“ขึ้นหน้ากลองร้องปันตน” : ลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด

Main Article Content

อธิชนัน สิงหตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด ใช้วิธีการศึกษาและบันทึกข้อมูลขั้นทุติยภูมิจากบันทึกวีดิทัศน์ และบันทึกข้อมูลขั้นปฐมภูมิด้วยวิธีสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) โดยศึกษาคณะลำตัดที่มีชื่อเสียงในอดีตและคณะที่ยังดำเนินการแสดงอยู่ในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2566 และศึกษาจำนวน 60 บท วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ให้เห็นลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด ผลการศึกษาพบลักษณะคำประพันธ์ของบทปันตนลำตัด 3 ลักษณะ คือ กลอนปันตนแบบมลายู กลอนปันตนแบบกลอนตลาด และกลอนปันตนแบบลักษณะอื่น บทปันตนลำตัดนั้นมีลักษณะการสร้างสรรค์ 2 ด้าน คือ 1) ด้านตัวบทปันตนลำตัด ปรากฏเพลงภาษามลายูปนไทย เพลงไทยเดิม เพลงเสภา เพลงกล่อมเด็ก เพลงไทยสากล และบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นใหม่ โดยพบการสร้างสรรค์จากเพลงไทยเดิมมากที่สุด แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ การสืบทอดบทร้องเพลงไทยเดิม การประยุกต์บทร้องเพลงไทยเดิม และการแต่งบทร้องอย่างเพลงไทยเดิม 2) ด้านเนื้อความของบทปันตนลำตัด ปรากฏเนื้อความกล่าวถึงเรื่องเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย การรำพึงรำพันความรักระหว่างชายหญิง การเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครูบาอาจารย์ การเฉลิมพระเกียรติ และการให้คติคำสอน เนื้อความกล่าวถึงการออกตัว และเนื้อความกล่าวถึงการส่งเสริมคุณค่าลำตัด พลวัตการสร้างสรรค์ส่งผลให้ลำตัดยังคงดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
สิงหตระกูล อ. (2024). “ขึ้นหน้ากลองร้องปันตน” : ลักษณะการสร้างสรรค์บทปันตนในการแสดงลำตัด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 24(1), 628–658. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/270537
บท
บทความวิชาการ

References

เด่นดวง พุ่มศิริ. (2528). ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ รองศาสตราจารย์เด่นดวง พุ่มศิริ ท.ช. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2528. กองโรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ.

นาวาวี กาโฮง. (2561). การสังเคราะห์องค์ความรู้จากปันตุนมลายูปาตานีเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank.

ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2541). บทกลอนพื้นบ้านแนวคติสอนใจของชาวไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 20(1). 36-41.

ผะอบ โปษะกฤษณะ, คุณหญิง. (2524). วรรณกรรมประกอบการเล่นลิเก. โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทย.

พระพรหมกวี (วรวิทย์). (2555). ตำรากวีนิพนธ์. สหธรรมิก.

ภุมริน: Honey bee. (12 ตุลาคม 2563). สาลิกาแก้ว : แจ้ง คล้ายสีทอง. Youtube. https://youtu.be/OJpxS6gDWbg

รัตติยา สาและ. (2550). ภาษาและวรรณกรรมมลายู. ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บรรณาธิการ), มลายูศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูมุสลิมในภาคใต้ (หน้า 85-106). อมรินทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ราชบัณฑิตยสถาน.

ลำกลอนลูกเสือชาวบ้าน (หญิง) โดย หมอลำบัวดี คนเที่ยง และหมอลำบัวเลื่อน ยาหอม. (17 มีนาคม 2566). http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/musicsound/?p=812

ลําตัด ลําตัด. (3 กุมภาพันธ์ 2566). ลำตัดพ่อบุญส่ง เหลือจันทร์. Youtube. https://youtu.be/NHuVd-kb-2w

วงศกร พิลายุทธ. (1 ธันวาคม 2562). ลำตัดรัตนาลูกบ้านคู้. Youtube. https://youtu.be/PntsFw8bT0I

