“มักจะเอาฝาลังถึงมาใช้แทนเครื่องวัด” : การปรับปรุงการทำรายงานน้ำฝนต้นข้าวและประโยชน์ของงานอุตุนิยมวิทยาที่มีต่อรัฐสยามในระหว่างทศวรรษ 2430-2450
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการทำ “รายงานน้ำฝนต้นข้าว” โดยตั้งคำถามว่า รัฐสยามได้รับประโยชน์อะไรจากการปรับปรุงการเก็บข้อมูลรายงานน้ำฝนต้นข้าวในระหว่างทศวรรษ 2430-2450 และการทำรายงานน้ำฝนต้นข้าวสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีต่องานอุตุนิยมวิทยาและการรับมือกับสภาพอากาศอย่างไร บทความนี้ศึกษาผ่านเอกสารรายงานน้ำฝนต้นข้าวและรายงานการเกษตรอื่น ๆ ที่กระทรวงเกษตรจัดทำ รวมถึงเอกสารราชการที่เกี่ยวข้องกับรายงานเหล่านี้ จากการศึกษาพบว่า การปรับปรุงแบบรายงานน้ำฝนต้นข้าวและการระดมจัดส่งเครื่องรองน้ำฝนชุดใหม่ให้กับเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 นั้นเป็นการรื้อสร้างมาตรฐานใหม่ของการเก็บข้อมูลเพื่อให้รัฐได้รับข้อมูลปริมาณน้ำฝนน้ำท่าในแบบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นระบบมากขึ้นและยังได้รับทราบผลการเพาะปลูกและราคาสินค้าเกษตรอย่างละเอียด ข้อมูลเหล่านี้ได้นำไปสู่การคาดการณ์ผลผลิตข้าวซึ่งสัมพันธ์กับรายได้ของรัฐและผู้ค้าข้าวในแต่ละปี ยิ่งไปกว่านั้น การปรับปรุงการเก็บข้อมูลรายงานน้ำฝนต้นข้าวยังเป็นหนึ่งในความพยายามกระชับอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของรัฐสยาม เพื่อให้รัฐสามารถสอดส่องตรวจตราและตักตวงทรัพยากรจากเมืองในปกครองได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การทำรายงานน้ำฝนต้นข้าวยังแสดงให้เห็นว่ารัฐสยามในขณะนั้นยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาในฐานะที่มีประโยชน์ต่อการเกษตร การชลประทาน การค้าข้าว และการเก็บอากรค่านา มากกว่าที่จะคำนึงถึงการวางรากฐานการจัดเก็บข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาเพื่อการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการใช้ประโยชน์ในกิจการอื่น ๆ ในระยะยาว
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง ณ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเสง ยังเปนอัฐศก. (ม.ป.ป.). ใน ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาค 3. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566. จาก https://vajirayana.org/ประชุมประกาศรัชกาลที่-๔-ภาค-๓/๙๐-ประกาศตักเตือนเรื่องซื้อข้าวขายข้าวในปีมะเสง
กรมสรรพากรใน ขอเบิกเครื่องรองน้ำฝนให้สำหรับเมืองมีนบุรี. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 13 / 45). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
กรมอุทกศาสตร์. (2563). 100 ปี กรมอุทกศาสตร์. โรงพิมพ์กองบริการการเดินเรือ.
กระทรวงพระคลังขอเบิกเครื่องรองน้ำฝนสำหรับมณฑลภูเก็ต. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 13 / 46). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
กระทรวงมหาดไทยขอเบิกเครื่องรองน้ำฝนสำหรับมณฑลพายัพ. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 13 / 44). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
กระทรวงมหาดไทยขอเบิกเครื่องรองน้ำฝนสำหรับเมืองอุไทยธานี. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 13 / 41). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ขอถวายรายงานน้ำฝนต้นเข้าในหัวเมืองมณฑลกรุงเทพจำนวนเดือนมีนาคม 122. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 5]. (ร. 5 น. 7.4 ก. / 2). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ขอสำเนารายงานปรอทความเย็นร้อนของอากาศต่อกรมศุขาภิบาล. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 1 / 233). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
คนโปแลนด์มาศึกษาอากาศร้อนเย็นในสยาม. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 13 / 1638). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
คัดบอกรายงานน้ำฝนเมืองอ่างทองและเมืองสุพรรณ. (2407). [จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4]. (จ.ศ. 1226 เลขที่ 176). หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ.
จดหมายเหตุสยามไสมย เล่ม 3. (2548). (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมาคมกิจวัฒนธรรม.
จดหมายเหตุสยามไสมย เล่ม 4. (2548). (พิมพ์ครั้งที่ 2). สมาคมกิจวัฒนธรรม.
จรัส บุญบงการ. (2479). ความจำเป็นที่ประเทศสยามควรมีงานอุตุนิยมวิทยา. นาวิกศาสตร์, 19(10), 2879-2895.
ชาติชาย มุกสง. (2565). หมอกธุมเกตุและ PM 2.5: ภูมิอากาศวิทยาและสภาวะแวดล้อมในสังคมไทย. ใน ทวีศักดิ์ เผือกสม (บรรณาธิการ), ท่องไปบนดวงดาว ก้าวลงบนดวงจันทร์: ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ในสังคมไทย (น. 123-144), มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย.
