ภาษาและค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อพรรคการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2498-2566
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชื่อของพรรคการเมืองเป็นตัวแทนที่สามารถสะท้อนให้เห็นค่านิยมของพรรคการเมืองนั้น ๆ ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของชื่อพรรคการเมือง จัดกลุ่มความหมายของชื่อพรรคการเมือง รวมถึงศึกษาค่านิยมจากชื่อพรรคการเมืองไทยต่าง ๆ งานวิจัยนี้ใช้ไวยากรณ์พึ่งพาศัพทการก แนวคิดอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ และแนวคิดการจำแนกประเภทในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลที่ใช้ศึกษา คือ ชื่อพรรคการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2498-2566 จำนวน 408 ชื่อ ผลการวิจัยพบว่า ชื่อพรรคการเมืองไทยมีโครงสร้างทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ โครงสร้างคำเดี่ยว โครงสร้างคำประสาน โครงสร้างคำประสม โครงสร้างนามวลี โครงสร้างกริยาวลี โครงสร้างบุพบทวลี และประโยค ในการจัดกลุ่มความหมายของชื่อพรรคการเมืองพบกลุ่มความหมายทั้งหมด 13 กลุ่ม โดยกลุ่มความหมายเกี่ยวกับอำนาจเป็นกลุ่มความหมายที่มีการนำมาตั้งชื่อพรรคการเมืองมากที่สุด ส่วนค่านิยมที่สะท้อนผ่านชื่อพรรคการเมืองไทยพบค่านิยมทั้งหมด 5 ประการ ได้แก่ ค่านิยมเกี่ยวกับความรักชาติ ค่านิยมเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย ค่านิยมเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งที่พึงปรารถนา และค่านิยมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลฏา พิทักษ์ลิ้มสกุล. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อและความเชื่อทางศาสนาของคนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องภาษาและภาพสะท้อนของวัฒนธรรมจากชื่อเล่นของคนไทย. คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จริญญา ธรรมโชโต. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเล่นของคนไทยในเขตอำเภอเมือง จำหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาตบุษย์ นีละรัตตานนท์. (2549). ลักษณะภาษาในชื่อสกุลประทานโดยสมเด็จพรสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐภรณ์ แซ่โค้ว และ มุจลินทร์ ลักษณะวงษ์. (2565). ความหมายและค่านิยมในการตั้งชื่อสกุลไทยมหามงคลของกรมการปกครอง พ.ศ. 2563. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 73-85.
ทิพรัตน์ เสนาช่วย และ เพ็ญประภา สิงห์สวัสดิ์. (2563). ชื่อพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร : การเปรียบเทียบชื่อของเพศชายและเพศหญิง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 104-119.
ธนพล เอกพจน์. (2563). ค่านิยมที่สะท้อนจากชื่อสกุลไทยอีสานในตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 14(2), 16-35. https://doi.org/10.53848/ssajournal.v14i2.251457
ธนัชชา ทีปรักษพันธ์, พฤศจีก์ เศรษฐทอง, ศิรินาถ พานิชวรพันธ์, และ จอมขวัญ สุทธินนท์. (2561). ค่านิยมที่สะท้อนผ่านความหมายของชื่อเล่นของชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 12(2), 77-95.
นควัฒน์ สาเระ. (2550). การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับชีวิตในชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
นพดล สมจิตร์. (2560). กลวิธีการตั้งชื่อเล่นของนักเรียน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.]. Silpakorn University Repository : SURE.
นฤมล รัตน์อ่อน. (2554). ความหมาย ความเชื่อ และค่านิยมที่สะท้อนจากการตั้งชื่อนักเรียน ตำบลท่าช้างคล้อง จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University Institutional Repository.
น้องนุช มณีอินทร์. (2543). การปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
นันทนา รณเกียรติ. (2531). ลักษณะการตั้งชื่อเล่นในภาษาไทย. ภาษาและภาษาศาสตร์, 6(2), 50-62.
นันทนา รณเกียรติ. (2555). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. ภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 1-19.
ปธาน สุวรรณมงคล. (ม.ป.ป). อนุรักษ์นิยม. สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=อนุรักษ์นิยม
ปนิตา จิตมุ่ง. (2554). การตั้งชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
ปานทิพย์ มหาไตรภพ. (2545). นามสกุลพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
พรเพ็ญ เหล็กดีเศษ. (2559). การตั้งชื่อเรือยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
พรสรัญ แสงปรีดีกรณ์. (2552). การตั้งชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541. (9 มิถุนายน 2541). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 115 ตอนที่ 35ก. หน้า 1-24.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550. (7 ตุลาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 64ก. หน้า 22-68.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. (7 ตุลาคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 105ก. หน้า 1-41.
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517. (15 ตุลาคม 2517). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 91 ตอนที่ 173. หน้า 1-26.
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524. (8 กรกฎาคม 2524). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 98 ตอนที่ 111. หน้า 1-29.
พิจิตรา พาณิชย์กุล. (2547). การศึกษาชื่อและระบบการทอซิ่นมัดหมี่ดั้งเดิมของคนไทพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2555). วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2550. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49. (หน้า 183-190). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป). บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง. สารานุกรมไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567, จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=31&chap=4&page=t31-4-infodetail03.html
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2563. (9 กันยายน 2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 72ก. หน้า 26-42.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วรางคณา สว่างตระกูล. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อของคนไทยในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
วิรัช ศิริวัฒนะนาวิน. (2544). การศึกษาการตั้งชื่อของคนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. Silpakorn University Repository : SURE.
ไศลรัตน์ อิสระเสนีย์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวกับภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
สมชาย สำเนียงงาม. (2545). ลักษณะทางภาษาที่แสดงความเปลี่ยนแปลงของความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลและกาลกิณีในชื่อของคนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2561). รายงานการวิจัยโครงการนักวิชาการไทยกับการต่อสู้ช่วงชิงความหมาย “ประชาธิปไตย” ในภาวะวิกฤตทางการเมือง (พ.ศ. 2548-2557). สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). พื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2529). การใช้ภาษาในการตั้งชื่อของคนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษณ์ แซ่ลี้. (2564). การตั้งชื่อหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(1), 99-109.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กิติมา อินทรัมพรรย์, และ นัฐวุฒิ ไชยเจริญ. (2554). รายงานการวิจัยโครงการไวยากรณ์ไทยฉบับครอบคลุมภาษาย่อย เล่มที่ 1 เรื่อง ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กัณฑิมา รักวงษ์วาน, มนสิการ เฮงสุวรรณ, และ สิริวิมล ศุกรศร. (2555). บุคคลสำคัญและความคิดหลักในอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์: การเข้าถึงวัฒนธรรมโดยผ่านภาษา. เอเอ๊สพี.
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (ม.ป.ป). ชาตินิยม (คนรักชาติ/คนชังชาติ). สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ชาตินิยม_(คนรักชาติ_/_คนชังชาติ)
อัญชลิน ปานทอง. (2560). การตั้งชื่อคลองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.
Frake, C. O. (1980). Language and cultural description: Essays. Standford University Press.
Rosch, E., Mervis, C. B., Gray, W. D., Johnson, D. M., & Boyes-Braem, P. (1976). Basic objects in natural categories. Cognitive Psychology, 8, 382-439.