ภาพสะท้อนภาวะสมัยใหม่จากพระราชนิพนธ์บทละครแปลงจากภาษาฝรั่งเศส ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

คัคนางค์ คันธสายบัว

บทคัดย่อ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นิพนธ์บทละครพูด ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ละครแปลงจากภาษาฝรั่งเศส โดยอาศัยต้นฉบับจากวรรณกรรมร่วมสมัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่19-20 มาเป็นแนวทางในการแปลงเป็นบทละครภาษาไทย ซึ่งยังสะท้อนสภาวะสมัยใหม่ (modernity) แก่ผู้คนในสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 การศึกษาบทพระราชนิพนธ์ละครแปลงจากละครพูดภาษาฝรั่งเศสร่วมกับการวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์อันได้แก่ บันทึก จดหมายเหตุ และสื่อวรรณกรรมร่วมสมัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารของรัชกาลที่ 6 กับพสกนิกรในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งทฤษฎีแนวความคิดภาวะสมัยใหม่ จึงเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านการแปลงบทประพันธ์เพื่อสอดแทรกและชักนำสังคมไทยให้ก้าวทันโลกสมัยใหม่ มีความแข็งแกร่งต่ออิทธิพลคุกคามจากภายนอก ไปจนถึงสร้างความเป็นชาตินิยมสมัยใหม่ให้สังคมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากยุคจารีตเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คันธสายบัว ค. . (2023). ภาพสะท้อนภาวะสมัยใหม่จากพระราชนิพนธ์บทละครแปลงจากภาษาฝรั่งเศส ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(3), 242–263. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270666
บท
บทความวิจัย

References

โดม ไกรปกรณ์. (2557). การค้าเสื้อผ้าในสังคมกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 6 ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีณครินทรวิโรฒ, 17, 302-314.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). อ่านจนแตก วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย. อ่าน.

ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2521). วรรณกรรมรัตนโกสิทร์ 2 (รัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2561). การนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของสตรีในสังคมไทยผ่านตัวละครเอกหญิงในบทละครรัชกาลที่ 6. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(52), 46-69.

นารีรัตน์ จำปาเฟื่อง. (10 มีนาคม 2566). “โอเรียนเต็ล” โรงแรมเก่าแก่สุดในไทย ที่พักรับรองอาคันตุกะ สถานที่ทรงโปรดรัชกาลที่ 5. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell-the-historical-story/article_103551#

ประเสริฐ กาญจนะวสิต. (2528). โรงเรียนนายร้อยพระจุลเจ้าเกล้า. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1, 52-55.

ปวริส มินา. (2556). การสร้างสรรค์บทละครพูดชวนหัวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่จากบทละครสุขนาฏกรรมภาษาฝรั่งเศส [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวริส มินา. (2559). พระอัจฉริยภาพด้านการสร้างสรรค์ฉากและสถานการณ์ที่ในพระราชนิพนธ์บทละครพูดชวนหัว ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จากบทละครสุขนาฏกรรมภาษาฝรั่งเศส. วารสารห้องสมุด สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 60(1), 11-20.

ปิ่น มาลากุล, ม.ล. (2526). พระราชนิพนธ์บทละครร้อยเรื่องของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. คณะกรรมการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ปิยวดี มากพา. (2554). ละครพูดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: แนวคิดการใช้ศิลปะเพื่อการพัฒนา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 13(1), 41-45.

พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล. (2545). พระอัจริยภาพด้านการแปลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. สุทธิปริทัศน์, 16(50), 70-76.

ไพลิน วานิชจรัสกิจ, สนิท สัตโยภาส, และ นราวัลย์ พูลพิพัฒน์. (2560). การสร้างตัวบท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(2), 145-158.

มุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2516). บทละครพูดเรื่อง บ่วงมาร, เกินต้องการ, พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. โรงพิมพ์คุรุสภา.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2557). ๑๐๐ วรรณคดีสโมสร. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 39(3), 317-338.

วัลลี นวลหอม, ธงชัย กาญจนพงค์, เสาวลักษณ์ ทรัพย์วิภาดา, และน้ำฝน ทองประเสริฐ. (2563). จุดเริ่มต้นค่านิยมผัวเดียวเมียเดียวในสังคมไทย. ใน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (น. 2675-2681). https://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/957/1/จุดเริ่มต้นค่านิยมผัวเดียวเมียเดียวในสังคมไทย.pdf

ศรีอยุธยา. (2506). บทละครเรื่อง หมิ่นประมาทศาล ตบตา ฉวยอำนาจ และหนามยอกเอาหนามบ่ง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. โรงพิมพ์คุรุสภา.

