วรรณกรรมเพื่อสอนสตรีในประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ : การพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5

Main Article Content

พฤฒิชา นาคะผิว
ธานีรัตน์ จัตุทะศรี
อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ที่ปรากฏในประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์รายคาบในสมัยรัชกาลที่ 5 ฉบับแรกที่พิมพ์เผยแพร่ความรู้สำหรับสตรีผู้ครองเรือนอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเพื่อสอนสตรีในสิ่งพิมพ์รายคาบฉบับนี้ สอนความรู้เรื่องปากะวิชาแบบสมัยใหม่ หลักการจัดการครัวเรือนแบบตะวันตก และวิธีการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว คำสอนดังกล่าวแสดงแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดเรื่องแม่ศรีเรือน สะท้อนว่า สังคมสยามสมัยใหม่ยังคงคาดหวังให้สตรีเป็นผู้รับภาระหน้าที่ในครัวเรือน แต่ต้องมีมุมมอง ความคิด ความรู้อย่างสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเมืองและความก้าวหน้าของประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ ได้แก่ การรับอิทธิพลด้านเนื้อหามาจากคู่มือการเรือนตะวันตก การสร้างงานบนพื้นฐานวรรณกรรมคำสอนสตรีแนวขนบ การปฏิรูปการศึกษา การเปิดรับวัฒนธรรมและความรู้จากตะวันตกของชนชั้นนำสยามเพื่อสร้างความศิวิไลซ์ ความเจริญด้านการแพทย์และมาตรฐานสุขอนามัยใหม่ รวมทั้งการกำหนดคุณค่าของผู้หญิงตามค่านิยมที่มีมาแต่เดิม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
นาคะผิว พ. ., จัตุทะศรี ธ., & ชีรวณิชย์กุล อ. (2024). วรรณกรรมเพื่อสอนสตรีในประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ : การพัฒนาแนวคิดเรื่องแม่เรือนสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 24(2), 190–221. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/274896
บท
บทความวิจัย

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2561). ปกิณกคดี 100 ปี การสาธารณสุขไทย. สุขศาลา สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.).

ขวัญแก้ว วัชโรทัย. (2535). วิวัฒนาการและศิลปะการจัดโต๊ะอาหาร เครื่องดื่ม และเมนูอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

จารุดี ผโลประการ. (2553). ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ : ความรู้และวรรณศิลป์ในตำรา “แม่ครัวหัวป่าก์”. วารสารไทย, 31(115), 66-71.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2505). พระราชพิธีสิบสองเดือน. ศิลปาบรรณาคาร.

ชาติชาย มุกสง. (2565). ปฏิวัติที่ปลายลิ้น ปรับรสแต่งชาติ อาหารการกินในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มติชน.

โชคชัย มันตานุรักษ์. (2562). เปลี่ยนกลิ่นกรุงเทพฯ สู่ความศิวิไลซ์: การจัดการปัญหาความสกปรก กลิ่นเหม็น และความไร้ระเบียบ ทศวรรษ 2410 - 2440. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัชรดา สมสิทธิ์. (2564). ภาวะสมัยใหม่ในวรรณกรรมของมาลัย ชูพินิจ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2494). ความทรงจำ. คลังวิทยา.

ตำรับยาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ.112. (2553). รุ่งศิลป์การพิมพ์.

เทพ บุญตานนท์. (2565). การสัตวแพทย์สมัยใหม่ของรัฐบาลสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารไทยศึกษา, 18(2), 1-25.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2549). การ “ครอบ”, “ครัว”, “ไฟ” : จากตะวันตกสู่ตะวันออก ใน ธเนศ วงศ์ยานนาวา (บรรณาธิการ), จักรวาลวิทยา : บทความเพื่อเป็นเกียรติแก่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (น. 237-279). มติชน.

