อิทธิพลของภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 ในการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ระดับประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเชียงรายที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) และภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) ที่มีต่อการออกเสียงพยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะท้าย และเสียงพยัญชนะผสมในภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดเชียงราย ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 3 จำนวน 120 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบการอ่านออกเสียงพยัญชนะต้น พยัญชนะท้าย และพยัญชนะผสมในภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาพบว่าภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) และภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) มีอิทธิพลทั้งเชิงบวกและเชิงลบในการออกเสียงภาษาที่ 3 (ภาษาอังกฤษ) โดยนักเรียนสามารถออกเสียงพยัญชนะกัก เสียดแทรก ในตำแหน่งต้นพยางค์ได้ อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของภาษาที่ 1 นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนสามารถออกเสียง /w-/ และ /f-/ ในตำแหน่งต้นพยางค์ และสามารถออกเสียงพยัญชนะท้าย ซึ่งเป็นเสียง หรือเป็นโครงสร้างทางพยัญชนะที่ไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) แต่เป็นอิทธิพลของภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) อย่างไรก็ตาม นักเรียนไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะผสมทั้งในตำแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นอิทธิพลเชิงลบจากภาษาที่ 1 (ภาษาอ่าข่า) และ ภาษาที่ 2 (ภาษาไทย) โดยมีลักษณะการแทรกแซงที่พบ 4 ลักษณะ คือ การแทนที่ของเสียง การเพิ่มเสียง การไม่ออกเสียง และการใช้ 2 กระบวนการ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf
โชคฑีรภัคญ์ ธนเศรษฐวัฒนา, จารุวรรณ เบญจาทิกุล, สมเกียรติ รักษ์มณี, และ พรสวรรค์ สุวรรณ. (2561). นวัตกรรมแก้ปัญหาการออกเสียงภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในจังหวัดเชียงราย. รมยสาร, 16(1), 273-302. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/199771/139548
ถิรวัฒน์ ตันทนิส. (2555). การศึกษาปัญหาการออกเสียงภาษาอังกฤษและกลวิธีการเรียนการออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษาสหวิทยาการ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 81-102.
เทียนมณี บุญจุน. (2548). สัทศาสตร์ : ระบบเสียงในภาษาอังกฤษและภาษาไทย. โอเดียนสโตร์.
ธีระ รุ่งธีระ. (2552). การศึกษาปัญหาการออกเสียงสระภาษาฝรั่งเศสของผู้เรียนชาวไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 15(5), 857-869.
ปนัดดา บุณยสาระนัย. (2560). ชาวอ่าข่า ภาษา และการสร้างระบบเขียนภาษาอ่าข่าด้วยอักษรไทย : บ้านแม่สะแลป อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 36(1), 37-61.
มูนีเร๊าะ ผดุง, สุรชัย สุขสกุลชัย, วิราพรรณ แก้วประพันธ์, สิริพร ศรเรือง, พิมพรรณ อนันทเสนา, และ รูชรีนา ปาแนแจกะ. (2556). สภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และแนวทางในการพัฒนาสื่อประสมสองภาษา: กรณีศึกษาจังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 8(1), 31-39.
ศรชัย มุ่งไธสง, ยุพิน จันทร์เรือง, สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์, ปฏิพันธ์ อุทยากูล, เบญจวรรณ สุขวัฒน์, วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์, และ สุกัญญา ขลิบเงิน. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10, 9-22.
ศิริมา ปุรินทราภิบาล. (2561). อิทธิพลของภาษาอังกฤษที่มีต่อการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน 14 จังหวัดภาคใต้. วารสารสนเทศ, 17(4), 143-155.
