สถานภาพงานวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2555-2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพงานวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2555-2565 จาก 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ งานวิจัยจำนวนทั้งหมด 11 เรื่อง ได้แก่วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ฉบับเต็ม สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLIS) กำหนดประเด็นในการศึกษาไว้ 6 ประเด็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยมากที่สุด จำนวน 5 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 45.45 2) วัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่เพื่อศึกษาความพึงพอใจ จำนวน 8 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 24.24 3) ผู้วิจัยส่วนใหญ่กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการทดลองเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 27.27 4) นวัตกรรมที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 72.72 และด้านสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา จำนวน 3 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 27.27 5) เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเป็นวรรณคดีไทยตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 14 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.7 และ 6) มหาวิทยาลัยเอกชนส่วนใหญ่เผยแพร่งานวิจัยอย่างต่อเนื่องในช่วง พ.ศ. 2558-2564 โดยมีงานวิจัยมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 5 เรื่อง และมีแนวโน้มการทำวิจัยเป็นไปในทิศทางที่เพิ่มมากขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุสุมา รักษมณี. (2556). วรรณสารวิจัย. แม่คำผาง.
จินตนา มั่นคง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จีรวรรณ สรบุญทอง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 3 ร่วมกับการใช้คำถามพัฒนาการคิด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทรงภพ ขุนมธุรส, สุนารี ฝีปากเพราะ, พระมหาโยธิน ไกรษร, และ พระปลัดสถาพร ปุ่มเป้า. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารครุพิบูล, 7(2), 295-308.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 26). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรภัทร คำทิ้ง, ธัญญา สังขพันธานนท์, และ ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2563). สถานภาพการวิจัยเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้ภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16(1), 71-91.
ภาสกร เกิดอ่อน, ระวีวรรณ อินทรประพันธ์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, กัลยา สหชาติโกสีย์, ศานติ ภักดีคำ, และ พอพล สุกใส. (2554). คู่มือครู ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม.4: ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 6). อักษรเจริญทัศน์.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์.
โยธิน ไกรษร, พระอนันต์ ครุฑโปร่ง, และ กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2566). สถานภาพงานวิจัยด้านการเรียนการสอนวรรณคดีไทยในช่วงปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2544. ใน พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ (บรรณาธิการ), รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (น. 233-248). วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี. https://rk.mcu.ac.th/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. สำนักนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเภทรัฐและเอกชน. https://info.mhesi.go.th/stat_aca_uni.php
สุชาดา ปิติพร. (2558). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ในวิชาภาษาไทย (สาระที่ 5 วรรณคดีวรรณกรรม) โดยใช้กระบวนการกลุ่ม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อรรถสิทธิ์ บัวพันธ์. (2564). การใช้เทคนิคการคิดเป็นภาพเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
อรุโณทัย อินทนิด, ภัคพล คำหน้อย, และ กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2565). สถานภาพงานวิจัยด้านการเรียนการสอนวรรณคดีไทย ช่วงปี พ.ศ. 2555-2564. วารสารครุพิบูล, 9(2), 337-354.
ไอรดา ภู่เทศ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณกรรมไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้สมุดภาพการ์ตูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ThaiPublica. (2018). การศึกษาไทย 4.0 (ตอน 2): เปิดหลักสูตรมหาวิทยาลัยไทย – 9,333 หลักสูตร สอนอะไร? จบจากไหน? ThaiPublica. https://thaipublica.org/2018/09/thai-education-02/