residents’ safety. Energies, 14, 1-16.