สหัทยา สิทธิวิเศษ, ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล, แสวง เครือวิวัฒนกุล, และ มณี จำปาแพง. (2560). นักเรียนบนพื้นที่สูงกับการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ : สาเหตุ ปัญหา และแนวทางแก้ไข. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 100-110.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงราย, ศูนย์ข้อมูลทางสังคมจังหวัดเชียงราย. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2564. MSDHS. https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20211110150503.pdf
สุนีย์ ลีลาพรพินิจ. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้านรูปแบบและเนื้อหาที่ปรากฏในแบบเรียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวจีน. วรรณวิทัศน์, 18, 185-210. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2018.8
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2558). ปัญหาในการออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น เชื้อสายกระเหรี่ยง และมอญ จังหวัดกาญจนบุรี. วรรณวิทัศน์, 15, 319-344. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2015.14
อภิรดี ไชยกาล, วรวรรณ เหมชะญาติ, และ สร้อยสน สกลรักษ์. (2561). การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับเด็กชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 14(1), 109-132. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mekongjournal/article/download/119683/91476/310648
Astina. (2020). The analysis of teaching English pronunciation at young learners at SD Negeri 82 Parepare [Undergraduate thesis, State of Islamic Institution]. State of Islamic Institution Repository.
Cenoz, J. (2003). Cross-linguistic influence in third language acquisition: Implications for the organization of the multilingual mental lexicon. Bulletin Suisse De Linguistique Appliquee, 78, 1-11.
Cenoz, J. (2013). The influence of bilingualism on third language acquisition: Focus on multilingualism. Language Teaching, 46(1), 71-86. https://doi.org/10.1017/S0261444811000218
Duhalde Solis, J. P. (2015). Third language acquisition: Cross-linguistic influence from L1 and L2 [Thesis, Universitat Autonoma de Barcelona, Spain]. CORE. https://core.ac.uk/download/pdf/78530909.pdf
Fatemi, M. A., Sobhani, A., & Abolhasani, H. (2012). Difficulties of Persian learners of English in pronouncing some English consonant clusters. World Journal of English Language, 2(4), 69-75.
Llama, R., Cardoso, W., & Collins, L. (2010). The influence of language distance and language status on the acquisition of L3 phonology. International Journal of Multilingualism, 7(1), 39-57. https://doi.org/10.1080/14790710902972255
Mashauri, M. M. (2023). An investigation of English sound production among Nande bilingual students in the Democratic Republic of Congo: A case of bilingual Christian University of Congo. British Journal of Education, 11(3), 38-54. https://doi.org/10.37745/bje.2013/vol11n33854
Mesaros, B. T. (2008). Learning English as a third language: The case of the Romanian community in Spain [Master’s thesis, Universitat Jaume I, Castellón, Spain]. CORE. https://core.ac.uk/download/pdf/61425615.pdf
Min, G. (2020). Factors affecting Yi ethnic minority EFL learners’ English pronunciation learning in Leshan Normal University, Sichuan, China. English Language Teaching, 13(6), 104-108. https://doi.org/10.5539/elt.v13n6p104
Ortega, M. (2008). Cross-linguistic influence in multilingual language acquisition: The role of L1 and non-native languages in English and Catalan oral production. Íkala, Revista De Lenguaje Y Cultura, 13(1), 121-142. https://doi.org/10.17533/udea.ikala.2694
Paramal, N. (2019). The phonological interference of Patani Malay and Thai in English on Grade 4 students who speak Patani Malay as mother tongue. Journal of Language and Culture, 38(2), 154-177.
Phinit-Akson, V. (2003). The English sound system vs. the Thai sound system: Some comparisons and pedagogical implications for the Thai EFL/ESL learners. Suthiparithat Journal, 52, 102-112.
Plailek, T., & Essien, A. M. (2021). Pronunciation problems and factors affecting English pronunciation of EFL students. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education (TURCOMAT), 12(12), 2026-2033. https://doi.org/10.17762/turcomat.v12i12.7734
Sahatsathatsana, S. (2017). Pronunciation problems of Thai students learning English phonetics: A case study at Kalasin University. Journal of Education, Mahasarakham University, 11(4), 67-84.
Wrembel, M. (2010). L2-accented speech in L3 production. International Journal of Multilingualism, 7(1), 75-90. https://doi.org/10.1080/14790710902972263
Wrembel, M. (2015). In search of a new perspective: Cross-linguistic influence in the acquisition of third language phonology. Wydawnictwo Naukowe UAM. http://hdl.handle.net/10593/14647