“จะปั้นน้ำเป็นตัวอย่างไรได้” : การนำเข้าและการบริโภคน้ำแข็งในสยามระหว่างพุทธทศวรรษที่ 2400-2460

Main Article Content

ณัฐธนนท์ ศุขถุงทอง
ชนกพร ชูติกมลธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริโภคอาหารของคนไทยอันเนื่องมาจากการเข้ามาของน้ำแข็งในสยามระหว่างพุทธทศวรรษที่ 2400-2460 โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาผ่านหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง ภายใต้กรอบเวลาตั้งแต่การนำเข้าน้ำแข็งเป็นครั้งแรกในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2400 จนถึงช่วงพุทธทศวรรษที่ 2460 ก่อนการมาถึงของตู้เย็น ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแรกเข้ามาสู่เมืองไทยในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2400-2410 น้ำแข็งคือประสบการณ์ใหม่สำหรับชนชั้นนำสยาม การบริโภคน้ำแข็งเป็นเครื่องแสดงออกถึงอำนาจแห่งการบริโภค อันเกิดจากความมั่งคั่งและเอกสิทธิ์ทางชนชั้น ตลอดจนแสดงถึงความมีอารยะผ่านเรื่องอาหารการกิน ต่อมาเมื่อเกิดการตั้งโรงน้ำแข็ง และพัฒนาจนเข้าสู่ความเป็นอุตสาหกรรมระหว่างช่วงพุทธทศวรรษที่ 2420-2460 การบริโภคน้ำแข็งได้แพร่กระจายสู่สามัญชนเป็นวงกว้าง และหลอมรวมเข้ากับวิถีแห่งการบริโภคของท้องถิ่น ภายใต้ภาพลักษณ์แห่งความเป็นสมัยใหม่ และลัทธิบริโภคนิยมตะวันตก น้ำแข็งยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของรสนิยมการบริโภค ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่พยุงไว้ซึ่งการแบ่งชนชั้นในสังคมไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงคมนาคม, กรมอุตุนิยมวิทยา. (2520). ภูมิอากาศแห่งประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ป.ม.พ.

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ, สถาบันภาษาไทย. (2546). ภาษาไทยวันนี้ เล่ม 7. ผู้แต่ง.

กมลทิพย์ จ่างกมล. (2545). อาหาร: การสร้างมาตรฐานในการกินกับอัตลักษณ์ทางชนชั้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

กาญจนาคพันธุ์, (2541). คอคิดขอเขียน ชุดที่ 3. รวมสาสน์.

การทำน้ำแข็งและขายน้ำแข็งกรมทหารเรือ. (23 กันยายน - 8 ตุลาคม 119 [พ.ศ.2443]). [เอกสารกรมทหารเรือ]. (ร.5 ก. 14/40). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

กรมทหารเรือเลิกการส่งน้ำแข็งและน้ำกลั่น. (13 กุมภาพันธ์ - 12 มีนาคม 129 [พ.ศ.2453]). [เอกสารกรมทหารเรือ]. (ร.5 ก.14/117). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

กุลลดา เกษบุญชู มี้ด, (2562). ระบอบสมบูรณาณาสิทธิราชย์: วิวัฒนาการรัฐไทย. ฟ้าเดียวกัน.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2496). พระราชพิธีสิบสองเดือน. พระจันทร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:193196

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2509). ตำราทำกับข้าวฝรั่ง. ไทยเขษม.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2545). ตำราทำกับข้าวฝรั่ง (พิมพ์ครั้งที่ 3). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

แจ้งความพิเศษ. (23 มีนาคม 2459). กรุงเทพฯ เดลิเมล์, 6.

แจ้งความราชภัตตาคาร. (9 มกราคม 2459). กรุงเทพฯ เดลิเมล์, 3.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ สุธี ประศาสน์เศรษฐ (2527). ระบบเศรษฐกิจไทย พ.ศ.2394-2453. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และ สมภพ มานะรังสรรค์ (บรรณาธิการ), ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484 (หน้า 169-201). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ซามูเอล เจ สมิท. (2548) จดหมายเหตุสยามไสมย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมาคมกิจวัฒนธรรม.

แซรเวส นิโกลาส. (2550). ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช). ศรีปัญญา.

