การแปลคำทางวัฒนธรรมในนิยายจีนกำลังภายใน เฉ้อเตียวอิงสฺยงจฺว้าน ฉบับแปลไทยสามฉบับ โดย จำลอง พิศนาคะ ว. ณ เมืองลุง และ น. นพรัตน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษากลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมในนิยายจีนกำลังภายในเรื่อง เฉ้อเตียวอิงสฺยงจฺว้าน ฉบับแปลไทยสามฉบับ โดย จำลอง พิศนาคะ ว. ณ เมืองลุง และ น. นพรัตน์ โดยแบ่งคำทางวัฒนธรรมออกเป็นหมวดตามแนวคิดของนิวมาร์ก และใช้แนวคิดของเบเคอร์ในการวิเคราะห์กลวิธี ผลการศึกษาพบกลวิธีการแปลทั้งสิ้น 18 กลวิธี เมื่อจำแนกกลวิธีที่พบเป็นหมวดการแปลแบบรักษาความแปลกต่างและหมวดการแปลแบบทำให้กลมกลืน พบว่าในการแปลคำทางวัฒนธรรม ผู้แปลเน้นแปลแบบรักษาความแปลกต่างเป็นหลักด้วยกลวิธีการใช้คำยืมและใช้คำยืมร่วมกับคำอธิบาย วิธีการยืมคือถอดเสียงอักษรจีนจากสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋วและบางครั้งเพิ่มการอธิบายคำทับศัพท์นั้นในวงเล็บหรือเชิงอรรถ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกพร นุ่มทอง. (2565). กลวิธีการแปลบันเทิงคดีร้อยแก้วจีนเป็นไทย: จากอดีตสู่ปัจจุบัน. ใน ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ (บรรณาธิการ), สินสาด: สรรนิพนธ์วิชาการศิลปศาสตร์ ในวาระ 60 ปี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (น. 525-565). อ่าน.
กิตติพิรุณ. (2553). ภาคผนวก เส้นทางของนิยายจีนกำลังภายใน: จากแผ่นดินใหญ่สู่แผ่นดินไทย. ใน 60 ปี น. นพรัตน์ เจิดจรัสรัศมีมิเสื่อมคลาย. บุ๊คสไมล์.
กิมย้ง. (2537ก). มังกรหยก ภาคหนึ่ง (เล่ม 1-8) (จำลอง พิศนาคะ, ผู้แปล). สร้างสรรค์-วิชาการ. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 1956).
กิมย้ง. (2537ข). มังกรเจ้ายุทธจักร (เล่ม 1-4) (ว. ณ เมืองลุง, ผู้แปล). ดอกหญ้า.
กิมย้ง. (2546). ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ (เล่ม 1-4) (น. นพรัตน์, ผู้แปล). สยามอินเตอร์บุ๊คส์. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2003).
เฉิน เจี๋ย และ พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2558). ซีโหยวจี้ - ไซอิ๋ว: วิเคราะห์กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรม. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(2), 199-206.
ถาวร สิกขโกศล. (2554). สกัดจุดยุทธจักรมังกรหยก. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ราชบัณฑิตยสถาน.
วรรัตน์ พิริยนสรณ์. (2543). การเปรียบเทียบเฉ้อเตียวอิงสฺยงจฺว้านกับมังกรหยก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไล ลิ่มถาวรานันต์ และ ดารณี มณีลาภ. (2565). กลวิธีการแปลคำศัพท์ทางวัฒนธรรมจากภาษาจีนเป็นภาษาไทยในเรื่อง ร้านน้ำชา บทละครพูด 3 องก์ของเหลาเส่อ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(2), 223-250.
วีระชาติ ดวงมาลา และ กนกพร นุ่มทอง. (2565). การศึกษากลวิธีการแปลและข้อผิดพลาดในการแปลคำและวลีทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพในภาพยนตร์เรื่อง “ร่างทรง”. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 15(2), 251-291.
Baker, M. (1992). In other words: A coursebook on translation. Routledge.
Newmark, P. (1988). A textbook of translation. Prentice-Hall International.
Venuti, L. (1995). The translator’s invisibility: A history of translation. Routledge.
Jongjairuksa, K. (2016). A sociological approach to the translation of Chinese martial arts fiction into Thai [Unpublished Doctoral Dissertation]. University of London.
Yu jingwei, Yu Ying’ao, Cai Jingfeng, Zhang Zhibin, Ou Yongxin, Deng Tietao, & Ou Ming李经纬、余瀛鳌、蔡景峰、张志斌、区永欣、邓铁涛、欧明. (2004). 中医大辞典. 人民卫生出版社.
Mok Olivia 莫慧娴 (2001). 武侠小说之东迁西徙. 中外, 30(3), 133-150. https://doi.org/10.6637/CWLQ.2001.30(3).133-150
Institute of Linguistics, Chinese Academy of Social Sciences (ILCASS) 中国社会科学院语言研究所词典编辑室. (2002). 现代汉语词典 (汉英双语). 外语教 育与研究出版社.