สภาพการจ้างงานและมุมมองต่อความคุ้มค่าในการไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นของแรงงานไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจ้างแรงงานไทยในประเทศญี่ปุ่นและศึกษาความคุ้มค่าทางด้านการเงิน ความคุ้มค่าทางด้านความรู้และทักษะวิชาชีพ และความคุ้มค่าด้านประสบการณ์ในการเดินทางไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และการสัมภาษณ์ออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจากแรงงานชาวไทยที่มีประสบการณ์การทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นและเดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า เหตุผลที่แรงงานชาวไทยเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดคือ อยากหาประสบการณ์และอยากใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่น รองลงมาคือ การได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดีกว่าประเทศไทย แรงงานที่ให้ข้อมูลในงานวิจัยนี้ เป็นแรงงานที่เคยเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย แรงงานส่วนใหญ่จึงได้รับการดูแลตามสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ในการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น แรงงานส่วนใหญ่พึงพอใจและรู้สึกคุ้มค่าที่ได้ไปทำงานที่ญี่ปุ่นทั้งในด้านการเงิน ด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ และประสบการณ์ที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม มีแรงงานจำนวนไม่น้อยที่พบปัญหาทั้งในด้านการทำงานและการใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น จากการศึกษานี้ ทำให้ทราบสภาพชีวิตการทำงานและความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในญี่ปุ่น รวมถึงความคุ้มค่าในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. (2567). จำนวนคนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ (จำแนกตามประเทศ/ดินแดน และประเภทการเดินทาง) ยอดสรุปประจำปี 2566 (มกราคม - ธันวาคม). กรมการจัดหางาน. https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/fcf08cf99fb90e367e87dab6fdc99e7c.pdf
เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ. (2541). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานไทยในญี่ปุ่น : ศึกษากรณีแรงงานนอกกฎหมาย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://archive.lib.cmu.ac.th/full/res/2541/tressh490620_41_full.pdf
สุภางค์ จันทวานิช, ประไพรัตน์ รัตนโอฬาร มิกซ์, พัทยา เรือนแก้ว, สุธีรา นิตยานันทะ, และอัญชลี เข็มครุฑ. (2542). การย้ายถิ่นของผู้หญิงไทยไปเยอรมนี: สาเหตุ ชีวิตความเป็นอยู่และผลกระทบในประเทศไทยและเยอรมนี. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cabinet Office. (2023). Reiwa 4 nendo kourei ka no joukyou oyobi kourei shakai taisaku no jisshi joukyou (Reiwa 5 nendo kourei shakai taisaku). Reiwa 5 nenban kourei shakai hakusho (gaiyou). https://www.shugiin.go.jp/internet/itdb_gian.nsf/html/gian/gian_hokoku/20230620koreigaiyo.pdf/$File/20230620koreigaiyo.pdf (in Japanese)
GHC Evolving Media for Medicine. (2020). 65 sai ijou koureisha, 2020 nen wa 3617 man nin soujinkou no 28.7% de kako saikou no koushin tsuzuku. https://gemmed.ghc-j.com/?p=36131 (in Japanese)
Lee, E.S. (1966). A theory of migration. Demography, 3(1), 47-57.
Ministry of Health, Labour and Welfare. (2024a). “Gaikokujin koyou joukyou” no todokede joukyou hyou ichiran (Reiwa 5 nen 10 getsumatsu jiten). https://www.mhlw.go.jp/content/11655000/001195789.pdf (in Japanese)
Ministry of Health, Labour and Welfare. (2024b). “Gaikokujin koyou joukyou” no todokede joukyou matome honbun (Reiwa 5 nen 10 getsumatsu jiten). https://www.mhlw.go.jp/content/11655000/001195787.pdf (in Japanese)
Ministry of Health, Labour and Welfare. (2024c). Reiwa 5 nen chingin kouzou kihon toukei chousa no gaikyou (zairyuu shikaku kubunbetsu ni mita shikin). https://www.mhlw.go.jp/toukei/itiran/roudou/chingin/kouzou/z2023/dl/08.pdf (in Japanese)
Nihon Keizai Shimbun. (2024). Gaikoku jinzai “ikusei shuurou” shinsetsu, ginou jisshuu o kaikaku kakugi kettei. https://www.nikkei.com/article/DGXZQOUA122940S4A310C2000000/ (in Japanese)
Okubo, B. (2002). Sengo nihon no roudou-ryoku kyoukyuu no chiiki hatten to Gaikokujin roudousha. https://api.lib.kyushu-u.ac.jp/opac_download_md/3000296/112_p055.pdf (in Japanese)
Okumura, K. (2021). Searching for the voice of the other: A review of literature on Japan’s technical intern trainees from the perspective of social inclusion. Kobe College Studies, 68(1), 57-75.
Organization for Technical Intern Training. (2021). Reiwa 2 nendo – kikoku go ginou jisshuusei forouappu chousa – (gaiyou). https://www.otit.go.jp/files/user/211001-091.pdf (in Japanese)
Paitoonpong, S., Chalamwong, Y., Sukaruji, C., & Piamkulwanich, A. (2012). Economic costs and benefits of labour migration: Case of Thailand. ISEAS-Yusof Ishak Institute.
Ravenstein, E. G. (1976). The laws of migration. Arno Press.
Statistics Bureau of Japan. (2024). Jinkousui - 2024 nen (Reiwa 6 nen) 3 gatsu hou -. https://www.stat.go.jp/data/jinsui/pdf/202403.pdf (in Japanese)