ดาวรัตน์ ชูทรัพย์. (2545). หมื่นร้อยพันผสาน บันทึกสิ่งดีวัฒนธรรมประเพณีวิถีไทย. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2494). ความทรงจำ. คลังวิทยา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2506) ความทรงจำ ที่ทรงค้างไว้ 5 ตอน พ.ศ. 2489. สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

โดม ไกรปกรณ์. (2555) การเมืองวัฒนธรรมในตำราอาหารสมัยแรกของสยาม. วารสารประวัติศาสตร์, 37, 15-33.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). อ่านจนแตก: วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย. อ่าน.

ทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2564). หนังสือแสดงกิจจานุกิจ. ศรีปัญญา.

ที่ระลึกสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ สวนลุมพินี พ.ศ. 2468. (2470). กรุงเทพฯ เดลิเมล์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:48290

เทพชู ทับทอง. (2522). กรุงเทพฯ แห่งความหลัง. อักษรบัณฑิต.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า, กรมพระยา. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่ม 1 ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. องค์การค้าของคุรุสภา.

นีล, เฟรเดอริค อาร์เธอร์. (2564). ชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงสยามในทัศนะของชาวต่างประเทศ ระหว่าง พ.ศ.2383-2384 (ค.ศ.1840-1841) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมศิลปากร.

เนื่อง นิลรัตน์, หม่อมหลวง. (2538). ชีวิตในวัง เล่ม 1-2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศรีสารา.

บรัดเลย์, แดน บีช. (2514). หนังสืออักขราภิธานศรับท์. คุรุสภา.

บริษัท ไฟฟ้าสยามคอร์เปอร์เรชั่น จำกัด. (6 มกราคม 2476). [โฆษณาตู้น้ำแข็งไฟฟ้ามีให้เช่าสองขนาด]. กรุงเทพฯ วารศัพท์, 10.

บุรุษรัตน. (2501). ตีรณสาร. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:1796

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1. (2460). โสภณพิพรรฒธนากร. https://archives.orst.go.th/pic/HcPic/c05-s03-54/2020-04-21_17-14-12_C05-S03-50.pdf

ปีเตอร์ เอ แจ็คสัน. (2556). ความคลุมเครือของอำนาจกึ่งอาณานิคมในประเทศไทย (ปรีดี หงษ์สต้น, ผู้แปล). รัฐศาสตร์สาร, 34(1), 1-40. (ต้นฉบับพิมพ์ปี 2010).

ประเก็บ คล่องตรวจโรค. (2513). 50 ปีของข้าพเจ้า สารคดีนิยายแห่งชีวิต. บริษัท อินเตอร์เนชั่นเนล บิสซีเนสดีเวลลอปเมนต์.

ประชุมจดหมายเหตุ เรื่อง สุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 และเรื่องรัชกาลที่ 4 ประชวรและสวรรคต. 2500). ตีรณสาร. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:173078

ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ. (2540). (พิมพ์ครั้งที่ 2). ต้นฉบับ.

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2502). จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช. มหามกุฏราชวิทยาลัย. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:130

ยศ วัชรเสถียร. (2513). เกล็ดจากอดีต. รวมสาสน์.

เย. ซี. บาร์เน็ต. (2453). รายงานการแสดงกสิกรรมแลพานิชการ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 18 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก 129. กระทรวงเกษตราธิการ. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:47862

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). รู้ รัก ภาษาไทย เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน.

โรม บุนนาค. (2554). 100 แรกมีในสยาม. สยามบันทึก.

ลาลูแบร์, ซีมง เดอ. (2565). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 5). ศรีปัญญา.

ลาวัณย์ โชตามระ. (2536). มรดกไทย. ราชาวดี.

วิเชียรคิรี (บุญสังข์), เจ้าพระยา, อนุสรสิทธิกรรม (บัว), หลวง, และ สนิทภิรมย์, หมื่น (2476). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 53 พงศาวการเมืองสงขลา พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช พงศาวดารเมืองพัทลุง. โสภณพิพรรฒธนากร. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:164463

วีระยุทธ ปีสาลี. (2557). กรุงเทพฯ ยามราตรี. มติชน.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2558). วาทะเจ้านาย เล่าประวัติศาสตร์. มติชน.

ศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา, หม่อม. (2562). อัตชีวประวัติหม่อมศรีพรหมา กฤดากร (พิมพ์ครั้งที่ 4). สารคดี.

สารบาญชี ส่วนที่ 2 คือราษฎรในจังหวัด ถนนแลตรอก จ.ศ. 1245 เล่มที่ 2. (2541). ต้นฉบับ. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:188056.

