เทพเจ้าเห้งเจียแห่งชายแดนใต้ : บทบาทหน้าที่ของการบูชาเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
เจ้าพ่อไต่เสี่ย หรือเห้งเจีย (หงอคง) ซึ่งเป็นตัวละครจากวรรณกรรมเรื่อง ไซอิ๋ว เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญของศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง จังหวัดนราธิวาส
มีผู้เคารพบูชาในรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชายแดนภาคใต้และชาวมาเลเซีย บทความวิจัยนี้ ใช้แนวคิดบทบาทหน้าที่ของคติชนในการศึกษาบทบาทหน้าที่ของการบูชาเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง ผลการวิจัยพบบทบาทหน้าที่ของการบูชา 2 บทบาทหลัก ได้แก่ (1) บทบาทต่อปัจเจกบุคคล จำแนกได้ 3 บทบาทย่อย ได้แก่ 1. การเป็นที่พึ่งทางใจเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้ที่สักการบูชา 2. การให้ความหวังเรื่องความสำเร็จหรือสมหวังด้านต่าง ๆ และ 3. การอบรมสั่งสอนและแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตให้ชาวบ้าน (2) บทบาทต่อชุมชน จำแนกได้ 4 บทบาทย่อย ได้แก่ 1. การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีให้ดำรงอยู่ 2. การสร้างความเข้มแข็งและความสามัคคีในสังคมพหุวัฒนธรรม 3. การให้ความบันเทิง และ 4. การกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวท้องถิ่น ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ซึ่งดำรงอยู่ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ของประเทศไทย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กศน.ตำบลกะลุวอ. (ม.ป.ป). ประวัติตำบล/หมู่บ้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566, จาก https://kaluwonfe.blogspot.com/p/blog-page_404.html
จรัสศรี จิรภาส. (2547). เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า. มติชน.
จังหวัดนราธิวาส. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2561-2564. จังหวัดนราธิวาส.
ต้วน ลี่ เซิง และ บุญยิ่ง ไร่สุขสิริ. (2543). ความเป็นมาของวัดจีนและศาลเจ้าจีนในประเทศไทย. คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนา.
ติ่น. (2449). ไซอิ๋ว เล่ม 1. โสภณพิพรรฒธนากร.
ถาวร สิกขโกศล. (2557). เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้. มติชน.
ทักษิณา. (2539). วัตถุมงคลของศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย (เห้งเจีย) บ้านกำแพง ต.กะลุวอ อ.เมือง จ.นราธิวาส. นิตยสารลานโพธิ์, 22(712), 16-18.
ประภาศรี อึ่งกุล, เดชา สีดูกา, รุ่งนภา อริยะพลปัญญา, และ สุนันทา คันธานนท์. (2557). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น การแสดงพื้นบ้านรําวงเวียนครก กรณีศึกษา ตําบลนาพละ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. ใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 (น. 291-499). ม.ป.ท. https://cscd.kku.ac.th/uploads/proceeding/070714_160516.pdf
พระสมุห์สุรพงษ์ ปญฺาพโล. (2560). ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของร่างทรงกรณีศึกษา: อำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
พลาธิป อนันตยะ. (2551). เห้งเจียศักดิ์สิทธิ์ เสริมชะตาชีวิต พิชิตอุปสรรค. เพื่อนชาวบ้าน.
แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องแนวคิดพหุวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2565ก). ประวัติวรรณคดีไทย ฉบับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ภาค ก: ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทย. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2565ข). ประวัติวรรณคดีไทย ฉบับมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ภาค ข: วรรณคดีไทยประเภทต่าง ๆ. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ว.วิลาศ. (2533). อัศจรรย์อิทธิฤทธิ์ “เจ้าพ่อเห้งเจีย” จังหวัดนราธิวาส. นิตยสารมหาสิทธิโชค, 3(54), 4-5.
ศรัณยา บุนนาค. (2567). ฐานข้อมูล แหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ฮาลาล เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส.https://www.me-fi.com/tourismdb/halaltourism-imt-gt/data_detail.php?cateLv=&cateID=21&subid=309&dataID=4112#
ศาลเจ้าเค่งฮุดจี่. (2565). ศาลเจ้าเค่งฮุดจี่ จังหวัดยะลา. ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบัน ไทยศึกษา, การประชุมวิชาการระดับชาติพลวัตแห่งศรัทธา ศาลเจ้า เทพเจ้า และวิถีชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางกระแสสังคมร่วมสมัย (น. 43-48). แม็กเอ็กซ์เพรส. https://firebasestorage.googleapis.com/v0/b/johnjadd-3524a.appspot.com/o/ySroOyFbNphMLJ9kMTSmDpxsJeX2%2Fpdf%2F1686109834525-หนังสือรวมบทคัดย่อพลวัดแห่งศรัทธา.pdf?alt=media&token=08fc8e7f-549a-4d53-aace-5f31cf6f4bcb
ศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง. (2565). ศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง จังหวัดนราธิวาส. ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันไทยศึกษา, การประชุมวิชาการระดับชาติ พลวัตแห่งศรัทธา ศาลเจ้า เทพเจ้า และวิถีชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางกระแสสังคมร่วมสมัย (น. 49-52). แม็กเอ็กซ์เพรส.
ศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง นราธิวาส. (23 กุมภาพันธ์ 2565). เล่าประสบการณ์ลูกหลานอากงได้เช่าบูชาน้ำเต้ารุ่นดูดทรัพย์ [Image attached] [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/profile/100064797933266/search/?q=น้ำเต้า&locale=th_TH
ศาลเจ้าพ่อไต่เสี่ย บ้านกำแพง นราธิวาส. (24 กุมภาพันธ์ 2566). พีธีกรรมลุยไฟ [Status update]. Facebook. https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02mF7wKvR4shzkCPdj6vRaHKwGnq2aLueVKbBg6L1KGSkH6yC1s5pw5SQKP2Wuigtl&id=100064797933266&locale=th_TH
ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนานนิทานพื้นบ้าน. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา สุจฉายา. (2548). พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง : บทบาทของคติชนกับสังคมไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2553) ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องไซอิ๋วในวัดบวรนิเวศวิหาร. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 15(1), 11–37.
สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2564). การปะทะสังสรรค์ของคติขงจื๊อ เต๋า พุทธในตัวละครหงอคงในวรรณกรรมไซอิ๋ว. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 21(2), 157-189.
สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2565). ว่าด้วย “การคืนชีพ” ของตัวละครในวรรณกรรมไซอิ๋วฉบับอู๋เฉิงเอิน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(2), 318-357.
อภัสนันท์ ลลิตเจริญวงศ์. (2561). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ขนมในประเทศจีน. [สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส. (2564). รายงาน สถานการณ์ทางสังคมจังหวัดนราธิวาส ปี 2564. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส.
University of Wisconsin, Department of Family Medicine and Community Health. (2019). Spiritual Anchors. University of Wisconsin Integrative Health.