นนทพร อยู่มั่งมี. (2553). เลี้ยงโต๊ะ : การเมืองบนโต๊ะอาหารและความ “ไม่กลืนกลาย” ทางวัฒนธรรมของชนชั้นนำสมัยรัชกาลที่ 5. ศิลปวัฒนธรรม, 31(3), 120-135.

นิยะดา เหล่าสุนทร, มัณฏานาท สังขประดิษฐ์, จันทวรรณ อนันตประยูร, ปฐม หงษ์สุวรรณ, พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล, พรสวรรค์ อัมรานนท์, พิมผกา จาดเลน, พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, พิสิทธิ์ กอบบุญ, มะลิวัลย์ บูรณพัฒนา, สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ, และ สิริวรรณ วงษ์ทัต. (2540). ภูมิปัญญาของคนไทย: ศึกษาจากวรรณกรรมคำสอน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

บรัดเลย์, วิลเลียม แอล. (2547). สยามแต่ปางก่อน 35 ปีในบางกอกของหมอบรัดเลย์ (กุสุมา ณ อยุธยา และ ศรีลักษณ์ สง่าเมือง, ผู้แปล, พิมพ์ครั้งที่ 2). มติชน.

ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ เล่ม 1 เดือนตุลาคม-มีนาคม ขาดเดือน มกราคม. (2540). (พิมพ์ครั้งที่ 2). ต้นฉบับ.

ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ เล่ม 1 ฉบับที่ 4 เดือนมกราคม 108. (2544). (พิมพ์ครั้งที่ 2). ต้นฉบับ.

ประวัติการแพทย์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. (2525). คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลศิริราช.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2566). ครรภ์แห่งชาติ: รัฐเจริญพันธุ์ ร่างกาย และเพศวิถี. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ปิยะนาถ อังควาณิชกุล. (2562). การวิวัฒน์เข้าสู่สังคมยุคใหม่ของสตรีชั้นนำในสมัยรัชกาลที่ 6 - รัชกาลที่ 7. ใน คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9 (น. 13-27). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เปลี่ยน ภาสกรวงศ์, ท่านผู้หญิง. (2557). ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ต้นฉบับ.

ภาวิณี บุนนาค. (2566). สยามโมเดิร์นเกิร์ล. มติชน.

มาโนชญ์ มูลทรัพย์. (2555). การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของสตรีไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัชฎา พุฒิประภาส. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องกฤษณาสอนน้อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. ราชบัณฑิตยสถาน.

ภัทรนิษฐ์ สุรรังสรรค์. (2565). รัฐสยดสยอง. มติชน.

วรรณพร บุญญาสถิตย์. (2549). จอมนางแห่งสยามในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. สร้างสรรค์บุ๊คส์.

วัฒนะ บุญจับ. (2552). รถม้าและพาหนะร่วมสมัย. รุ่งเรืองการพิมพ์.

ส.พลายน้อย. (2559). กระยานิยาย. พิมพ์คำ.

สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. (2565). แม่และแม่บ้านสมัยใหม่: ผู้หญิงดี, ความเป็นไทย, และวิทยาศาสตร์ ทศวรรษ 2460-2490. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 9(1), 125-154.

สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา. (2558). สถานภาพทางสังคมของสตรีไทยในสมัยปฏิรูปประเทศ. ใน สุชีลา ตันชัยนันท์ (บรรณาธิการ), จิตร ภูมิศักดิ์ และ วิวาทะเรื่องเพศสภาวะในสังคมไทย (น. 108-129). พี. เพรส.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2561). กำเนิดและพัฒนาการของ “ตำรากับข้าวชาววัง” ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการตั้งโรงเรียนสตรี. ใน สุกัญญา สุจฉายา (บรรณาธิการ), สำรับอาหารไทย จากบ้านสู่วัง (น. 91-130). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

อาสา คำภา. (2565). รสไทย (ไม่) แท้ : ถอดรูปทิพย์อาหารไทยในสนามการเมืองวัฒนธรรม. มติชน.

Beeton, I. (1861). The book of household management. S. O. Beeton.