สุนทรี อาสะไวย์ และ นิติ กสิโกศล. (2525). วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันไทยคดีศึกษา.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2556). ความไม่พยาบาทของนายสำราญ กับอุดมการณ์ชนชั้นกลาง. ใน นัทธนัย ประสานนาม (บรรณาธิการ), พิพิธพรรณวรรณา ความทรงจำและสยาม-ไทยศึกษาในบริบทสากล (หน้า 117-136). ภาควิชาวรรณคดี และคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์.

เสริม สุนทรานันท์. (2540). รูปยาซิกาแรตไทย. ริเวอร์บุ๊คส์.

สมบัติ พลายน้อย. (2545). เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง. ดอกหญ้า 2543.

สำรวจโภคทรัพย์ของประเทศสยาม กับวิจารการค้าขายกับนา ๆ ประเทศในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6 (พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2468). (20 เมษายน 2469). [จดหมายเหตุของสภาเผยแผ่พาณิชย์]. (รฟท.2/8-9 กล่อง 3). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ห้าง บี กริม แอน โก. (2 ธันวาคม 2474). [โฆษณาตู้เย็นเคลวินเนเตอร์]. ศรีกรุง, 8.

อนุมานราชธน, พระยา. (2547). ฟื้นความหลัง เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศยาม.

อนุสรณ์ 100 ปี พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร). (2515). นายเลิศ.

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ม.ล. ปุ๋ย (นพวงศ์) ชัยนาม ท.จ. ณ วัดธาตุทอง เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 29 สิงหาคม 2541. (2541) ม.ป.พ. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:182095

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2560) “เมื่อ “ตำรากับข้าวชาววัง” ออกสู่โลกกว้าง: กำเนิดและพัฒนาการของ “ตำรากับข้าวชาววัง” ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการตั้งโรงเรียนสตรี”. วรรณวิทัศน์, 17, 353-385. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2017.14

อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). (2514). พระราชประเพณี. องค์การค้าของคุรุสภา

อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู. (2560). จาก “โซ๊ด” สู่ “สะวิง” : อัสดงคตนิยมกับการเมืองของการแปลทางวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่. รัฐศาสตร์สาร, 38(2), 73-100.

เอนก นาวิกมูล. (2531). โฆษณาไทยสมัยแรก. แสงแดด.

เอนก นาวิกมูล. (2545). เกร็ดสนุกเมืองสยาม. ไทยวัฒนาพานิช.

เอนก นาวิกมูล. (2549). หมายเหตุประเทศสยาม เล่ม 6. 959 พับลิชชิ่ง.

เอนก นาวิกมูล. (2561). งานพิมพ์คลาสสิค. แสงดาว.

Antonio, J. (1997). The 1904 traveler’s guide to Bangkok and Siam. White Lotus Press.

Bourdieu, P. (1984). Distinction: A social critique of the judgement of taste. Routledge.

Harrison, R. V., & Jackson, P. A. (2010) The Ambiguous Allure of the West: Traces of the Colonial in Thailand. Hong Kong University Press.

Hewison, K. (1988). Industry Prior to Industrialization. Journal of Contemporary Asia, 18(4), 389-411.

Kiam Hoa Heng & Co., Ltd. (1920, March 30). [Advertisement for Icy-Hot Flask]. The Siam Observer, 7.

Nederveen Pieterse, J. (2001). Hybridity, So What? The Anti-Hybridity Backlash and the Riddles of Recognition. Theory, Culture and Society, 18(2-3), 219-245.

Other Days in Bangkok. (1924, October 4). Bangkok Times Weekly Mail, 34-35.

Peleggi, M. (2002). Lords of things the fashioning of the Siamese Monarchy’s modern image. University of Hawaii Press.

Rees, J. (2013). Refrigeration nation: A history of ice, appliances, and enterprise in America. JHU Press.

S.A.B.: Societe Annonyme Belge. (1920, June 29). [Advertisement for Icy-Hot Product]. The Siam Observer, 4.

The Ice Supply. (1879, August 30). The Siam Weekly Advertiser, 2.

Wright, A., & Oliver, T. (1994). Twentieth century impressions of Siam: its history, people, commerce, industries, and resources, with which is incorporated an abridged edition of Twentieth century impressions of British Malaya. White Lotus Press.