ชาติชาย มุกสง. (2566). หมอกธุมเกตุและละอองธุลีพิษ: ประวัติศาสตร์ภูมิอากาศและปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในสังคมไทย. มูลนิธิเพื่อการวิจัยสังคมเอเชีย.
ซื้อและจำหน่ายข้าว. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 5]. (ร. 5 กษ. 10.1 / 1). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2549). บันทึกเรื่องการปกครอง ของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
น้ำฝน. (ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย 2401). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 1. แผ่นที่ 6.
น้ำฝนต้นข้าว. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 5]. (ร. 5 กษ. 10.1 ก. / 1). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
บอกน้ำฝนต้นข้าว. (23 สิงหาคม 2430). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 4. หน้า 161.
เบ็ดเสร็จกระทรวงเกษตร. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 5]. (ร. 5 กษ. 1 / 1). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ใบบอกกรุงเก่าเรื่องรายงานน้ำฝนและต้นข้าว. (2411). [จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4]. (จ.ศ. 1230เลขที่ 190). หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ.
ใบบอกเมืองอ่างทอง. (2373). [จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3]. (จ.ศ. 1192 เลขที่ 9). หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ประกอบกสิกรรม. (2454). กระทรวงเกษตราธิการ, กรมเพาะปลูก.
ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวง ตรา 3 ดวง เล่ม 3. (ม.ป.ป.). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเสริฐ สุนทโรทก. (2533). บัญชีน้ำฝนของสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์. ใน กรมอุตุนิยมวิทยาที่ระลึกเนื่องในวันครบรอบ 40 ปี (หน้า 38-47). กรมอุตุนิยมวิทยา.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ซิลค์เวอร์ม.
พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา. (18 พฤศจิกายน 2443). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 17. หน้า 452.
มณฑลพิศณุโลก ขอเบิกฟอร์มรายงานน้ำฝนต้นเข้า. (ม.ป.ป.). [เอกสารกระทรวงเกษตร]. (กส. 13 / 47). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
มาลินี มีลาภสม. (2552). 67 ปี กรมอุตุนิยมวิทยา. อุตุนิยมวิทยา, 9(2), 1-4.
ยอดรายงานน้ำฝน รวม 13 ปี (2449-2461). (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 6]. (ร. 6 กษ. 1 / 1). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
เย โฮมาน วาน เดอร์ ไฮเด. (2556). รายงานโครงการทดน้ำไขน้ำสำหรับเขตรที่ราบแห่งลาดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ร่างตรา 5 ถึงเจ้าเมืองกรมการ โปรดเกล้าฯ ให้ส่งขวดแก้วรองน้ำฝนมีลูกดิ่งกำหนดนิ้ว ฝนตกให้รองกลางแจ้ง น้ำขึ้นตามขีด ให้คิดรวมยอดได้เท่าไร กับต้นข้าว ส่งลงไปกรุงเทพฯ. (2396). [จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4]. (จ.ศ. 1215 เลขที่ 46). หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ร่างตราเจ้าพระยาจักรีฯ 7 ถึงผู้ว่าราชการเมืองพระพุทธบาท เรื่องให้เบิกข้าวหลวงช่วยเหลือราษฎรเมืองพระพุทธบาท ซึ่งทำนาไม่ได้ผลเพราะฝนแล้ง. (2402). [จดหมายเหตุรัชกาลที่ 4]. (จ.ศ. 1221 เลขที่ 121). หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
รายงานน้ำฝนต้นข้าว. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 6]. (ร. 6 ม. 1 / 11). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
รายงานเรื่องสัตว์กัดต้นข้าวในทุ่งหลวงคลองรังสิต. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 5]. (ร. 5 กษ. 1 / 12). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
วงษานุประพัทธ์, เจ้าพระยา (ผู้รวบรวม). (2550). ประวัติกระทรวงเกษตราธิการ. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ส่งรายการประชุมเจ้าพนักงานทำรายการน้ำฝนต้นข้าว ราคาข้าว เปลือกข้าวสาร มาทูลเกล้าถวาย. (ม.ป.ป.). [เอกสารรัชกาลที่ 5]. (ร. 5 น. 7.4 / 16). หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
สารตราเจ้าพระยา จักรีฯ ถึงพระไชยวิชิตกรุงเก่า เรื่อง ฝนแล้งราษฎรทำนาไม่ได้ ให้ลดการเก็บค่านา. (2391). [จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3]. (จ.ศ. 1210 เลขที่ 208). หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2548). ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร: วิวัฒนาการและผลกระทบของเทคโนโลยีการเกษตรจากสมัยสุโขทัยถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. มติชน.
อัจฉรา ชุมดี. (2522). งานด้านการเกษตรและการคมนาคมของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ พ.ศ. 2452-2468 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาสา คำภา และ ทิพย์พาพร อินคุ้ม. (2565). กษัตริย์กับสังคมเมืองน้ำ: จากพิธีกรรมถึงพระราชอำนาจนำ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันไทยคดีศึกษา.
Dilokvidhyarat, T. (2014). State numeracy: A history of the recording of informationin Siam 1890-1925. [Doctoral dissertation, Australian National University]. https://openresearch- repository.anu.edu.au/handle/1885/151006
Rainfall records of the kingdom of Siam. (1907). Journal of the Siam Society, pp. 47-48.
Lian, Bo. (2006). Japanese colonial sciences in China (1) -Documents, area, age, and problem setting-, Gijutsu bunka ronsou, 9, 28-37.