ศรีอยุธยา. (2512). ละครพูดเรื่อง ท่านรอง คดีสำคัญ. โรงพิมพคุรุสภา.

ศรีอยุธยา. (2512). ละครพูดเรื่อง วั่งตี่, มิตรแท้, ล่ามดี, วิไลเลือกคู่. โรงพิมพ์คุรุสภา.

ศรีอยุธยา. (2534). บทละครพูดชวนหัว หลวงจำเนียรเดินทาง.บรรณกิจ.

Baffle, J. (2009). Sous le règne de Rama V (1868-1910), l’adaptation du Siam à la modernité occidentale. In Presses universitaires de Provence (Ed.), Vietnam le moment moderniste (pp. 26-41). https://doi.org/10.4000/books.pup.6640

Bernard, T. (1908-1917). Théâtre de Tristan Bernard. 1, L'anglais tel qu'on le parle - Le fardeau de la liberté - Franches lippées - Daisy - Le captif - Monsieur Codomat - Le seul bandit du village - Les pieds nickelés - Une aimable lingère - La petite femme de Loth - Je vais m’e. https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k3350961g/f15.item

Bernard, T. (1920). Le Poulailler. https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k941157r/f5.image.mini%22%3E%3C/iframe%3E%3C/div%3E

Bordoni, C. (2014, January 8). Why the concept of class is an invention of the modern spirit. Social Europe. https://www.socialeurope.eu/concept-of-class

Courteline, G. (1897). Un client sérieux. https://gallica.bnf.fr/ark:/12148/bpt6k61498945/f16.image.mini%22%3E%3C/iframe%3E%3C/div%3E

Émile, & Fabre, É. (1911). Les sauterelles: Pièce en 5 actes. L'Illustration.

Frieman, S. S. (2009). Definitional Excursions: The Meanings of Modern/Modernity/ Modernism. In P. L. Caughie (Ed.), Disiciplining Modernism (pp. 11-32). Palgrave Macmillan. https://doi.org/10.1057/9780230274297

Herzfeld, M. (2002). The absent presence: Discourses of crypto-colonialism. South Atlantic Quarterly, 101(4), 899-926. https://doi.org/10.1215/00382876-101-4-899

Herzfeld, M. (2017). Thailand in a larger universe: The lingering consequences of crypto-colonialism. The Journal of Asian Studies, 76(4), 887-906.

Inglehart, R. (2001). Sociological theories of modernization. In N. J. Smelser & P. B. Baltes (Eds.), International Encyclopedia of Social & Behavioral Sciences (pp. 9965-9971). Pergamon. http://doi.org/10.1016/B0-08-043076-7/01921-5

Inthano, T. (2013). L’influence occidentale sur le développement du théâtre moderne siamois : le cas du Roi Vajiravudh (1910-1925). Institut National des Langues et Civilisations Orientales-INALCO, Paris.

Labiche , E., & Édouard, M. (1905). Le voyage de Monsieur Perrichon: comédie ne quatre actes par Eugène Labiche et Édouard Martin. H.Holt and Compagny.

Labiche, E., & Martin, É. (1861). Les Vivacités du Capitaine Tic. Calmann-Lévy.

Labiche, E., & Martine, É. (1863). La Poudre aux Yeux: comédie en deux actes. Michel Lévy frères.

Loos, T. (2005). Subject Siam: Family, Law, and Colonial Modernity in Thailand. Cornell University Press.

Pin Malakul, M.L. (1975, July). Dramatic Achievement of King Rama VI. Journal of the Siam Society, 63, 260-278.

Porphant Ouyyanont. (1999). Physical and Economic Change in Bangkok, 1851-1925. Southeast Asian Studies, 36(4), 437-474.

Riggs, W.F. (1998). The modernity of ethnic identity and conflict. International Political Science Review / Revue internationale de science politique, 19(3), 269-288.

Srikam, W. (2006). Urbanization and urbanism in Thailand. Bangkok. Journal of Urban Culture Research, 4, 1-9.

Supasai Vongkulbhisal. (2022). Than Samai in modern Thai architecture: Case studies of crypto-colonialism [Doctoral dissertation, University of Washington]. Research Work Archives.

Terni, J. (2006, May). A genre for early mass culture: French vaudeville and the city, 1830-1848. Theatre Journal, 58(2), 221-248.

Vella, F. W. (1978). Chaiyo! King Vajiravudh and the development of Thai nationalism. The University Press of Hawaii.