กระบวนการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการถ่ายภาพเบื้องต้นเพื่อสื่อสารสุขภาพด้วยสมาร์ตโฟนสำหรับชุมชนปกาเกอะญอบนพื้นที่สูง

Main Article Content

ศิริก้อย ชุตาทวีสวัสดิ์
สุเมธ ท่านเจริญ
กิตติชัย จันทร์แดง
พิมพกานต์ มีไพรฑูรย์
ปฏิพล พาด้วง
พิทักษ์พงศ์ พงศ์กระพันธุ์

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกลไกสำคัญที่ใกล้ชิดและเข้าถึงชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารบนพื้นที่สูง อสม. ซึ่งจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการสื่อสารสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการถ่ายเบื้องต้นเพื่อสื่อสารสุขภาพด้วยสมาร์ตโฟน และ 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการถ่ายภาพ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษาข้อมูล เอกสาร และลงพื้นที่สำรวจชุมชน (2) เตรียมการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร (3) ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน จาก 10 ตำบล 3 อำเภอ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความต้องการหลักสูตร หลักสูตรการถ่ายภาพฯ โดยใช้แบบทดสอบปฏิบัติก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรม แบบประเมินผลงาน แบบประเมินความรู้และการนำไปใช้ และแบบสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการถ่ายภาพฯ ควรมีประเด็นสำคัญดังนี้ 1) ควรเป็นเทคโนโลยีที่ อสม. คุ้นเคย 2) เพิ่มทักษะการใช้สมาร์ตโฟน 3) ทักษะการถ่ายภาพฯ 4) ควรเน้นทักษะทำจริง ทำได้ 5) เพิ่มมารยาทในการถ่ายและเผยแพร่ภาพบุคคลโดยหลักสูตรประกอบด้วย 3 กิจกรรม 1) การประเมินทักษะก่อน-หลังการอบรม 2) เนื้อหาการอบรม และ 3) การทดลองปฏิบัติ ผลการใช้หลักสูตรข้างต้น พบว่า อสม. มีระดับพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น 42.56% ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง โดยสามารถแบ่งผู้อบรมเป็น 3 กลุ่ม คือ พัฒนาการระดับสูง 5 คน พัฒนาการระดับปานกลาง 23 คน และพัฒนาการระดับต่ำ 2 คน อสม. มีความแตกต่างด้านอายุ เพศ การศึกษา และการรู้ภาษาไทย จึงควรให้ครูในชุมชนช่วยเป็นพี่เลี้ยง และโครงการนี้สามารถทำเป็นนโยบายขยายผลให้หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.(2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่.https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-09-07-11-21-93471516.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี. https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพ อสม. 4.0. https://www.songkhlacity.go.th/2020/files/com_news_research/2019-11_60993e139dc0955.pdf

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2563). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูEบFาน (อสม.) 4.0 ภาคเหนือ ปK 2561. https://phcn.hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-02-26-7-21-3590506.pdf

กันกิยา ชอว์. (2566). การสื่อสารสุขภาพชุมชน กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสุพรรณบุรี อุบลราชธานีและกาฬสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15(2), 235-253.

ดวงทิพย์ บุญพันธ์. (2564). การจัดการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของเครือข่ายสุขภาพ ของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.

ธนปนันท์ อัครวีรวัฒน์ และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2565). การสื่อสารสุขภาพ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา, 2(1), 78-89.

เพ็ญศรี โตเทศ. (2563). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 4.0 ภาคเหนือ ปี 2561. กรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคีรีวงกต. (2562). นวัตกรรม แอป อสม.ออนไลน์ ใส่ใจดูแล สุขภาพประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคีรีวงกต อ.นายูง จ.อุดรธานี. http://203.157.168.38/web/r2r/data/VIGAI0352.pdf

วราภรณ์ บุญเชียง, วิลาวัณย์ เตือนราษฏร์, และ ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2556). “การถอดบทเรียนชุดนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน” นวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน: กรณีศึกษา ต.สารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่. วารสารการพยาบาล, 40(ฉบับพิเศษ), 138-144.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2557). การคำนวณคะแนนพัฒนาการ (Gain Scores). วารสารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 1(1), 1-20.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. (2562). เกี่ยวกับสภาพพื้นที่สูง. https://www.hrdi.or.th/About/Highland

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. สหพัฒนไพศาล.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2566). ชายวัย 62 ปี ถูกต้นไม้ล้มทับขากระดูกหักทิ่มทะลุมีแผลเปิดขนาดใหญ่เสียเลือดมาก Sky doctor นำส่งด่วนจากอมก๋อยมารักษาที่ รพ.นครพิงค์. http://www.chiangmaihealth.go.th/main_section.php?info_id=8324

Ishikawa, H., & Kiuchi, T. (2010). Health literacy and health communication. BioPsychoSocial Medicine, 4(18), 1-5. https://doi.org/10.1186/1751-0759-4-18