วิพล นาคพันธ์. (24 ตุลาคม 2554). เพลงไทยสากลที่มีชื่อบ่งชี้ทำนองไทยเดิม ตอนที่ 42 เพลงไทยสากลที่มีชื่อบ่งชี้ทำนอง “สาลิกาแก้ว”. https://www.gotoknow.org/posts/465878

ศูนย์พุทธศาสนศึกษาญาณสังวร. (23 กรกฎาคม 2561). เพลงภาษาฮินดีของชาวอินเดียที่เคยโด่งดังในอดีต. Facebook. https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid01SRDbL9is9ALaKUXeLm5ssjrh8P8N2LEFG1zyobdFmcbFjciPEJXu8p8ptCyfKXKl&id=118318668335191

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (6 มิถุนายน 2563). รายการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 434 ประชันลำตัด “พ่อหวังเต๊ะ – แม่ขวัญจิต”. Youtube. https://youtu.be/Ju31PQwTL90

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (30 พฤศจิกายน 2563). รายการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ การแสดงลำตัด “คณะแม่สนอง ยุวศิลป์”. Youtube. https://youtu.be/OC9QXdWFNbc

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (3 กันยายน 2564). บันทึกการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 601 “ลำตัดแม่จรูญ”. Youtube. https://youtu.be/kJknh4Xpxx4

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (25 พฤศจิกายน 2564). รายการของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ ครั้งที่ 591 การแสดงลำตัด คณะครูโซ๊ะ เขี้ยวแก้ว. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=H6KJc4MOfGE&t=813s

ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. (18 เมษายน 2565). รายการแสดงของศูนย์สังคีตศิลป์ ครั้งที่ 754 การแสดงลำตัด “พ่อหวังเต๊ะ” และคณะ. Youtube. https://youtu.be/Q6kz6SUAVXw

สุวรรณี ชูเสน. (ม.ป.ป.). โน้ตตับลมพัดชายเขา สามชั้น ซอสามสาย. ม.ป.ท.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด. (2564). ลิเกฮูลู (ดิเกร์ฮูลู). https://www.mculture.go.th/trad/ewt_news.php?nid=986&filename=index

อธิชนัน สิงหตระกูล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาวรรณกรรมการแสดง เรื่อง ลำตัด: อิทธิพลและบทบาทต่อสังคมไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย.

อัมรัน มะเซ็ง, มูหํามัดสุใหมี เฮงยามา, และ อับดุลรอแม สุหลง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปันตุนที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เอนก นาวิกมูล. (2527). เพลงนอกศตวรรษ (พิมพ์ครั้งที่ 3). เมืองโบราณ.

Adisorn Jaroentoe. (21 มีนาคม 2566). ขับเสภา ขึ้นหน้ากลอง โดยแม่ ชลอ ปะอิกุล ลำตัด. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=yp4xPtfgbQo

M@story. (6 ตุลาคม 2564). ลำตัด บุญส่ง เหลือจันทร์ (2)24082563. Youtube. https://youtu.be/8hhPx5J7bb8

Wirayut Nsw. (4 มีนาคม 2557). ลำตัด นายฉะโอด [Video attached]. Facebook. https://www.facebook.com/yaimok/videos/471453982920001/?idorvanity=160933987306751

Wirayut Nsw. (26 มิถุนายน 2561). ลำตัดโบราณ/หวังเต๊ะ [Video attached]. Facebook. https://facebook.com/yaimok/videos/1778693562196030

worry arrester. (28 มิถุนายน 2554). ลำตัด : คณะพ่อหวังเต๊ะ-บันตน. Youtube. https://youtu.be/pHVvXXnvIQY

yaimok. (25 เมษายน 2562). ลำตัด รุ่งลิขิต | ขึ้นหน้ากลอง เสภาลาว – เอรูวัย. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=x6WDMHeEDbI&t=219s

yaimok. (10 กุมภาพันธ์ 2566). ลำตัด ขึ้นหน้ากลอง แขกลพบุรี - แป๊ะ | แม่แววตา น้อยฉวี. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=N3w24zU7ppE